บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
1.6K
3 นาที
1 ธันวาคม 2557
แผนธุรกิจ กับ SMEs ตอน....ขั้นตอนเริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจ (1)
 
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่แล้ว การจัดทำแผนธุรกิจหรือการเขียนแผนธุรกิจขึ้นมาสักหนึ่งฉบับ ถือได้ว่าเป็นปัญหา หรือสิ่งที่สร้าง ความกังวลให้กับผู้ประกอบการ หรือผู้จัดทำแผนธุรกิจที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เป็นอย่างมาก หรือแม้แต่ผู้ประกอบการ ที่ได้เคยผ่านการอบรม เกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจ จากหน่วยงานอบรมต่างๆมาบ้างแล้วก็ตาม

เนื่องจากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร หรือแม้แต่กรณีที่มี คู่มือการเขียน แผนธุรกิจ ประกอบการจัดทำแผนธุรกิจ แต่ก็ยังไม่รู้จะเริ่มต้นเขียนอย่างไรดี จากปัญหาดังกล่าวผู้เขียนจึงเห็นว่า ควรจะได้กล่าวถึง ขั้นตอนใน การเริ่มต้นการเขียนแผนธุรกิจ แบบง่ายๆไม่ซับซ้อน ซึ่งจะช่วยเป็นแนวทางเริ่มต้นในการจัดทำหรือการเขียนแผนธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการ เป็นลำดับ ให้สามารถใช้เป็นแนวทางเริ่มต้น ก่อนที่จะได้กล่าวถึง รายละเอียดเกี่ยวกับว ิธีการในการจัดทำ หรือการเขียนแผนธุรกิจ โดยละเอียด ในโอกาสต่อไป โดยขั้นตอนการเริ่มต้นในการเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้โดยสังเขปเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
  • เลือกธุรกิจ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ
  • กำหนด Business Model
  • เริ่มต้นเขียนแผน
เลือกธุรกิจ การเลือกธุรกิจในที่นี้หมายถึง ถ้าผู้ประกอบการ มีความประสงค์ต้องการจะเป็นผู้ประกอบการหรือผู้จัดทำแผนธุรกิจ ยังไม่รู้ว่า จะทำธุรกิจอะไรดีหรือจะเลือกธุรกิจใดมาจัดทำ หรือเขียนแผนธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องคิดก่อนเป็นลำดับแรก คือจะเลือกธุรกิจอะไร ที่เหมาะสม กับตนเอง หรือเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการเขียน

โดยถ้าแบ่งประเภทหรือลักษณะธุรกิจตามข้อกฎหมายของ SMEs คือ กฎกระทรวง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545 ซึ่งได้กล่าวถึงลักษณะของกิจการ SMEs รวม 4 ลักษณะ อันประกอบด้วย กิจการการผลิต กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก หรือถ้าไม่แบ่งตามลักษณะของข้อกฎหมาย

โดยแบ่งตามลักษณะรูปแบบการดำเนินการ เช่น ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ (Product business) ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์เฉพาะบุคคล (Personal product business) ธุรกิจบริการ (Service business) ธุรกิจบริการเฉพาะบุคคล (Personal service business) ธุรกิจการค้า (Retail business) ธุรกิจด้านการจัดจำหน่าย (Distribution business) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือด้านอินเตอร์เน็ต (Technology-based business or Internet-based business) หรืออาจจะแบ่ง ลักษณะธุรกิจตามเกณฑ์กำหนดอื่นๆ

เช่น เกณฑ์ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย เกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ตาม แต่ละลักษณะของธุรกิจนั้น ก็จะมีชนิดของรูปแบบกิจการแยกย่อยออกไปอย่างมากมาย ซึ่งผู้ประกอบการจะเลือกทำธุรกิจอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบหลายประการ

ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของผู้ประกอบการด้วย เช่น อุปนิสัย ความรู้ความชำนาญ การศึกษา ความชอบ สภาพครอบครัว ทุนทรัพย์ รวมถึงปัจจัยประกอบอื่นๆ เช่น เครือข่ายทางการค้า ความสัมพันธ์กับคู่ค้า เป็นต้น ในการตัดสินใจเลือกว่า จะดำเนินธุรกิจอะไร แต่สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ การเลือกธุรกิจถือเป็นก้าวแรก ที่จะตัดสินว่า ผู้ประกอบการจะมีโอกาส ประสบความสำเร็จ หรือไม่ เพราะธุรกิจแต่ละชนิดหรือแต่ละประเภท จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีจุดเด่นและจุดด้อยของธุรกิจที่แตกต่างกัน มีโครงสร้าง การลงทุน ที่แตกต่างกัน มีลักษณะลูกค้าที่แตกต่างกัน มีลักษณะของการได้มาซึ่งรายได้ และค่าใช้จ่ายในต้นทุนของธุรกิจ ที่แตกต่างกัน
 
รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินการ ทำให้ธุรกิจแต่ละประเภทมีวิธีการกำหนดกลยุทธ์ และวิธีการดำเนินการ ที่แตกต่างกันออกไป แม้ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันก็ตาม โดยเป็นผลเกี่ยวข้องจากพื้นฐานของผู้ประกอบการตามที่กล่าวมาแล้ว

ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการได้มีการกำหนด และเลือกประเมินธุรกิจจากองค์ประกอบของตนอย่างรอบคอบ ก็จะสามารถเลือกธุรกิจ ที่เหมาะสม ในการดำเนินการได้ไม่ยากนัก ถ้าผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ หรือเกิดปัญหาน้อยกว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่ตนเองไม่ถนัด หรือไม่มีความชำนาญ หรือไม่เหมาะสมกับข้อจำกัดที่ตนเองมีอยู่

โดยธุรกิจที่เลือกนั้น ควรจะเป็น ธุรกิจที่มีลักษณะพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการนี้ คือ สามารถตอบสนองต่อความต้องการ หรือสามารถแก้ปัญหา ที่เป็นอยู่ของลูกค้า หรือผู้บริโภคได้ หรือเป็นธุรกิจที่อยู่ในกระแสความต้องการของตลาด ซึ่งลักษณะพื้นฐานทั้ง 2 ประการนี้ จะเป็นตัวเสริม ให้ธุรกิจสามารถดำเนินการ หรือสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่มีอยู่ได้

โดยสำหรับประเด็นของการเลือกธุรกิจนี้ อาจจะมิได้ถือเป็นสาระสำคัญนักของการเริ่มต้นการเขียนแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการโดยทั่วไป เนื่องจากก่อนหน้าที่จะได้มีการเขียนแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการก็มักจะมีธุรกิจที่เลือกจะดำเนินการมาเรียบร้อยก่อนหน้าแล้ว แต่ที่ต้องมีการเขียน แผนธุรกิจ

เนื่องจากต้องใช้เป็นเครื่องมือในการขอรับการสนับสนุนทางการเงิน จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือใช้เพื่อการขอรับ การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อย่างที่ได้เคยกล่าวมาแล้วการใช้ประโยชน์จากแผนธุรกิจ ซึ่งถ้าเป็นกรณีดังกล่าว อาจข้ามขั้นตอนแรก ในการเลือกธุรกิจ ไปสู่ขั้นตอนที่สอง คือการรวบรวมข้อมูลธุรกิจได้เลย

แต่ขั้นตอนการเลือกธุรกิจนี้ จะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าเป็นการเขียน แผนธุรกิจ สำหรับการเรียนในสถาบันการศึกษา การอบรมจากหน่วยงานให้การอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้าเป็นการประกวดแข่งขันการเขียนแผนธุรกิจ เพราะการเลือกธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาด เป็นธุรกิจใหม่ หรือมีแนวคิดทาง การตลาดใหม่ๆ เป็นธุรกิจที่เน้นความเป็นนวัตกรรม หรือเป็นธุรกิจยุทธศาสตร์หรือเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็นต่อประเทศ ย่อมสร้าง ความได้เปรียบ ในการจัดทำแผนธุรกิจ และการนำเสนอเพื่อการแข่งขันมากกว่าธุรกิจพื้นฐานโดยทั่วไป โดยการเลือกธุรกิจดังกล่าวนี้ ต้องเป็นการเลือกธุรกิจที่ดี (Choose a good business)

ซึ่งธุรกิจที่ดีนั้นหมายถึงเป็นธุรกิจซึ่งเหมาะสมกับตัวผู้ประกอบการ หรือมีความเหมาะสม หรือมีความได้เปรียบ เมื่อใช้ในการศึกษาหรือการประกวดแข่งขัน เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการ หรือผู้จัดทำแผนธุรกิจ สามารถหา หรือรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้อย่างเหมาะสมในขั้นตอนต่อไป ซึ่งถ้าผู้ประกอบการยังไม่มีแนวทาง หรือความคิด เกี่ยวกับธุรกิจอะไรที่เหมาะสมกับตนเอง ก็อาจใช้วิธีการดูตัวอย่างรูปแบบธุรกิจ หรือการดำเนินธุรกิจจากแหล่งข้อมูลภายนอกต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นการไปตลาดนัด งานแสดงสินค้า งานแสดงนิทรรศการ เป็นต้น หรือการดูรายการทีวี หรือรายการวิทยุที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ หรือการศึกษาจากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ SMEs เช่น จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม www.sme.go.th กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม www.dip.go.th หรือจากหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น

จากนิตยสารด้านการประกอบธุรกิจ เช่น SMEs Today SMEs Thailand จากหนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจ เช่น ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติธุรกิจ ผู้จัดการ ในคอลัมน์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs จากนิตยสารด้านการตลาด เช่น Brand Age Marketteer Positioning หรือจากหนังสือในด้านธุรกิจ SMEs ที่มีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไป ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวความคิดใหม่ๆ ในการเลือกธุรกิจที่ดีหรือเป็นธุรกิจที่เหมาะสม ในการเริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจได้เป็นอย่างดี

อ้างอิงจาก   novabizz.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,790
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด