บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
4.5K
2 นาที
26 กันยายน 2559
กลยุทธ์ 3 ประการเพื่อเปลี่ยนพ่อค้าให้กลายเป็นเศรษฐี

 
เราเชื่อว่าหลักการหรือทฤษฏีทางการตลาดแม้เป็นเพียงแนวทางทฤษฏี

แต่ก็มีนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จจำนวนมากที่เลือกเอากลยุทธ์ต่างๆเหล่านี้มาใช้ในการทำธุรกิจอย่างได้ผล บางคนเริ่มต้นจากศูนย์แต่ด้วยความรู้ที่มีและความพยายามที่จะเรียนรู้มีการปรับใช้ทฤษฏีเข้ากับสถานการณ์ผลที่ได้รับคือการพลิกชีวิตจากพ่อค้าธรรมดาก็กลายเป็นเศรษฐีได้อย่างสบายๆ
 
www.ThaiFranchiseCenter.com ต้องการให้ผู้ลงทุนทุกคนเข้าใจในความมสำคัญของทฤษฏีเชิงการตลาดจึงยกเอาเรื่องราวของพ่อค้าจากโอมิซึ่งเป็นเขตหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดชิกะของประเทศญี่ปุ่น

พ่อค้าจากเมืองโอมิถือเป็นต้นแบบความสำเร็จมากมายของธุรกิจในญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าได้มารู , ห้างสรรพสินค้า Takashimaya ,ชุดชั้นใน Wacoal , รถยนต์ Toyota หรือแม้แต่รถยนต์เพื่อการเกษตรอย่าง Yanmar จุดกำเนิดของกิจการเหล่านี้เติบโตมาจากพ่อค้าในเมืองโอมิทั้งนั้น
 

การเริ่มต้นกิจการของพ่อค้าจากเมืองโอมิเหล่านี้ใช้ทฤษฏีของการซื้อมาขายไปในเบื้องต้น แล้วค่อยๆ ขยายกิจการไปเรื่อยๆ จนเริ่มเข้าสู่การสร้างบริษัทและผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตัวเอง หากจะพิจารณาเรื่องนี้พบว่าบริษัทในญี่ปุ่นที่มีอายุยาวนานพบว่าเกินครึ่งเป็นบริษัทที่พ่อค้าจากเมืองโอมิเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นทั้งนั้น
 
ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่าเหตุใดธุรกิจการค้าของพ่อค้าจากเมืองโอมินี้ถึงได้มั่นคงและทรงประสิทธิภาพ ซึ่งก็พอสรุปสิ่งที่เรียกว่าทฤษฏีแห่งความสำเร็จที่เปลี่ยนพ่อค้าให้กลายเป็นเศรษฐีนั้นมีกลยุทธ์แค่ 3 ประการแต่เป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุด

1.แนวทาง 3 ได้ 
 
กลยุทธ์นี้แบ่งได้เป็น 3 แนวทางใหญ่ๆที่สำคัญคือ คนขายได้  คนซื้อได้ และสังคมได้

คำกล่าวหนึ่งในแนวทางนี้คือ“อย่าเห็นแก่ประโยชน์ของผู้ขายอย่างเดียว ต้องหาทางให้ผู้ซื้อและสังคมได้ประโยชน์ด้วย” ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Nishikawa Sangyo ในอดีต เป็นกลุ่มพ่อค้าที่เดินทางขายมุ้งไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

จากนั้นเริ่มตั้งร้านค้าและโรงงานผลิตมุ้งของตนเอง จนเมื่อความต้องการมุ้งเริ่มลดลงบริษัทจึงหันมาผลิตและพัฒนาที่นอน จนปัจจุบันทำที่นอนคุณภาพดีเพื่อสุขภาพ และมีร้านให้คำปรึกษาด้านการนอนโดยเฉพาะ
 
หรือแม้แต่ Idemitsu Sazo ผู้ก่อตั้งบริษัท Idemitsu (บริษัทน้ำมันระดับโลก) มุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจจำหน่ายน้ำมัน Hita Jutaro นักลงทุนรายใหญ่ของญี่ปุ่นเห็นแววความตั้งใจของ Idemitsu ตั้งแต่ตอนที่ Idemitsu ยังเป็นเพียงแค่ครูสอนพิเศษลูกชายของตนเอง Hita จึงให้เงินสดมูลค่าเกือบ 20 ล้านบาทแก่ Idemitsu เพื่อนำไปลงทุน โดยเขากล่าวว่า “ผมไม่ได้สนใจในกิจการคุณ จงทำตามสิ่งที่คุณปรารถนา และไม่ต้องคืนเงินผม ขออย่างเดียว อย่าบอกเรื่องนี้กับใคร”
 
เพราะพื้นฐานพ่อค้าจากเมืองโอมินั้นมักจะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสังคมในลักษณะปิดทองหลังพระเพราะเขาเหล่านี้มีแนวคิดว่าการเสียสละ คิดถึงสังคมและคิดถึงคนอื่นจะทำให้ไม่หลงมัวเมาไปกับรายได้และไม่ทำให้เชื่อมั่นในตัวเองจนเกินไปจนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดทางธุรกิจ
 
2. กำไรน้อย ขายมาก

คำกล่าวในกลยุทธ์นี้คือ “จงขายสินค้าในราคาที่ไม่สูงเกินไป ราคาที่ดี คือ ราคาที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้าดีขนาดนี้ ทำไมราคาถึงไม่แพงเลย” สิ่งสำคัญคือการสร้างความไว้วางใจและสร้างความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่ยอดขายที่สูงขึ้นในระยะยาวทั้งนี้รวมถึงการไม่โก่งราคา ไม่กักตุนสินค้าอันเป็นการทำกำไรระยะสั้นแต่ทำลายความเชื่อมั่นของลูกค้าในระยะยาวได้
 
ยกตัวอย่างเช่น Ryugetsu ร้านขนมชื่อดังเก่าแก่ในฮอกไกโดพยายามใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุดในการผลิตขนมเค้ก แต่ทว่าเค้กของร้าน Ryugetsu กลับขายเพียงชิ้นละ 50-60 บาทเท่านั้น เพราะผู้ก่อตั้งเชื่อว่า ขนมเป็นสิ่งที่สร้างความสุขและความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนในครอบครัว จึงพยายามตั้งราคาไม่สูงเพื่อให้พ่อแม่สามารถซื้อเค้กแสนอร่อยไปให้ลูก ๆ ทานที่บ้านได้บ่อย ๆ นั่นเอง
 
3. ความถูกต้องมาก่อน กำไรมาทีหลัง

หลายคนอาจมองว่าทำธุรกิจต้องมีกำไรแต่เหล่านักธุรกิจจากเมืองโอมิกลับมองว่ากำไรไม่ใช่สิ่งสำคัญนักเพราะสิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือ “ความถูกต้อง” จะต้องทำสิ่งที่ไม่ผิดต่อศีลธรรมหรือจริยธรรม เช่น ไม่นำสินค้าที่ใกล้หมดอายุมาจำหน่าย ไม่โกหกเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้า หากทำได้ กำไรจะตามมา
 
ยกตัวอย่างจากเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา Morimura Ichizaemon ได้ก่อตั้งบริษัท Noritake โดยมุ่งผลิตเครื่องเซรามิคคุณภาพดี โดยเขากล่าวเสมอว่า บริษัทที่ดีต้องไม่โกหก Morimura จึงพยายามผลิตสินค้าให้ดีและประณีตยิ่งกว่าสินค้าตัวอย่างที่ส่งไปให้ลูกค้าและในช่วงปีใหม่ Morimura ถึงกับขอบริษัทคู่ค้าว่า จะไม่รับของขวัญใด ๆ

เนื่องจากเกรงว่า จะเกิดความรู้สึกเกรงอกเกรงใจกันทั้งสองฝ่าย ทำให้ไม่กล้าพูดตักเตือนกันตรง ๆ หากวันใด สินค้าที่ตนผลิตไม่ได้มาตรฐานหรือมีตำหนิ ทั้งสองฝ่ายอาจจะประนีประนอมกัน ไม่กล้าตักเตือนกัน และเผลอปล่อยสินค้าเหล่านั้นไปถึงมือลูกค้าได้และด้วยเหตุนี้ปัจจุบัน Noritake จึงกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์เซรามิคพรีเมี่ยมที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
 
หลักการทั้ง 3 ข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่นักธุรกิจพ่อค้าแม่ค้าเมืองไทยควรจะเรียนรู้ไว้เป็นกรณีศึกษา เหตุใดญี่ปุ่นจึงได้ชื่อว่ามีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเหตุใดสินค้าญี่ปุ่นจึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทุกอย่างรวมอยู่ในกลยุทธ์เหล่านี้ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่เรื่องยากสำคัญเพียงว่าเราทุกคนจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดแค่ไหนเท่านั้น
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด