บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
276
2 นาที
3 กันยายน 2567
ทุนจีนกินรวบ! ตัดราคา – ขายทุกอย่าง ธุรกิจไทยจะสู้ยังไง?
 

สถานการณ์ “ทุนจีน” ที่บุกตลาดเมืองไทยตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาถึงตอนนี้ดูจะร้อนแรงและนักธุรกิจเมืองไทยก็ดูจะกังวลกันอยู่ไม่น้อย

การเข้ามาของสินค้าจากจีน มีตั้งแต่สินค้าชิ้นใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ จนถึงสินค้าชิ้นเล็กอย่างเสื้อผ้า เครื่องประดับ ไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม
 
เอาแค่เรื่องใกล้ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มตอนนี้ก็มีหลายแบรนด์จีนเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยไล่ตั้งแต่ MIXUE , WeDrink , Zhengxin Chicken , Cotti Cofee รวมไปถึง TEMU ที่เป็นแพลตฟอร์มสินค้าออนไลน์ด้วย
 
 
ก่อนหน้านี้ที่ฮือฮาก็เห็นจะเป็น “กางเกงช้าง” ที่ทำมาแข่งกับของไทย แถมราคาถูกกว่า หรือแม้แต่ชามตราไก่ ที่ขายราคาต่ำกว่าทุน 3-5 เท่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการและโรงงานเซรามิกในลำปาง ได้รับกระทบอย่างหนัก
 
ปรากฏการณ์ “ทุนจีนบุกไทย” เป็นคำถามตัวโตๆ ว่า “ธุรกิจไทย” จะเอาอะไปสู้? เมื่อทุนจีนเหล่านี้ถาโถมรุกหนัก ทั้งตัดราคาขาย ต้นทุนสินค้าต่ำกว่า ชนิดที่คนไทยทำแบบนั้นไม่ได้ แถมยังขายกันแทบทุกอย่าง เบียดเข้ามาแย่ง Marketshare อย่างชัดเจน 
 
เรื่องนี้จำเป็นที่เราต้องตั้งสติและวิเคราะห์กันให้ดีๆ ซึ่งในโอกาสนี้เราได้พูดคุยกับ 2 กูรูผู้มีประสบการณ์ในแวดวงแฟรนไชส์คือ อาจารย์ อมร อำไพรุ่งเรือง และ อาจารย์ สุภัค หมื่นนิกร ที่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “เราสู้ได้” 
 
อาจารย์อมรให้ความเห็นว่า อันที่จริงทุนจีนก็เริ่มเข้ามาในเมืองไทยนานแล้ว สอดคล้องกับข้อมูลที่ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์หามาเพิ่มก็พบว่าย่านเยาวราชไปจนถึงปากคลองตลาด พบว่าส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารของนายทุนจีน เปิดแข่งกับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเมื่อร้านอาหารจีน มีเจ้าของเป็นคนจีนเกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้ค่าเช่าร้านในแต่ละย่านทั้งเยาวราช สำเพ็งแพงขึ้น 2-3 เท่าตัว จากเดิม 50,000-100,000 บาท/เดือน เป็น 200,000 บาท/เดือน ทำให้ผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้
 
 
แต่ที่เป็นปัญหามากในตอนนี้คือการที่ทุนจีนเหล่านี้เริ่มลุยเข้ามาในธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร มากขึ้นแถมทำราคาได้ต่ำกว่า ถามว่าทำไมทุนจีนเข้ามาในไทยแล้วถึงมีดราม่ากันเยอะนัก ทั้งๆที่เมื่อก่อนแฟรนไชส์จากยุโรปหรืออเมริกาก็เคยมาทำตลาดในเมืองไทย แต่แฟรนไชส์เหล่านั้นเข้ามาแบบค่อยๆ สร้างพื้นฐานเติบโตไปพร้อมกับประเทศที่ในอดีตเรามี GDP ไม่สูง และสร้างมาตรฐานไปพร้อมๆ กับการขยายธุรกิจ ต่างจากแฟรนไชส์จากจีนที่เข้ามาในช่วง GDP เราเติบโตคนเริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้นกลายเป็นว่าเหมือนธุรกิจเหล่านี้เข้ามาตวงผลประโยชน์จากเมืองไทยเต็มที่
 
อีกเหตุผลที่น่าสนใจโดยอาจารย์อมร มองว่าในประเทศจีนเองก็แข่งขันรุนแรงอยู่แล้ว พอออกมาเมืองไทยก็ดูเป็นเรื่องง่ายที่จะทำตลาดในเมืองไทย เพราะModel ธุรกิจในจีนมีหลากหลายมาก อย่างตอนที่คนจีนไปซื้อธุรกิจโรงหนังในอเมริกาก็ไปปรับกลยุทธ์การบริหารให้เหมาะกับคนในพื้นที่ผลก็คือเขาก็ประสบความสำเร็จมากๆ นั้นก็เพราะคนจีนมีหัวการค้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย
 
 
สอดคล้องกับความคิดเห็นของอาจารย์สุภัค ที่บอกว่า หากสังเกตให้ดีทุนจีนส่วนใหญ่ที่เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยจะเป็น International Product อย่างชานม ไก่ทอด ไอศกรีม เบอร์เกอร์ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยที่ไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิม
 
มาเจอกับแฟรนไชส์จีนที่เก่งในเรื่องการตลาด มีข้อได้เปรียบในเรื่องการทำต้นทุนให้ถูก ก็ทำให้ผู้บริโภคหันไปนิยมแบรนด์จีนมากยิ่งขึ้น
 
สินค้า Soft Power สู้ทุนจีนได้แน่!
 
 

ทั้งอาจารย์อมรและอาจารย์สุภัค ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าหากจะสู้กับแฟรนไชส์จีนที่รุกหนัก ต้องเน้นไปที่สินค้าพวก Local Product ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของคนไทย และต่อให้ใครมาทำก็ไม่เหมือน ยกตัวอย่างเช่น ผัดกระเพรา , ข้าวเหนียวหมูปิ้ง , สังขยาใบเตย , ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ น้ำใส น้ำตก เป็นต้น อาจารย์สุภัค ยังกล่าวอีกว่า “สำคัญคือเราต้องสร้างตัวตน (แบรนด์) ให้ชัดเจน การตลาดของเราต้องให้ครบเครื่อง ทำให้ลูกค้ารุ้สึกซื้อคุ้ม ไม่ใช่ซื้อถูก”
 
และสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยสู้กับทุนจีนได้สูสีมากขึ้นคือต้องพัฒนาในเรื่องของ Customer experience ร่วมด้วย หากสังเกตให้ดีระหว่างแบรนด์จากยุโรป กับแบรนด์จากจีน เราจะเห็นว่า สินค้าจีนเน้นความเป็น Customer experience สูงมาก เขาพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้ลูกค้าไม่ว่าจะด้วยกิจกรรมต่างๆ การลดราคา การจัดบรรยากาศร้าน เป็นต้น ถ้าลูกค้าเกิดความประทับใจมีความรู้สึกดีกับแบรนด์นั้นๆ ก็นำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้
 
ซึ่งจุดนี้ผู้ประกอบการคนไทยต้องใส่ใจโดยอาจารย์ อมรกล่าวว่า “คนไทยย่อมเข้าใจคนไทยด้วยกันดี ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าชอบ แม้แต่คนจีนเขาก็อาจไม่เข้าใจในความรู้สึกของคนไทยได้เท่ากับคนไทยเอง เป็นจุดแข็งสำคัญที่ผู้ประกอบการคนไทยควรนำไปประยุกต์ใช้ให้มากขึ้น”

ภาพจาก www.facebook.com/dairyqueenthailand
 
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ “การโฟกัสกลุ่มลูกค้า” หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าสินค้าจีนเน้นไปที่ฐานล่างของพีระมิดคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในประเทศ อย่างไรก็ดีมีหลายแบรนด์ที่ขยับในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเดรี่ควีน ไม่ได้โฟกัสในการแข่งด้านราคากับทุนจีน แต่เน้นไปที่คุณภาพสินค้าและความเป็น brand position จึงไม่สนใจทุนจีนแต่เน้นการออกเมนูใหม่ที่เอาใจลูกค้าของเดรี่ควีนที่มีอยู่ทั่วประเทศ มีหลายเมนูที่สอดคล้องกับความเป็น Soft Power เช่น บลิซซาร์ดข้าวเหนียวมะม่วงน้ำกะทิ , บลิซซาร์ดข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ , บลิซซาร์ดปังกรอบชาไทย , บลิซซาร์ดข้าวหลาม เป็นต้น
 
ทั้งนี้ทั้งอาจาย์อมรและอาจารย์สุภัค มองถึงผลกระทบของทุนจีนที่บุกตลาดเมืองไทยว่าสร้างสีสันให้แวดวงธุรกิจเมืองไทยและกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว ในแง่ดีคือทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น คนอยากลงทุนแฟรนไชส์ก็มีตัวเลือกมากขึ้น แต่อาจมีผลกระทบกับแฟรนไชส์ซอที่หากไม่แข็งแกร่งจริง ไม่มีการปรับตัว ก็อาจสู้ในระยะยาวไม่ได้ สิ่งสำคัญคือแฟรนไชส์ไทยควรสร้างธุรกิจหรือสินค้าที่มีความยั่งยืน มีความคุ้มค่าให้คนลงทุนรู้สึกว่าน่าสนใจลงทุนในระยะยาว รวมถึงต้องวิเคราะห์การลงทุนให้ดี อย่าลงทุนสินค้าตามกระแส อย่าแข่งกันที่ราคาแต่ให้แข่งกันที่คุณภาพมากกว่า
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจี..
3,464
ของดี ราคาไม่แพง “ข้าวแกงนางงาม 10 บาท” คนกินอิ่..
844
จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!
787
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนู..
731
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
721
ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!
700
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด