บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
3.3K
2 นาที
30 กันยายน 2558
จริยธรรมที่เถ้าแก่จะต้องมี (2)

ความสำคัญของจริยธรรมของเถ้าแก่

จริยธรรมเป็นแนวทางความประพฤติที่จะนำความสุขและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ  ถ้ามนุษย์มีจริยธรรมส่งผลให้มีคุณภาพการตัดสินใจที่ดี  การกระบวนการทุกขั้นตอนของการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม  ถ้ามีการควบคุมเรื่องของจริยธรรมจะส่งผลดีไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเองเองและผู้อื่น         

เพื่อความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในปัจจัยดังนี้

1.  ความซื่อสัตย์สุจริต  สำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการค้าปลีกเพียงอย่างเดียว  กระบวนการจำหน่ายจะต้องติดต่อกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง  และถือว่าเป็นผู้ซื้อคนสุดท้ายถ้าหากขาดจริยธรรมแล้ว  จะส่งผลกระทบโดยตรงแม้กระทั่งการใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อที่จะให้ได้ผลกำไรสูง  เช่นการดัดแปลงเครื่องชั่ง  ตวง  วัดน้ำหนัก  การปลอมปนสินค้าเพื่อจำหน่าย 

การลดปริมาณสินค้าลงบางส่วนหรือฉวยโอกาสกักตุนสินค้าเพื่อจำหน่ายในราคาสูงกว่าเดิมในภาวะขาดแคลน  ทำให้ผู้ซื้อเสียโอกาสหรือผลกระทบจากความซื่อสัตย์สุจริต  จะส่งผลเสียหายในระยะยาวตามมาเรื่องชื่อเสียงในที่สุดเป็นอุปสรรคสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของกิจการในอนาคต 

ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด  เพราะกิจการมีความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดความไว้วางใจจากลูกค้ารวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ  และจะเป็นพื้นฐานของอนาคตด้านความก้าวหน้าของกิจการ  หากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นพื้นฐานของจริยธรรมด้านลบตามมาของผู้ประกอบการเองด้วย

ดังนั้นเถ้าแก่ที่ต้องการความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองของตนเองและส่งผลให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับทายาทในอนาคตจะต้องยึดหลักการข้อนี้ไว้เป็นคุณธรรมประจำใจ  ดังคำกล่าวที่ว่า 

“ซื่อกินไม่หมด   คตกินไม่นาน”  หรือไม่จะเป็นด้านวัตถุดิบในการผลิตไม่ควรมองข้ามเรื่องคุณภาพและปริมาณ  ที่เหมาะสมและได้สัดส่วน

2. ความขยัน  มีมานะ  เป็นคุณธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะต้องยึดถืออีกข้อหนึ่ง  เป็นคุณธรรมประจำใจ  มีคำกล่าวของชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จด้านการค้าว่า  ขยัน  อดทน  ประหยัด  เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องยึดถือในจิตใจ ไม่ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางด้านธุรกิจไปเพียงใด จริธรรมข้อนี้จะต้องยึดถือไว้ในใจตลอดกาล              

3. การรักษาสิ่งแวดล้อม  ตอบแทนชุมชน  เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีในการประกอบการ  เป็นการปลูกจิตสำนึกเรื่องความมีวินัยและความมีใจรักในอาชีพจะส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความศรัทธาและมีความภักดีกับกิจการ
 
4.  การดำเนินธุรกิจอย่างถูกกฎระเบียบและข้อบังคับของสังคม   เป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ผู้ประกอบการถูกบังคับและจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะเป็นการควบคุมการกระทำบางอย่างที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีเพื่อป้องกันผลเสียที่ตามมาในอนาคต  เช่นการห้ามจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า  18 ปี  ห้ามจำหน่ายวัตถุมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทยกเว้นมีใบสั่งจากแพทย์      


อ้างอิงจาก  tpa.or.th
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด