บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
390
2 นาที
20 พฤษภาคม 2567
สูตรบริหารเงิน เข้าถึงง่าย เงินสดย่อย (Petty Cash) ที่ร้านใหญ่ไม่เคยบอก!
 

การทำธุรกิจไม่ให้ขาดทุนต้องบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีตัวอย่างให้เห็นแล้วกับร้านที่ขายดีแต่สุดท้ายก็เจ๊ง ไม่เป็นท่า หลักการเบื้องต้นสำคัญด้านการเงินทางธุรกิจที่ควรรู้คือ
  • แยกบัญชีเงินส่วนตัวและเงินในการทำธุรกิจ
  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  • ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสด
ซึ่งตามทฤษฏีส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึงแต่ภาพรวมในมุมกว้าง แต่ในความเป็นจริงเรื่องของ เงินสดย่อย (Petty Cash) ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจควรรู้เช่นกัน
 
 
เงินสดย่อย หรือ Petty cash คือเงินสดจำนวนหนึ่งที่กิจการเป็นผู้กำหนดขึ้นไว้จ่ายค่าใช้จ่ายภายในกิจการ โดยเป็นเงินที่มีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเบิกจ่ายเป็นเช็ค หรือไม่สะดวกในการเขียนเช็คสั่งจ่ายเมื่อต้องการใช้งาน ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วกิจการก็มีความจำเป็นที่จะต้องรีบจ่ายเงินทันที และเงินสดย่อยนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานการเงิน หรือพนักงานบริษัทคนใดคนหนึ่งก็ได้ เรียกว่า “ผู้รักษาเงินสดย่อย” ส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รักษาเงินสดย่อยก็คือ
  • เก็บรักษาเงินสดย่อยไว้ให้ปลอดภัย
  • นำจ่ายเงิน พร้อมเก็บหลักฐานในการเบิก
  • บันทึกการจ่ายเงินในสมุดเงินสดย่อย
  • จัดทำใบสำคัญเพื่อขอเบิกชดเชยเงินสดย่อย
ถ้ายังมองไม่เห็นภาพว่า “เงินสดย่อย” (Petty Cash) เป็นอย่างไร ลองยกตัวอย่างธุรกิจร้านกาแฟเล็กๆแห่งหนึ่งที่ตั้งวงเงินสดย่อยไว้ เดือนละ 2,000 บาท ซึ่งมีการใช้จ่ายดังนี้
  • ค่าน้ำมันรถส่งของ 300 บาท
  • ค่าของใช้จิปาถะในร้าน 200 บาท
  • รวมการเบิกเงินสดย่อย 500 บาท
ผู้รักษาเงินสดย่อยจะต้องนำเอกสาร การจ่ายเงิน 500 บาท ไปขอเบิกชดเชยจากฝ่ายการเงิน หรือ เจ้าของกิจการ เพื่อนำกลับมาเติมวงเงินให้เท่าเดิมในต้นเดือนถัดไป และหมุนเวียนแบบนี้ทุกๆ เดือน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม หรือ ลดวงเงิน 
 
ประโยชน์ของเงินสดย่อย

  1. เมื่อมีระบบของเงินสดย่อยเข้ามาใช้ในกิจการ ช่วยให้การบริหารงานด้านการเงินเป็นระเบียบมากและปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากการใช้ระบบเงินสดย่อยจำเป็นจะต้องมีการบันทึก หรือจัดเก็บหลักฐานในการเบิก ป้องกันการทุจริตได้ด้วย
  2. ประหยัดเวลาในการทำงาน เพิ่มความสะดวกในการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะรวบรวมบันทึกครั้งเดียวเมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยเบิกชดเชย
  3. สร้างความปลอดภัยในการจัดเก็บเงินสดไว้ใช้ภายในกิจการ เนื่องจากกิจการสามารถหลีกเลี่ยงการเก็บเงินสดจำนวนมากไว้กับตัวที่อาจสูญหายหรือถูกโจรกรรมได้ง่ายๆ
ซึ่งเงินสดย่อยก็ยังแยกออกเป็นอีก 2 ประเภทได้แก่
  1. เงินสดย่อยแบบจำกัดวงเงิน หรือ Impress System ซึ่งวงเงินเงินสดย่อยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดวงเงินเงินสดย่อยเท่านั้น
  2. เงินสดย่อยแบบไม่จำกัดวงเงิน หรือ Fluctuating System คือเงินสดย่อย ที่ไม่ได้กำหนดวงเงินเงินสดย่อยไว้เป็นจำนวนแน่นอน เนื่องจากผู้รักษาเงินสดย่อยสามารถทำการขอเบิกเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับ มากกว่า หรือน้อยกว่า จำนวนของเงินสดย่อยที่จ่ายไปได้ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดีเรื่องของ “เงินสดย่อย” (Petty Cash) ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิธีบริหารการเงิน การมีเงินสดย่อยก็เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัว สามารถนำเงินมาใช้จ่ายในค่าจิปาถะที่นอกเหนือ ซึ่งจะไม่กระทบกระเทือนในระบบบัญชี เพราะแยกประเภทออกมาให้เห็นชัดเจน ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมเงินภายในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 
แต่ไม่ว่าจะใช้ระบบการเงินที่ดีขนาดไหนก็ต้องระวังเรื่องเล่ย์เหลี่ยมกลโกงหรือการทุจริตที่คนเรามักฉลาดแกมโกงได้เสมอ นอกเหนือจากการใช้คนก็ควรมีเทคโนโลยีด้านการเงินเข้ามาสนับสนุนเพื่อลดความเสี่ยงและยังเป็นการอัพเกรดให้ธุรกิจพร้อมเติบโตต่อไปในอนาคตได้
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
715
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
628
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
497
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
412
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด