บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
262
2 นาที
6 กันยายน 2567
รู้ก่อนเจ๊ง! จุดคุ้มทุน รู้ให้จริง หาให้ได้ 
 

เจ้าของกิจการร้านค้า ร้านอาหารหลายคน ยังไม่เข้าใจในเรื่อง “จุดคุ้มทุน” หรือ Break-Even Point” ซึ่งมีผลต่อกำไรหรือขาดทุน จะอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ จำนวนของสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าต้องขายเพื่อให้มีรายได้กลับมาเท่าทุน จะทำให้ไม่ขาดทุน แต่ก็ยังไม่มีกำไรเหมือนกัน พ่อค้าแม่ค้าจะมีกำไรได้ก็ต่อเมื่อขายสินค้าหรืออาหารมากกว่าจุดคุ้มทุนนั่นเอง 
 
“จุดคุ้มทุน” หรือ Break-Even Point” คำนวณกันอย่างไร ทำไมพ่อค้าแม่ค้าจะต้องรู้และหาให้ได้ก่อนขาย มาดูกัน  
 
วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนง่ายๆ คือ 
 

จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)
 
ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายรายเดือน ในส่วนที่ไม่ขึ้นกับจำนวนการผลิต โดยมากจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการร้าน  
  • ค่าเช่าเปิดร้าน
  • เงินเดือนพนักงาน
  • ค่าประกัน
  • ดอกเบี้ยธนาคาร
ต้นทุนผันแปร คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าต่อ 1 ชิ้น ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณการผลิตหรือการขายเพิ่มขึ้น และลดลงเมื่อปริมาณการผลิตหรือการขายลดลง 
  • ค่าวัตถุดิบ 
  • ค่าแรงงาน
  • ค่าสาธารณูปโภค
  • ค่าบรรจุภัณฑ์
  • ค่าขนส่งและจัดส่ง
  • ค่าคอมมิชชั่นในการขาย 
ยกตัวอย่าง...การหาจุดคุ้มทุน
1. ร้านขายรองเท้ามือสอง 

  • มีต้นทุนคงที่ 15,000 บาท/เดือน 
  • มีต้นทุนผันแปรคู่ละ 100 บาท 
  • ราคาขายรองเท้าคู่ละ 350 บาท
  • จะได้จุดคุ้มทุน 15,000 / (350 – 100) = 60 คู่    
หมายความว่าร้านขายรองเท้ามือสอง ต้องขายรองเท้าให้ได้ 60 คู่ต่อเดือน ถึงจะคุ้มทุน ถ้าขายมากกว่า 60 คู่ ถึงจะมีกำไร 

2. ร้านขายอาหารตามสั่ง

  • มีต้นทุนคงที่ 10,000 บาท/เดือน
  • มีต้นทุนผันแปรจานละ 20 บาท
  • ราคาขายข้าวจานละ 50 บาท
  • จะได้จุดคุ้มทุน 10,000 / (50 – 20) = 333 จาน/เดือน  
นั่นแสดงให้เห็นว่า ร้านขายอาหารตามสั่งจะต้องขายให้ได้ 333 จาน/เดือน ถ้าขายได้น้อยกว่านี้ ถือว่าขาดทุน ขณะเดียวกัน เราสามารถลดจุดคุ้มทุนให้ต่ำลงจะทำให้ร้านสามารถคืนทุนและมีกำไรเร็วขึ้น โดยผลิตและยอดขายน้อยลง จากสูตรการคำนวณร้านขายอาหารตามสั่ง การลดจุดคุ้มทุนทำได้หลายวิธี เช่น การลดต้นทุนคงที่ ลดต้นทุนผันแปร หรือเพิ่มราคาขายต่อจาน/ต่อชิ้น จากตัวอย่างร้านขายอาหารตามสั่ง ถ้าต้องการลดจุดคุ้มทุนลง อาจปรับเปลี่ยนวิธี ดังนี้

1.ลดต้นทุนคงที่


 
เปลี่ยนจากการเช่าที่คนอื่น มาเปิดหน้าบ้านตัวเอง ต้นทุนคงที่อาจลดลง 5,000 บาท 
 
จะได้จุดคุ้มทุน 5,000/(50-20) = 166 จาน/เดือน  
 
2. ลดต้นทุนผันแปร 
 

ซื้อวัตถุดิบจากแหล่งราคาถูกลง เหลือต้นทุนจานละ 15 บาท 
 
จะได้จุดคุ้มทุน = 5,000 / (50-15) = 143 จาน/เดือน 

3. เพิ่มราคาขาย 
 

ตัวอย่างร้านอาหารตามสั่ง ถ้าไปเช่าที่เปิดร้านแบบเดิม 10,000 บาท/เดือน พ่อค้าแม่ค้าสามารถปรับราคาขายอาหารตามสั่งต่อจานเพิ่มได้ จากเดิมขาย 50 บาท/จาน ก็ปรับขึ้น 70 บาท ถึงจะได้กำไร แต่ต้องดูทำเลที่ตั้งและฐานะผู้บริโภคด้วยหรืออีกกรณีหนึ่งในการหาจุดคุ้มทุน พ่อค้าแม่ค้าสามารถหาราคาขายอาหารตามสั่งต่อจานขั้นต่ำ ด้วยการแปลงสมการคำนวณหาจุดคุ้มทุน คือ
 
ราคาขาย = (ต้นทุนคงที่ / จำนวนอาหารและยอดขาย) + ต้นทุนแปรผันต่อจาน
 
#สมมติร้านอาหารตามสั่งทำอาหารได้ประมาณเดือนละ 400 จาน 
 
จะได้ราคาขายอาหารต่อจาน (10,000 / 400) + 20 = 45 บาทขึ้นไป ถึงจะไม่ขาดทุน 
 
นั่นคือ “จุดคุ้มทุน” หรือ Break-Even Point” ที่พ่อค้าแม่ค้าจำเป็นต้องรู้ก่อนเปิดร้านขายของ เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองจะต้องขายเท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน หรือขายเท่าไหร่ถึงจะได้กำไร ลองนำสูตรกลับไปคำนวณเล่นๆ ที่ร้านกันครับ 

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจี..
3,464
ของดี ราคาไม่แพง “ข้าวแกงนางงาม 10 บาท” คนกินอิ่..
844
จีนไม่หยุด บุกขยายสาขา หรือ ล่าอาณานิคม!
787
Data-driven Marketing อาวุธ Burger King ปั้นเมนู..
731
เรียบร้อยโรงเรียนจีน แบรนด์ญี่ปุ่นถูกแซงไม่เหลือ!
721
ข้อเสียที่เจ้าของร้าน Food Truck ไม่(เคย) บอก!
700
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด