บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
3.3K
2 นาที
18 เมษายน 2559
6 วิธีเอาตัวรอดของธุรกิจเกิดใหม่ SMEs Start up


ใครๆก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ใช่ว่าทุกคนที่มีความฝันแล้วจะทำได้เป็นจริงอย่างใจคิด แม้ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจะระบุว่ามีการตั้งธุรกิจใหม่กว่า 6,000 ราย แต่ในส่วนคนที่ขอเลิกกิจการก็มีมากถึงร้อยละ 28 เช่นกัน 
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มีความต้องการให้ทุกกิจการที่เริ่มต้นสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นก่อนที่จะก้าวไปสู่คำว่า “ธุรกิจ” เราควรรู้จักตัวตน รู้จักความต้องการที่แท้จริง ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนธุรกิจเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
 
1.รู้จักตัวเองว่าต้องการขายอะไร

 
นี่คือเรื่องที่ต้องยืนยันเป็นอันดับแรก ไม่ใช่แค่รู้ว่าจะขายอะไรแต่ต้องรู้ว่าขอบเขตของสินค้าคลอบคลุมอะไรบ้างเพื่อวางแผนปรับแต่งร้านหรือมองหาสิ่งที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ถ้าต้องการขายสีก็ต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการทาสีอย่างครบถ้วน

การแต่งร้านก็ต้องเน้นที่สีสันเพื่อดึงดูดใจ หรือถ้าจะเปิดร้านอาหารทั่วไปก็ต้องจัดที่นั่งให้ได้สัดส่วน มีบริการสั่งกลับบ้านและเดลิเวอรี่ นี่คือเบื้องต้นและเป็นจุดเริ่มสำคัญก่อนที่จะคิดถึงสิ่งสำคัญอื่นๆต่อไป
 
2.รู้จักการสร้างจุดขายในสินค้านั้นๆ

 
หลักการง่ายๆของการสร้างจุดขายคือหาเหตุและผลมาถามตัวเองก่อนว่าทำไมลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าที่ร้านเรา ทำไมถึงไม่ไปซื้อจากคู่แข่ง จุดขายที่ดีคือต้องน่าสนใจ เข้าใจง่าย ไม่ต้องยืดยาว

และถ้ายิ่งเพิ่มสิ่งที่พิเศษได้มากขึ้นก็จะยิ่งเป็นการดีกับธุรกิจมากเท่านั้นยกตัวอย่างการขึ้นป้ายร้านอาหารภายหลังชื่อร้านก็อาจเป็นสโลแกนสั้นๆ เช่น “ช้าหน่อย…อร่อยแน่” “รสชาติดี..ไม่สด.. ไม่เสิร์ฟ” เป็นต้น
 
3.ต้องรู้จักการใช้เงินทุนตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

 
การดูสภาพทางการเงินก็ทำให้ธุรกิจเริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการใช้เงินทุนก้อนใหญ่ในครั้งแรกเสมอไป จากข้อมูลเชิงสถิติบางธุรกิจมีต้นทุนที่สูงมากส่วนหนึ่งคือค่าเช่าของร้านที่ต้องจ่ายแพงเพราะอยู่ในทำเลที่ดี แต่นั่นก็ไม่ได้การันตีว่ายอดขายจะสูงตามไปด้วย  
 

ราคาค่าเช่าที่สูงเกินจริงนี้บางครั้งเป็นเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน คือความต้องการเช่ามีสูงแต่ที่จริงอาจเป็นทำเลที่ดีของธุรกิจหนึ่งที่ไม่เหมาะกับบางธุรกิจก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดีคือการใช้จ่ายเงินที่มีอย่างชาญฉลาด เริ่มต้นในพื้นที่ที่เหมาะสมซึ่งอาจมีราคาเช่าไม่แพงแล้วค่อยต่อยอดขึ้นไปในอนาคต

4.รู้จักการวางกลุ่มเป้าหมายให้เป็น

 
สิ่งสำคัญของธุรกิจคือการสร้างฐานลูกค้า และมีนโยบายด้านการตลาดชัดเจน โดยต้องรู้จักเลือกวางตำแหน่งของธุรกิจในย่านที่อยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด

คำว่ากลุ่มเป้าหมายคือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับคนที่ต้องใช้สินค้าของเราก็เป็นได้ เช่น การขายผลิตภัณฑ์เด็ก ก็ควรอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีครอบครัวอาศัยอยู่มาก กลุ่มเป้าหมายคือแม่และผู้ปกครองที่ต้องซื้อของให้เด็กๆได้ใช้ เป็นต้น
 
 
ในที่นี้เราอาจจะพูดให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าไม่ใช่แค่รู้จักกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายร่วมด้วย ซึ่งจำแนกได้หลายอย่างทั้งช่วงอายุ  กลุ่มรายได้

ยกตัวอย่างแผนการตลาดของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆที่จะเห็นว่าเปิดใกล้กันแต่ก็ยังเดินหน้าธุรกิจได้นั้นเพราะกลุ่มลูกค้าที่เจาะจงนั้นต่างกันอย่างบิ๊กซีที่เปิดตรงข้ามกับเซนทรัล กลุ่มลูกค้าก็จะเลือกความเหมาะสมว่าต้องการสินค้าอะไร นั้นคือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนธุรกิจก็มีทิศทางที่แน่นอนมากยิ่งขึ้น
 
5.รู้จักการวางพื้นที่สำหรับกิจกรรมหลักของร้าน

 
 คำว่ากิจกรรมหลักของร้านคือสิ่งที่ต้องกระทำตั้งแต่เริ่มเปิดร้านจนถึงปิดร้านในแต่ละวัน การวางพื้นที่ให้เหมาะสมเพื่อให้ขอบเขตของกิจกรรมอยู่ในพื้นที่นั้นๆอย่างเป็นสัดส่วน เช่นพื้นที่ของร้านก๋วยเตี๋ยว โซนด้านหน้าคือการโชว์ครัว โต๊ะบริการนั่งกินจัดไว้ด้านใน หลังสุดก็ควรเป็นห้องน้ำ ทั้งนี้ก็ต้องมีส่วนที่เป็นห้องสต็อค เก็บอุปกรณ์ และที่สำหรับล้างจาน เป็นต้น 
 
 
ความสำคัญของการกำหนดพื้นที่คือ มุมมองที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความสบายตาและสบายใจ รู้สึกมั่นใจกับการเข้ามาใช้บริการไม่จำเป็นว่าต้องเป็นร้านอาหารธุรกิจอื่นๆก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้และมีการจัดวางพื้นที่ให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆด้วย
 
6.รู้จักการวางรูปแบบของร้านและจัดตกแต่งได้อย่างเหมาะสม

 
นี่คือภาพธุรกิจที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น เมื่อสำรวจตัวเองและกำหนดในทุกมิติได้อย่างสมบูรณ์แล้วทีนี้คือการเก็บรายละเอียดในการจัดรูปแบบของร้านที่ไม่ใช่การทำตามใจต้องการแต่ต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า และสะดวกต่อการปฏิบัติงานได้ด้วย

ทั้งนี้เทคนิคของการจัดแต่งร้านมีผลทางจิตวิทยากับการใช้บริการเป็นอย่างมาก เพราะทุกร้านย่อมต้องคาดหวังการแต่งร้านที่สวยงาม บางครั้งก็กลายเป็นดูดีจนเกินไปทำให้ลูกค้าคิดว่าสินค้าที่ขายในร้านนั้นต้องมีราคาแพงทั้งที่จริงอาจจะเทียบเท่าหรือถูกกว่าร้านใกล้เคียงด้วยซ้ำ  ด้วยเหตุนี้ความพอดีคือนิยามสำคัญของการจัดร้าน ถ้าดูดีเหมาะสมกับสินค้า ก็ทำให้มุมมองของลูกค้าถูกกำหนดทิศทางได้ถูกต้องด้วย
 
 
และสำหรับคนที่อยากมีธุรกิจแต่ยังวางแผนธุรกิจไม่ถูกสามารถเข้ามาเลือกแผนธุรกิจที่คุณสนใจได้ตามรายละเอียดนี้ http://goo.gl/0ey7YR  
 
หลังจากมีแผนก็ค่อยก้าวทีละขั้นเริ่มจากตัวเองต่อยอดไปเรื่อยๆ เพราะในภาคธุรกิจคนที่รู้จักศึกษาและเข้าใจกระบวนการอย่างถ่องแท้จะแม้จะไม่สำเร็จในทันทีแต่ก็ถือว่าล้ำหน้าและเดินมาอย่างถูกทางที่สุดแล้ว
 
เรียบเรียงโดย ThaiFranchiseCenter.com 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด