บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
616
2 นาที
1 เมษายน 2567
ธุรกิจกำไรน้อย เน้นขายเยอะ ทำ 100 รวย10
 

ธุรกิจต้องการ “กำไร” แต่คำถามคือจะใช้วิธีไหนเพื่อไปสู่เป้าหมายได้เร็วที่สุด หนึ่งในการตลาดแบบคนจีนที่น่าสนใจ กล่าวว่า
 
“กำไรมาก ขายน้อย คือ กำไรน้อย
กำไรน้อย ขายมาก คือ กำไรมาก”
 
เราจึงได้เห็นว่าสินค้าจากจีนไม่ได้เน้นขายแพง แต่เน้นเชิงปริมาณ สมัยก่อนก็เช่นกันที่ชาวจีนเข้ามาในเมืองไทย ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการค้าขาย ได้กำไรนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร อาศัยเก็บเล็กผสมน้อย + ความขยันและเอาเงินทุนที่ได้ ไปต่อยอดขยายธุรกิจ จนทุกวันนี้ในเมืองไทยมีบรรดาเศรษฐีที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนอยู่เยอะมาก
 
หรือถ้ายังเห็นภาพไม่ชัด ลองดูในสมัยนี้ที่ “สินค้าจากจีน” เป็นที่นิยมและขายดีมาก เพราะอะไร?
 
เพราะ “ขายถูก” นี่แหละสำคัญสุด
 
Hisense แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนที่ตอนนี้ครองส่วนแบ่งตลาดทีวีขึ้นมาเป็นแบรนด์อันดับ 2 ของโลก
 
ภาพจาก www.hisense.co.th
  • รายได้ 373,628 ล้านบาท  
  • กำไร 7,229 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 1.9%
Xiaomi โทรศัพท์สามาร์โฟนจากจีน ตอนนี้ขายดีเป็นอันดับ 3 ของโลก 

ภาพจาก FB : Xiaomi Thailand
  • รายได้ 1,411,757 ล้านบาท
  • กำไร 12,471 ล้านบาท
  • กำไรสุทธิ 0.9%
BYD รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ตอนนี้มียอดส่งมอบแซงหน้า Tesla ไปแล้ว
 

ภาพจาก www.byd.com/en-th
  •  รายได้ 2,132,907 ล้านบาท
  •  กำไร 83,606 ล้านบาท
  •  กำไรสุทธิ 3.9%
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากแบรนด์เหล่านี้คือแม้ตัวเลขรายได้จะดูเยอะมาก แต่ถ้ามองที่กำไรสุทธินั่นน้อยมากเช่นกัน แต่ก็เป็นกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เน้น “ปริมาณ” กำไรน้อยก็ไม่เป็นไร โดยหวังผลในเรื่องการครองส่วนแบ่งการตลาด ซี่งก็ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลมาก ยิ่งในยุคนี้ที่การจับจ่ายใดๆ คนส่วนใหญ่เน้นไปที่สินค้าราคาถูกเป็นหลัก ก็ยิ่งไปสอดคล้องกับกลยุทธ์ดังกล่าว
 
หรือถ้ามองให้ใกล้ตัวเข้ามาอีกหน่อย ไปดูกลยุทธ์ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7 – Eleven ที่ใช้หลักการคล้ายๆ กัน คือเน้นขายเยอะในราคาไม่แพง แต่มีสินค้าหลากหลาย และเน้นกระจายสาขาให้เข้าถึงคนทั่วทั้งประเทศ นับถึงตอนนี้มีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 14,000 แห่ง

 
การตลาดล่าสุดนำมาใช้คือ ร้าน 7-Eleven ไซซ์ใหญ่ เพื่อเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น เป็นโมเดลที่มองว่ามีโอกาสสร้างรายได้ต่อสาขาเพิ่มขึ้นเพราะลูกค้ามีโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้น การใช้จ่ายต่อบิลต่อครั้งก็จะสูงขึ้น ถ้าดูจากตัวเลขในช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า
  • ยอดซื้อต่อบิลต่อคนประมาณ 82 บาท 
  • มีจำนวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 959 คน
  • ยอดขายจากสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม 75%
  • ยอดขายสินค้าอุปโภคและบริโภค 25%
ซึ่งหลายคนอาจแย้งว่าวิธีนี้มันใช้ได้ผลจริงก็ต่อเมื่อเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ อำนาจต่อรองเยอะ ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กจะใช้กลยุทธ์ “ราคา” สู้ได้อย่างไร
 
เรื่องนี้ก็เป็นความจริงเช่นกัน ก็ต้องมาดูกันอีกว่า หากเราเป็นรายย่อยจะมีวิธีสูตรตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้อยู่รอดได้
 
ส่วนใหญ่ก็ใช้สูตรพื้นฐานคือ    
 
ราคาขายสินค้า = ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ
 
เช่น ข้าวผัดกระเพรา ต้นทุน 1 จานประมาณ 20 บาท อยากได้กำไร 10 บาท ก็ตั้งราคาขายที่ 30 บาท เป็นต้น

 
แต่ถ้าคิดให้ละเอียดมากขึ้น ว่าต้องการกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ก็มีอีกสูตรที่ใช้ได้คือ
 
ราคาขาย = ต้นทุนทั้งหมดต่อชิ้น + (%กำไรที่ต้องการ x ต้นทุน)
 
เช่น ชานมไข่มุกต้นทุนต่อแก้ว 20 บาท ต้องการกำไร 15% จากราคาขาย
 
ราคาขาย = 20 + (15% x 20) = 23 บาท 
 
แสดงว่าชานมไข่มุกแก้วนี้ต้องขายที่ราคาประมาณ 25 บาท จึงจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 15% เป็นต้น
 
สิ่งที่เราเรียนรู้จากการตลาด “กำไรน้อย ขายมาก คือ กำไรมาก” สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจที่ทำอยู่ได้ แต่เราต้องรู้ต้นทุนสินค้าของเรารวมถึงต้นทุนโดยรวมทั้งหมดที่มีเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ค่าเช่าพื้นที่ ตัวเลขเหล่านี้ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อตั้งราคาขาย โดยไม่เน้นขายกำไรมาก แต่เน้นขายให้ได้เยอะๆ เพื่อให้คนรู้จัก คนพูดถึง
 
ซึ่งอาจจะดีกว่าการขายแบบหวังกำไรเยอะ แต่ขายได้น้อย สุดท้ายก็จะตอบคำถามได้ว่า “กำไรน้อย แต่ขายเยอะ” ทำแบบนี้รวยได้จริง แต่วิธีนี้ไม่ใช่รวยทันที ต้องใช้เวลาและความขยัน และต้องรู้จักการต่อยอดพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงต้องมีวิสัยทัศน์ในด้านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามร้านสะดวกซื้อ 6 แบรนด์ ในมือ 5 เจ้าสัวไทย
821
สุกี้ไทยเปลี่ยนมือ MK รายได้วูบ สุกี้ตี๋น้อย แซง..
597
CJ ปั้น “เถียน เถียน” ไอศกรีมและชาผลไม้สัญชาติไท..
412
ค้าปลีก 2568! เปิดเกมรุกด้วย “Localized Marketing”
377
เปิดสูตร “เงินทุนหมุนเวียน” คำนวณให้ดี ร้านจะได้..
338
ตัวเล็กแต่ทรงพลัง! โลตัส โกเฟรซ! มินิบิ๊กซี! ร้า..
333
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด