บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
3.3K
2 นาที
20 ตุลาคม 2559
การตลาดแบบฟิวก์ชั่น เพื่อเพิ่มกำไรให้การธุรกิจ

 
การทำธุรกิจย่อมต้องมุ่งหวังสิ่งที่ดีที่สุดในการลงทุนของตัวเองแต่ทว่าเมื่อเราไม่อาจอยู่คนเดียวในสังคมได้ฉันใด ธุรกิจก็ไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยว

โดยไม่เหลียวแลธุรกิจอื่นได้ฉันนั้น บางครั้งการจับมือกันสร้างพันธะทางการค้าอาจจะดีกว่าการก้าวเดินเพียงคนเดียว ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายเหมือนในการ์ตูนที่ตัวเอกต่างคนต่างเก่งแต่เมื่อ “ฟิวก์ชั่น” ก็ทำให้พลังเพิ่มขึ้นอีกมหาศาลเลยทีเดียว
www.ThaiFranchiseCenter.com มีรูปแบบของธุรกิจที่ “ฟิวก์ชั่น” หรือศัพท์เป็นทางการในแวดวงธุรกิจจะเรียกว่า การสมรสแบรนด์ (BRANDED BRANDS) และนี่ไม่ใช่ความคิดที่แปลกใหม่ที่สำคัญเขาทำกันมานานตั้งแต่สินค้าบนฟ้าอย่างเครื่องบินลงมาถึงพื้นล่างได้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคที่เราคุ้นเคยกันอยู่หลายแบรนด์นั่นเอง
 
1.สายการบิน American Airlines เลือกเสิร์ฟพิซซ่ายี่ห้อ Pizzeria Uno ให้กับผู้โดยสาร ส่วน United Airlines เลือกเสิร์ฟกาแฟ Starbucks ขนมคุ้กกี้จาก Mrs. Fields หรือแม้แต่ ‘Friendly Skies Meal' ของ McDonald's พร้อมของเล่นยอดนิยมที่แถมมาในกล่อง บริการเหล่านี้เรียกว่าได้ประโยชน์ร่วมกันสินค้าขายได้ ลูกค้าบนเครื่องก็ประทับใจเรียกว่ามีกำไรกันทั้งผู้ให้และผู้รับเลยทีเดียว
 
2.ลงมาที่ภาคพื้นดินบ้าง กับการเข้าพักที่โรงแรม Westin เราจะได้พบผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากแบรนด์ชั้นนำอย่าง Avedaในขณะที่โรงแรม Le Meridien เพิ่มความน่าประทับใจด้วยผลิตภัณฑ์สบู่และเครื่องหอมสุดหรูจาก Hermes การได้เป็นสินค้าของโรงแรมระดับพรีเมี่ยมจึงเป็นการยกฐานะสินค้าให้ดูน่าสนใจ

หรือ กลุ่มโรงแรม Marriott's และ Bulgari แบรนด์สินค้าและอัญมณีสุดหรูจากอิตาลีจับมือกันเปิดโรงแรม "Bulgari" โดยเริ่มต้นที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี และตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดดำเนินการให้ครบเจ็ดแห่งทั่วโลกภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี
 
3.ในกลุ่มรถยนต์ก็ใช้เทคนิค "BRANDED BRANDS" ได้เช่นกัน อย่าง Lexus ชูระบบเครื่องเสียงของ Mark Levinson เป็นจุดขายอย่างเต็มภาคภูมิ หรือ Aston Martin และ Linn สุดยอดเครื่องเสียงรถยนต์จากสก็อตแลนด์ได้จับมือกัน ‘สร้างมาตรฐานใหม่' ให้กับรถ Aston Martin รุ่น Vanguish ทุกคันด้วยระบบเครื่องเสียง 12 ลำโพง ราคา 6,500 ปอนด์ของ Linn
 
4.แม้กระทั่งกลุ่มสินค้าที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันก็ยังมาทำ “BRANDED BRANDS" ร่วมกันได้ อย่างรถยนต์ยี่ห้อ Bentley กับ Breitling (แบรนด์นาฬิกาข้อมือ) ร่วมมือกันสร้างสรรค์นาฬิกาบนแผงหน้าปัดให้กับรถ Bentley Continental GT

โดยนาฬิกา Breitling ถูกจับวางให้เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกึ่งกลางแผงหน้าปัดของรถ นับเป็นครั้งแรกที่บริษัทนาฬิกาข้อมือได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบภายในให้ Bentley
 
หรือ Puma กับ Mini ที่ทาง PUMA กระโดดเข้ามาออกแบบรถ Mini และตั้งชื่อร่วมกันว่า 'PUMA Mini Cooper S'โดยนำเทคโนโลยีรองเท้า Air Mesh ของ PUMA มาใช้กับเบาะที่นั่งรถยนต์ เพื่อ 'อัดฉีด' ความนุ่มสบายและการดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น 
 
5.และที่เห็นจะเน้นเทคนิคนี้มากเป็นพิเศษก็คือ Philips ที่เข้าไปใช้เทคนิค BRANDED BRANDS ร่วมกับสินค้ากลุ่มต่างๆมากมายตั้งแต่ จับมือกับ Unilever พัฒนาสินค้าเป็นเตารีดรุ่น Perfective ,

การจับมือกับ Nike เพื่อพัฒนาเครื่องเสียงรุ่นพกพา psaplay ที่ออกแบบโดย Nike แต่ผลิตโดย Philips  รวมถึงการจับมือกับ IKEA ที่นำสินค้าจริงๆของ Philips มาวางในห้องโชว์รูม เพื่อความสมจริงสมจังและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
 
6.สุดท้ายคือผลิตภัณฑ์อย่าง Sony ที่ใช้เทคนิค BRANDED BRANDS ร่วมกับ Tokyo Tower โดย Sony ออกแบบอพาร์ทเมนท์หกแห่งให้กับ Tokyo Times Tower ซึ่งเป็นอาคารใหม่ในกรุงโตเกียว อพาร์ทเมนท์ ขนาด 60 ตารางเมตรที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังเรื่อง Star Trek นี้ มาพร้อมกับเทคโนโลยีล้ำยุคในด้านระบบความบันเทิง ระบบเครือข่าย และระบบการควบคุมเครื่องใช้ในบ้านได้แบบอัตโนมัติด้วย  
 
เทคนิคการสมรสแบรนด์หรือ BRANDED BRANDS นี้คือการเพิ่มสีสันทางธุรกิจที่แท้จริง ซึ่งในอนาคตก็เป็นที่แน่นอนว่าเทคนิคนี้จะยิ่งมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นแต่ละแบรนด์จะงัดเอาจุดเด่นมาใช้ร่วมกับแบรนด์อื่นมากขึ้น

ทั้งนี้เพื่อผลทางการตลาดล้วนๆที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นว่าสินค้ามีความแปลกใหม่และน่าดึงดูดใจชวนให้ซื้อสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นด้วย
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด