บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การขาย
2.6K
2 นาที
17 พฤศจิกายน 2558
เป็นไปได้ ขายดีจนเจ๊ง

ขายดีจนเจ๊ง ฟังคำนี้แลัวหลายๆ คนคงคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไม่ได้ ขายดีแล้วจะเจ๊งได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับผู้ประกอบการจำนวนมาก ใครจะไปคิดว่าคนที่ขายของได้ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า สุดท้ายไม่รู้เงินหายไปไหนหมด

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงได้กับทั้งผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่า หากเราไม่รู้จักบริหารจัดการรายได้ที่เข้ามาอย่างเป็นระบบ

คุณนิกกี้ เด็กสาววัย 25 ปี ที่ได้ทำธุรกิจในสิ่งตนเองรัก พอเรียนจบก็ไม่อยากทำงานเป็นลูกจ้างที่ไหน อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง จึงแอบเอาเงินที่พ่อให้เพื่อไปซื้อรถมาลงทุนในธุรกิจโดยที่พ่อไม่รู้ ธุรกิจที่ว่านี้ก็คือ Studio Flamingo ธุรกิจผลิตและจำหน่ายตุ๊กตา สมุดโน๊ต พวงกุญแจ ที่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ และมีเทคนิคในการตัดเย็บที่ประณีต โดยเธอจะเป็นคนออกแบบสินค้าเองทุกชิ้น ด้วยความที่คุณนิกกี้มีความสามารถในการออกแบบ จึงทำให้สินค้าของเธอแตกต่างจากคนอื่น  กลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้สินค้าของเธอขายดี

แต่ด้วยความเป็นเด็กและไม่มีความรู้ในการบริหารธุรกิจ เมื่อสินค้าขายได้ก็ได้แต่ดีใจ แต่บริหารจัดการไม่เป็น จึงทำให้ใช้เงินไปแบบสูญเปล่าจำนวนมาก และใช้เงินแก้ปัญหาโดยไม่ได้คิดว่าสิ้นเปลืองหรือไม่ จนทำให้ธุรกิจเจ๊ง ต้องระงับออร์เดอร์จำนวนมากที่เข้ามาเพื่อหยุดธุรกิจและหันมาจัดการกับระบบธุรกิจหลังบ้าน ฟังดูแล้วก็ไม่น่าเชื่อแต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นว่าปัญหาทุกอย่างมีทางแก้แต่เราต้องหยุดและหันกลับมาดูว่าที่ผ่านมาเราทำผิดพลาดอย่างไร ซึ่งคุณนิกกี้ก็ทำเช่นนั้น เมื่อแก้ปัญหาและวางรากฐานที่ดี พอเริ่มสตาร์ทใหม่ก็ไปได้ไกล

ธุรกิจ SME ที่ต้องเจอกับเหตุการณ์นี้มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ เรามาลองดูกันว่าสาเหตุของการขายดีจนเจ๊ง เกิดจากอะไรได้บ้าง
  1. ไม่รู้ต้นทุนสินค้า  ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุใหญ่เลย เพราะถ้าเราไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริงของสินค้า เราก็จะไม่มีทางรู้ว่า ราคาสินค้าที่เราตั้งไว้จะสร้างกำไรต่อหน่วยให้แก่เราเท่าไหร่ และจะมีกำไรมากพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกหรือไม่ แม้ว่าเราจะขายดีเท่าไหร่ แต่หากเรามีต้นทุนที่สูง โอกาสเจ๊งก็มีสูงเช่นกัน
  2. ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย  ผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่มักจะละเลยเรื่องนี้ บางท่านไม่มีความรู้ด้านบัญชี บางท่านไม่มีเวลาทำเพราะขายดีมาก จึงคิดว่าไม่เป็นไรไว้ทำทีหลังก็ได้ แต่รู้ไหมว่า ถ้าเราไม่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้ เราก็จะไม่รู้กระแสเงินสดของตนเอง สุดท้ายรายจ่ายอาจจะมากกว่ารายรับโดยที่เราไม่รู้ตัว
  3. ไม่มีการจัดสรรเงินที่ได้มา  เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนการทำธุรกิจแบบไม่เป็นระบบ เพราะไม่มีการวางแผนและการจัดสรรรายรับกับรายจ่ายของบริษัท อยากจ่ายอยากซื้ออะไรก็ทำตามใจ ไม่บริหารจัดการให้เป็นส่วนๆ เช่น ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบกี่ %, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกี่ %, เงินสดสำรองฉุกเฉินกี่ % เป็นต้น
  4. ไม่ดูแลสต็อกสินค้า ทำให้เกิดต้นทุนจม  อีกเรื่องที่มักเป็นปัญหาสำหรับ SME พอขายดีก็สั่งสินค้าหรือผลิตสินค้าเข้าคลังสินค้าจำนวนมาก โดยไม่ได้คิดเลยว่า ปริมาณสินค้าที่อยู่ในคลังมีจำนวนที่สอดคล้องกับยอดขายหรือไม่ เพราะไม่ได้มีการเก็บข้อมูลสถิติการขายสินค้าในช่วงที่ผ่านมา เพื่อมาใช้ในการประเมินปริมาณของสินค้าที่จะสั่งหรือผลิตเข้ามาเก็บในสต๊อก สุดท้ายเมื่อมีสต๊อกสินค้ามากเกินไป นอกจากเงินจมแล้ว ถ้าสินค้าเสียหายก็จะกลายเป็นเงินที่สูญเปล่าไป
หลายคนคงคิดว่า ขอให้ขายดีก่อนแล้วค่อยมาคิดจัดการกับระบบต่างๆ ในภายหลัง ซึ่งมันอาจจะไม่ทันการ เพราะนอกจากจะเสียแรงที่ลงไปฟรีๆ แล้วยังต้องเสียเงินที่เป็นรายได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก ธนาคารกสิกรไทย
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด