บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
775
2 นาที
11 มีนาคม 2567
2024 ปีอาถรรพ์ คนดัง แห่เลิกทำช่อง YouTube

 
อาชีพในฝันของใครหลายคนคือการเป็น “YouTuber” เพราะเห็นว่า “รายได้ดี” “เป็นงานอิสระ” วิธีหาเงินจาก YouTube มีอยู่ 6 วิธี ได้แก่ รายได้จากโฆษณา, การเป็นสมาชิกของช่อง, Super Chat และ Super Stickers, Super Thanks, รายได้จาก YouTube Premium และ Shopping
 
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น รายได้จากโฆษณาจะเป็นวิธีการหาเงินที่สะดวกที่สุดบน YouTube โฆษณาพวกนี้จะมาในรูปแบบวิดีโอที่ขึ้นมาในช่วงก่อนวิดีโอ กลางวิดีโอ หรือหลังวิดีโอ รวมไปถึงโฆษณาที่ขึ้นใน Shorts ด้วย รายได้ในการแสดงผลโฆษณาในหน้าวิดีโอปกติจะถูกแบ่งให้เรา 55% ที่เหลือ 45% จะเป็นของ YouTube ส่วนรายได้โฆษณาในหน้าวิดีโอ Shorts จะถูกแบ่งให้เรา 45% ที่เหลือ 55% จะเป็นของ YouTube เป็นต้น
 

ภาพจาก https://elements.envato.com/
 
แต่การสร้างรายได้เหล่านี้ก็มีเงื่อนไขเช่นกัน เช่น รายได้จากโฆษณา / รายได้จาก YouTube Premium ต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 1,000 คน และต้องบรรลุเป้าหมายอีกหนึ่งอย่าง ระหว่าง 
  1. มียอดชมวิดีโอสูงถึง 4,000 ชั่วโมง ใน 365 วัน 
  2. ยอดดู Shorts 10 ล้านครั้ง ในช่วง 90 วัน เป็นต้น
เหตุผลที่คนอยากเป็น YouTuber สำคัญสุดก็คือ “รายได้” ซึ่งหากวิเคราะห์ลึกลงไปจะพบว่า
  • YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คนสามารถสร้างรายได้ระหว่าง 600-1,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ โดยมีรายได้ระหว่าง 2,400-4,000 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 85,000 – 142,000 บาท)
  • YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 1 ล้านคน สามารถสร้างรายได้ระหว่าง 14,600-54,600 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือราว 518,000 - 1.9 ล้านบาท
ซึ่งถ้าดูตัวเลขแบบเพียวๆ แค่นี้คือ “ว้าวมาก” แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการเป็น YouTuber ก็จำเป็นต้องแลกด้วย

การใช้แรงกายและแรงใจมากเป็นพิเศษถึงกับมีกระแสแรงในช่วงนี้ที่มี YouTuber หลายคนประกาศ “เลิกทำช่อง” มีใครบ้างลองไปดู

ภาพจาก YT @TomScottGo/videos
  1. DSLR Video Shooter ยอดคนติดตาม 727,000 คน
  2. Tom Scott ยอดคนติดตาม 6,420,000
  3. Cinecom.net ยอดคนติดตาม 2,670,000
  4. The Game Theorists ยอดคนติดตาม 19,000,000
  5. Vanessa Lau ยอดคนติดตาม 710,000
  6. Matti Haapoja ยอดคนติดตาม 1,260,000
  7. MOJIKO ยอดติดตาม 3,410,000
ภาพจาก YT @mojiko.official

อะไรคือเหตุผล? ที่ทำให้ YouTuber เหล่านี้ “ไม่อยากไปต่อ” ซึ่งก็มีการวิเคราะห์เหตุผลไว้หลายแง่มุมได้แก่
 
1.หมดไฟ (Burnout)
 

ภาพจาก https://elements.envato.com/

“รักมันในชั่วเวลาหนึ่งและเปลี่ยนผ่านไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง” คือคำอธิบายที่บอกว่า YouTuber ที่เลิกทำช่องเพราะรู้สึก“หมดไฟ” (Burnout) มันก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าในตอนแรกที่เข้ามาทำคือมาด้วยใจ พร้อมใส่ไอเดียเต็มที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุตัวเองที่มากขึ้น สภาพสังคม วิถีชีวิต และเทรนด์อะไรใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้ YouTuber เหล่านี้รู้สึกว่าเหนื่อยแล้ว พอแล้ว ไม่อยากสู้ต่อแล้ว 
 
2.สภาวะเศรษฐกิจ
 

ภาพจาก https://elements.envato.com/

จากช่องเล็กๆที่เคยทำด้วยตัวคนเดียว ต่อมาเมื่อมันเริ่มใหญ่ ก็ต้องมีการขยายกิจการ รับงานเพิ่มขึ้น ต้องมีลูกน้อง มีทีมงาน จากที่เคยเป็นแค่ครีเอเตอร์ก็ต้องกลายมาเป็นผู้บริหาร นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ต้องมากขึ้น ถ้ายังไม่ชัดเจนลองดูเหตุผลของช่อง MOJIKO ที่ให้เหตุผลในการเลิกทำช่อง YouTube ว่า “ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้าบริษัท เราอยากให้ทีมงานได้พัฒนาศักยภาพ และมีรายได้มากขึ้น แต่เมื่อรายได้ของการเป็นอินฟลูฯ มันเท่าเดิมและลดลง ถ้าเรายังฝืนทำต่อ เราจะหาเงินที่ไหนมาขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน เรารักทีมมาก ไม่อยากให้ทีมนี้มาล้มเหลวเพราะเรา”
 
3.อยากมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น
 

ต้องยอมรับว่าการเป็นครีเอเตอร์ต้องคิดไอเดียในการนำเสนอให้ตอบสนองคนดูได้มากที่สุด และต้องรักษามาตรฐานให้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งมันเหนื่อยมาก บางคนทำช่องมาหลายสิบปี ทุกวันคือทำแต่งาน แม้หน้ากล้องจะดูสนุกสนานแต่เบื้องหลังกว่าจะมาเป็นคลิปลงช่องได้ต้องใช้พลังเยอะมาก จนถึงจุดหนึ่งคือไม่อยากไปต่อ อยากมีเวลาให้ตัวเอง ไม่อยากตื่นมาแล้วต้องคิดถึงแต่เรื่องงาน อยากใช้ชีวิตอิสระได้อย่างแท้จริง
 
มุมมองตรงนี้เราพูดถึงในส่วนของ YouTuber ที่ประสบความสำเร็จแล้ว “เลิกทำช่อง” ซึ่งก็มีอีกเยอะมากที่ตั้งใจเข้ามาเป็น YouTuber ได้ไม่นานก็ต้องเลิกราไปอาจจะด้วยอัลกอรึทึมที่ยากขึ้น การสร้างรายได้จึงไม่ง่าย บางคนก็ท้อแท้และเลิกไป

แต่ในอีกมุมหนึ่ง YouTube ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่า ในปี 2024 จำนวนผู้ใช้บน YouTube คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.5% เป็น 933.4 ล้านคน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีก 6.8% เป็น 996.4 ล้านคนในปี 2025 ในปี 2026 จำนวนผู้ใช้ YouTube จะแตะตัวเลข 1.05 พันล้านคน และการเติบโตจะดำเนินต่อไปในปี 2027-2028 โดยเพิ่มขึ้น 4.4% และ 3.5% เป็น 1.09 พันล้านคน และ 1.13 พันล้านคน ตามลำดับ
 
และแน่นอนว่า YouTuber ที่แท้จริงต้องทำใจยอมรับด้วยว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ช่องเติบโต เราอาจต้องสูญเสียความเป็นตัวเองไปบ้าง เพื่อทำตามKeyword ของเหล่าสปอนเซอร์ที่จะเริ่มเข้ามา นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการบริหารคน บริหารทีมงาน ซึ่งถ้าหากยอมรับในสิ่งเหล่านี้ได้การเป็น YouTuber ก็พร้อมเดินหน้าต่อได้เช่นกัน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด