บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
266
2 นาที
16 สิงหาคม 2567
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
 

สมัยก่อนแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Sony, Hitachi, Sharp, Mitsubishi Electric, Panasonic ครองตลาดและได้รับความอย่างมากในบ้านเรา แทบจะทุกบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ 
 
แต่มาระยะหลังเริ่มเห็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากจีนอย่าง Haier, TCL, Hisense, Lenovo, Xiaomi มาตีตลาดในเมืองไทย และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะราคาถูก บางคนซื้อไปใช้แล้วทนทาน ก็เหมือนถูกหวย 
 
ส่วนแบรนด์ญี่ปุ่นค่อยๆ นิยมน้อยลง ไม่ใช่เฉพาะแบรนด์เครื่องไฟฟ้าอย่างเดียวที่จีนทำได้ดี ยังลามไปถึงแบรนด์รถยนต์ที่ตอนนี้จีนส่งออกแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง BYD, CHANGAN, GWM, MG ทำให้ Toyota, Honda กำลังตกที่นั่งลำบาก เห็นได้จากตลาดรถยนต์ในเมืองไทย แบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นยังเตรียมย้ายฐานการผลิตแล้ว 

 
ภาพจาก www.facebook.com/GWMThai 
 
อยากรู้หรือไม่ว่า ทำไม? แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์จากจีน ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ มาแรงจนอาจถึงขั้นแซงหน้าแบรนด์ญี่ปุ่นไปแล้วก็ได้ แล้วแต่ใครจะชอบแบบไหน มาดูปัจจัยทำให้แบรนด์จีนมาแรงกันครับ
 
สมัยก่อนเมื่อหลาย 10 ปี แบรนด์ญี่ปุ่นถือเป็นผู้นำเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เรียกได้ว่าแต่ละขั้นตอนการผลิตมีความพิถีพิถันกันเลยทีเดียว ทำให้ต้นทุนสูง ราคาขายก็สูงตามไปด้วย ทำให้ผู้บริโภคมองว่าราคาแพงเกินไป พอแบรนด์จีนรู้คนชอบของดี แต่ราคาถูก เลยเข้ามาผลิตสินค้าคุณภาพเป็นรองนิดหน่อย แต่ราคาถูกกว่าแบรนด์ญี่ปุ่น ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าคุณภาพปานกลาง ราคาไม่แพงที่เป็นแบรนด์จีนแทน 
 
อีกปัจจัยที่ทำให้แบรนด์จีนมาแรงเร็วมาก คือ การลอกเลียนแบบเทคโนโลยีจากคนอื่น อย่างกรณีแบรนด์โทรทัศน์จีน Hisense เป็นผู้รับจ้างผลิตโทรทัศน์ให้กับแบรนด์อื่นมาก่อน จากนั้นเรียนรู้การผลิต จนผลิตโทรทัศน์ของตัวเองขายเอง หลายๆ แบรนด์ของจีนก็ใช้วิธีเดียวกัน ลอกเลียนแบบ แล้วทำขายเอง 

ภาพจาก https://www.facebook.com/HisenseThai/
 
เมื่อได้เงินทุนมาก็เอาไปลงทุนใน R&D และพัฒนาสินค้าต่อไป เพื่อให้สินค้าของตัวเองมีคุณภาพมากขึ้น จับกลุ่มผู้บริโภคได้กว้างขึ้น คนที่ซื้อไปใช้เกิดความพอใจ ราคาก็ถูก ทนอีกต่างหาก ทำให้คนหันมานิยมใช้แบรนด์จีนมากขึ้นเรื่อยๆ 
 
อีกแบรนด์จีน คือ Haier สินค้าหลักๆ ตู้เย็น, เครื่องใช้ในครัว, เครื่องซักผ้า และอื่น ๆ สินค้ากลุ่มนี้สร้างรายได้ให้กับพวกเขาจนติดอันดับ 100 แบรนด์ดังโลกเมื่อปี 2019 อย่างในไทย Haier ขยายการเติบโตทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ เตรียมลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งแรกในไทย รองรับความต้องการของตลาดเครื่องปรับอากาศที่ยังเติบโตต่อเนื่อง บนพื้นที่กว่า 324,000 ตร.ม. ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 ชลบุรี 

ภาพจาก www.facebook.com/HaierThailand
 
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของจีน ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ การโหมทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างมโหฬาร มีหลายๆ แบรนด์เป็นสปอนเซอร์ให้กับการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆ ทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น TCL หรือ Haier ทำให้ทั้ง 2 แบรนด์ได้รับความนิยม โด่งดังรวดเร็ว 

ภาพจาก https://www.facebook.com/TCLThailand/
 
นอกจากแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จีนที่ไล่บี้แบรนด์ญี่ปุ่น ยังมีแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง BYD ในปี 2566 ขายรถยนต์ไฟฟ้าได้ทั่วโลกกว่า 3 ล้านคัน แซง Tesla ที่เป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามาก่อน ส่วน Toyota ผู้นำรถยนต์ญี่ปุ่น ขายทั่วโลกกว่า 10 ล้านคัน ห่างจาก BYD แค่ 3 เท่า แต่ Toyota เกิดมาก่อนเกือบ 100 ปี 
 
ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์รถยนต์จีนมาแรง แซงทางโค้ง ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลจีน ผลักดันอุตสาหกรรม EV ของตัวเอง เพื่อเป็นที่ 1 ของโลก เช่น การอุดหนุนราคารถไฟฟ้าในประเทศ การสร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วประเทศ การสนับสนุนเงินให้บริษัทที่ทำธุรกิจแบตเตอรี่ และการเข้าครอบครองแหล่งแร่ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ 

ภาพจาก https://www.facebook.com/BYDReverThailandOfficial/
 
ทำให้รถยนต์จีนได้เปรียบด้านต้นทุนและราคา ประกอบกับเปิดให้โรงงานผลิตรถยนต์ต่างชาติตั้งฐานผลิตในจีน หลังจากนั้นก็ลอกเลียนแบบการผลิตจนมีคุณภาพและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ขายราคาถูก แต่คุณภาพก็ไม่ได้ต่างจากแบรนด์ประเทศอื่นๆ เท่าไหร่นัก แถมแบรนด์ดังจากประเทศอื่นๆ มีการผลิตที่ประเทศจีนอีกต่างหาก 
 
ยังมีข้อมูลรายงานว่า บริษัทรถยนต์ของจีนได้ขยายการส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งเวียดนาม ไทย ลาว เขมร และพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่แบรนด์ญี่ปุ่นครองส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ แต่การเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายใน ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าของญี่ปุ่นนั้นล่าช้าเกินไป ทำให้ในภูมิภาคนี้รถยนต์ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งการตลาดที่ลดลง
 
ต้องดูกันต่อไปว่า แบรนด์จีนกับแบรนด์ญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะเชื่อว่า “อดีต” กับ “อนาคต” คงไม่เหมือนเดิม อีกทั้งยังมีข่าวว่าญี่ปุ่นขายโรงงานให้จีนเยอะมากแล้ว 

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
แค่ใส่ใจ ใช้ให้เป็น Data-Driven Marketing อาวุธล..
2,362
ผู้กำกับ งานหด...สู่ครีเอเตอร์ TikTok ปั้นคอนเทน..
2,201
เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น! ทุบธุรกิจไทย เจ๊งแล้ว เจ๊..
1,288
จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven
1,025
ร้านอาหารไทย หมดแรง กำลังซื้อหด ต้นทุนสูง ปิดตัว..
1,004
พลิกโฉม! 5 เทคนิค ทำธุรกิจแนวญี่ปุ่น ไม่เคยบอกใคร
927
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด