บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    การสร้างความเป็นผู้นำ
3.8K
1 นาที
3 มิถุนายน 2558
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

ถ้าใครมาถามเราว่าทำงานอะไร แล้วเราตอบเค้าว่า เป็นกรรมการบริษัท โอ้โห มันคงจะโก้น่าดูใช่มั้ยครับ ก็ฟังดูอย่างกับเป็นผู้บริหารระดับสูงยังไงยังงั้น แต่ทราบหรือไม่ครับ ว่าหน้าที่และความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับความโก้หรูดังกล่าวนั้นมันมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะลองมาดูกันครับ

หลายคนถูกชวนให้ไปเป็นกรรมการบริษัท ก็ดีใจจนเนื้อเต้น ไม่ว่าจะเป็นสามีชวนภรรยา พี่น้องในครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนสนิทมิตรสหาย การเป็นกรรมการบริษัทนั้นเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดเราควรจะรู้ด้วยว่า หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อเราจะได้รู้เท่าทันคนอื่น ก็สมัยนี้ไว้ใจใครได้ที่ไหนเล่าครับ คนใกล้ชิดกันแท้ๆก็ยังหักหลังหรือทำกันให้เห็นๆมานักต่อนักแล้ว ทางที่ดีเราควรเรียนรู้เพื่อป้องกันความผิดพลาด และบอกเตือนคนอื่นๆได้ด้วย
 
การเป็นกรรมการบริษัทนั้นคงจะไม่มีปัญหาอะไร หากกิจการของบริษัทดำเนินก้าวหน้าไปได้ด้วยดี แต่ถ้ามันไม่เป็นอย่างงั้นล่ะครับ หากว่าเกิดมีปัญหาในการดำเนินงาน เกิดมีหนี้สินขึ้นมา เจ้าหนี้ก็จะมาทวงหนี้ของบริษัท แล้วใครจะต้องรับผิดล่ะครับ ถ้าเราเป็นกรรมการเราบอกว่าเราไม่รู้เรื่องได้มั้ย แล้วถ้าต้องรับผิดต้องรับผิดแค่ไหนอย่างไร
 
โดยหลักกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นบอกว่า กิจการใดที่กรรมการกระทำไปในหน้าที่ของตน กรรมการไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เว้นแต่ว่า กิจการใดที่กรรมการกระทำลงโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกขอบเขตอำนาจของทางบริษัทและบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบรรณ(การรับรอง) กรรมการต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อบุคคลภายนอก
 
ดังนั้น คุณจะต้องพิจารณาก่อนว่า หากคุณเป็นกรรมการแล้ว บริษัทที่คุณเป็นนั้นเค้าให้อำนาจหน้าที่หรือมีกิจการตามวัตถุประสงค์อะไรบ้าง(ดูได้จากวัตุประสงค์ของบริษัท) เมื่ออ่านดูจนเข้าใจแล้ว ในการเซ็นชื่อในเอกสารต่างๆก็ควรจะอ่านดูให้เข้าใจเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อ

เพราะถ้าได้กระทำตามอำนาจหน้าที่ไปแล้ว คุณก็ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว(เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อบังคับของบริษัทเขียนไว้ว่า ให้กรรมการต้องรับผิดในหนี้สินของบริษัทโดยไม่จำกัดจำนวน) แต่ถ้าหากคุณได้ลงลายมือชื่อไปโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจของกรรมการ คุณก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวครับ
 
ลองมาดูตัวอย่างกัน สมมุติว่าคุณเป็นกรรมการของบริษัท ก. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต กรณีที่คุณลงชื่อในสัญญาเพื่อเช่าพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์ แบบนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณไปลงชื่อในสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน ซึ่งบริษัทของคุณไม่ได้มีวัตุประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น คุณจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวทั้งต่อบริษัทและต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตด้วย กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเสมอนะครับ
 
สรุปว่า การเป็นกรรมการบริษัทนั้นมีความเสี่ยงอยู่บ้างนะครับ เพราะอาจต้องรับผิดต่อบุคคลอื่นๆที่เข้ามาทำธุรกิจกับบริษัท และทั้งต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทเองด้วย อาจเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ตำแหน่งดูโก้หรู แต่ความรับผิดชอบที่ตามมามันก็ไม่ใช่น้อยๆเลยใช่มั้ยครับ ดังนั้น ก่อนลงลายมือชื่อในเอกสารใดๆก็ตาม ดูให้รอบคอบ อ่านก่อนซักนิดนึงนะครับ

อ้างอิงจาก  pattanakit.net

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,793
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,406
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
721
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
641
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
561
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
491
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด