บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
282
3 นาที
22 กรกฎาคม 2568
ร้านทุกอย่าง 20 บาท ยุคนี้ ไปต่อไหวมั้ย?
 

ย้อนไปสักประมาณ 10 กว่าปีก่อน “ร้านสินค้าราคาเดียว” (One-Price Shop) เป็นที่พูดถึงมาก เรียกว่าตอนนั้นเป็นยุคเฟื่องฟูก็ว่าได้ โดย Daiso เป็นเจ้าแรกๆที่เริ่มธุรกิจนี้ในปี 2546 จากนั้นธุรกิจก็เริ่มเติบโตมาเป็นลำดับ และเริ่มมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น 
 
เช่น Komonoya, Just Buy, Miniso และ Moshi Moshi รวมถึงอีกหลากหลายแบรนด์ทั้งที่เป็นรายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งก็มีการพัฒนาทั้งขยายสาขาเองหรือบางแบรนด์ก็สร้างระบบแฟรนไชส์เพื่อขยายสาขาเพิ่มขึ้น
 
แต่ในความเป็นจริงคำว่าร้านทุกอย่าง 20 บางทีก็เป็นแค่กลยุทธ์ทางตลาด เดินเข้าไปในร้านบางทีก็เจอสินค้าที่ราคาแพงกว่านั้น คำว่า 10 , 20 หรือ 60 บางทีก็เป็นแค่ราคาสินค้าเริ่มต้น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ยังเป็นเอกลักษณ์ของธุรกิจนี้คือสินค้าในร้านมีราคาประหยัดกว่าถ้าเทียบกับร้านอื่นๆ รวมถึงการมีสินค้าให้เลือกเยอะมาก 
 
 
หัวใจของธุรกิจแนวนี้คือใช้กลยุทธ์ “กำไรน้อย แต่ขายเยอะ” ถ้าลองไปวิเคราะห์ดูว่าทำไมธุรกิจนี้ถึงเติบโตจะพบว่ามีหลายเคล็ดลับที่น่าสนใจเช่น
  1. เล่นกับอารมณ์คนซื้อ โดยใข้ราคาเป็นตัวนำ เพราะพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ซื้อสินค้าอย่างเดียวแต่จะเลือกซื้อหลายอย่างยิ่งเห็นว่าราคาไม่แพงก็ยิ่งซื้อมากขึ้น
  2. ใช้เทคนิคการคำนวณต้นทุนเฉลี่ย ยอมขาดทุนในสินค้าบางรายการเพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้านและหวังขายสินค้าตัวอื่นได้มากขึ้น
  3. จัดหมวดหมู่สินค้าให้เลือกง่าย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนในการแยกหมวดหมู่เช่นเครื่องมือช่าง , ของเล่น , เครื่องเขียน , อุปกรณ์ครัว , ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
  4. การบริหารสต็อคสินค้าอย่างมีระบบ มีการหมุนเวียนสินค้าที่รวดเร็ว มีความถี่สูง จัดหาสินค้าตามกระแสที่คนกำลังต้องการได้อย่างทันที
จากข้อมูลพบว่าร้านสินค้าราคาประหยัดเหล่านี้ต่อสาขาต่อเดือนมียอดลูกค้าเข้ามาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 5,000-10,000 คน มีการใช้จ่ายต่อบิลไม่ต่ำกว่าครั้งละ 200 บาท นั่นหมายความว่ายังถือเป็นธุรกิจที่น่าพอใจและยังเติบโตได้  
 
 
แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจซบเซาหนัก ต้นทุนสินค้าพุ่งสูง กำลังซื้อของคนลดลงชัดเจน ถามว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีผลต่อธุรกิจเหล่านี้มากแค่ไหน ไปดูผลสำรวจที่น่าตกใจระบุว่า 
  • ร้อยละ 51.01 ต้องใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือนและต้องระมัดระวังในการใช้เงินมากขึ้น 
  • ร้อยละ 82.94 บอกว่าทุกวันนี้ค่าครองชีพสูงไม่กล้าใช้สอย เครียดปัญหาหนี้สิน 
  • ร้อยละ 33.62 ช็อปปิ้งน้อยลง ไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็น
  • ร้อยละ 15.23 เน้นการเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนเลือกซื้อ
แม้แต่ผู้ประกอบการเองก็รู้ดีว่าคนส่วนใหญ่ลำพังแค่เงินเดือนก็หมดไปกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ค่าเช่าเช่าบ้าน , ค่าเดินทางไปทำงาน , ค่าน้ำค่าไฟ , ค่าเทอม  ฯลฯ  
 
ถ้าไม่ระมัดระวังการใช้จ่ายก็จะพาตัวเองและครอบครัวไปเจอวิกฤติการเงินตัวเลขเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นภาพรวมชัดเจนว่าธุรกิจก็ต้องมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค แม้จะเป็นร้านสินค้าราคาประหยัด ถ้ายังอยากอยู่รอดต่อไปก็ต้องมีอะไรที่ดึงดูดลูกค้าได้
 
คำว่า “จะไปต่อไหวมั้ย” ของร้านสินค้าราคาประหยัด ปัญหาจึงอยู่ที่การบริหารจัดการของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ 
 
ยกตัวอย่างบางร้านที่บอกว่าไปต่อไม่ไหว เพราะบอกว่าลงทุนไปหลักล้าน หวังว่าจะขายดี ตั้งใจจะขายทั้งหน้าร้าน ขายปลีก ขายส่งไปพร้อมกัน แต่ดันไม่เป็นอย่างที่คิด ขายได้เฉลี่ยแค่วันละ 500 – 1,000 มีบ้างที่ยอดขายถึง 2,000 แต่ก็ไม่ใช่ทุกวัน มาเจอกับค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และจิปาถะหักลบกลบหนี้คือทุนหายกำไรหด ไปต่อไม่ไหว
 
 
ถ้าลองเอาตัวเลขของร้านสินค้าราคาประหยัดมาวิเคราะห์ ถ้าจะให้ไปไหว ร้านก็ควรจะมีต้นทุนประมาณ 15-25% ของยอดขาย ต้นทุนสินค้าเฉลี่ยประมาณ 13-17 บาท(ในกรณีขายสินค้าราคา 20 บาท) ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่า ค่าแรง ไม่ควรเกิน 30-40% ของยอดขาย ถ้าบริหารจัดการได้ดีทำให้ร้านมีกำไรเฉลี่ย 25-30% ก็จะเป็นธุรกิจที่ไปต่อได้ 
 
ถ้าเทียบเป็นตัวเลขให้ชัดๆ รายได้ที่พอไหวให้อยู่รอดของร้านสินค้าราคาประหยัด (ร้านขนาดเล็ก) ควรมียอดขายประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ซึ่งถ้ายอดขายน้อยกว่านี้อาจมีความเสี่ยงที่จะไปต่อไม่ไหวในอนาคต
 
คำว่าระบบบริหารจัดการที่ดีคือหัวใจของร้านสินค้าราคาประหยัด ดูได้จากร้านประเภทนี้ที่เป็นแบรนด์ใหญ่ๆ ยังมีอัตราการเติบโตและยอดขายดีมาก ยกตัวอย่าง MR. D.I.Y. ที่สินค้าในร้านก็มีหลายราคาแต่เน้นความประหยัด หาซื้อสินค้าได้ง่าย 
 
ปี 2566 มีรายได้ 12,832 ล้านบาท กำไร 1,381 ล้านบาท ครึ่งปี 2567 มีรายได้ 7,567 ล้านบาท กำไร 794 ล้านบาท
 
 
ทุก ๆ ยอดขาย 100 บาท หักต้นทุนขาย อย่างเช่น ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบ ค่าขนส่งสินค้า เหลือเป็นกำไรขั้นต้น 48 บาท
 
และกำไรขั้นต้น 48 บาทหักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาด เหลือเป็นกำไรจากการดำเนินงานประมาณ 16 บาท หักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อย่างดอกเบี้ย และภาษีเงินได้แล้ว จะเหลือกำไรประมาณ 11 บาท 
 
และอีกหลายร้านค้าในธุรกิจประเภทนี้ที่ยังเติบโตได้เพราะมีวิธีบริหารจัดการที่ดี อย่างร้าน Daiso ในปีที่ผ่านมาทำรายได้ 853 ล้านบาท กำไร 25 ล้านบาท หรือ MINISO ทำรายได้ที่ 1,158  ล้านบาท กำไร 35 ล้านบาท เป็นต้น
 
ส่วนในมุมของร้านขนาดเล็กเองถ้าหวังจะอยู่รอดไม่ใช่แค่ขึ้นป้ายว่า “ทุกอย่าง 20” แล้วจะรอด นอกจากการบริหารต้นทุนที่ดี เรื่องของการจัดวางสินค้าในร้านก็สำคัญ ข้อแนะนำคือต้องเน้นขายทุกอย่าง มีทุกราคา ทั้งเกรด A เกรด B เกรด C เน้นความหลากหลายเพื่อเอาใจลูกค้าให้มากที่สุด 
 
 
เป็นร้านค้าที่อยู่ในทำเลไหนก็ควรมีสินค้าที่เหมาะสมกับทำเลนั้น เช่น หน้าโรงเรียนก็ต้องเน้นพวกอุปกรณ์การเขียน ให้เยอะ หรืออยู่ในท้องถิ่นที่มีการเกษตรก็ควรมีอุปกรณ์การเกษตรขายในร้าน สินค้าในร้านไม่เน้นเยอะ แต่เน้นครบ อะไรที่ยังไม่มีต้องรีบหามาขาย วิธีการจัดวางก็สำคัญอย่าทำให้ร้านดูโล่งเพราะจะไม่น่าสนใจ 
 
วิธีวางสินค้า จัดวางเชลล์ขายของต้องให้ลูกค้ารู้สึกอยากเดินเข้ามาในร้าน ถ้าเดินเข้ามาแล้วสินค้าต้องติดมือออกไปสัก 1-2 ชิ้น ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าพอใจสำหรับการขายของร้านสินค้าราคาประหยัดที่มีขนาดเล็ก
 
และที่อย่าลืมเด็ดขาดคือร้านสินค้าราคาประหยัดอย่าไปคิดแข่งสงครามราคาเด็ดขาด เพราะราคาสินค้ามันก็ถูกอยู่แล้ว ถ้าไปตัดราคาคู่แข่ง ผู้ประกอบการจะไม่ได้ประโยชน์อะไร 
 
แม้ยอดขายจะเพิ่มแต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้นแน่ ดังนั้นวัดกันที่คุณภาพสินค้า + การบริหารจัดการ+ จัดร้านแต่งร้าน  บางร้านอาจเพิ่มการขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ร่วมด้วยจะเป็นวิธีอยู่รอดของร้านสินค้าราคาประหยัดที่ถูกต้องมั่นคงได้แท้จริง
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สงครามส่งด่วน • เกมส์ • กลยุทธ์ • ธุรกิจ
548
“Store Assortment” กลยุทธ์ร้านค้าปลีก ที่เจ้าของ..
460
คิดวิเคราะห์ขายอาหารใน Food Court คุ้มหรือไม่
453
ไฮเปอร์มาร์เก็ต VS ซูเปอร์เซ็นเตอร์! ใครจะรุ่ง ..
422
“Markdown” วิธีใช้ “ป้ายเหลือง” เพิ่มรายได้ร้านส..
399
3 ทหารเสือ เชนร้านสเต็ก พันล้าน
396
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด