บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    การพัฒนาและการออกแบบ
3.3K
2 นาที
23 มีนาคม 2560
6 เหตุผลชี้ชัดที่ Startup เมืองไทยนิยมไปตั้งฐานในสิงคโปร์

ภาพจาก goo.gl/cLWsGb

การทำธุรกิจบางครั้งก็ต้องมีการพลิกแพลงและหาช่องทางที่จะส่งเสริมให้เติบโตได้ได้มากขึ้น เราไม่พูดถึงวิธีคิด วิธีทำการตลาด แต่ในปัจจัยสนับสนุนรอบด้านทั้งเรื่องภาษี การสนับสนุนจากภาครัฐ การส่งเสริมในเทคโนโลยีต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างเต็มตัวมากขึ้น
 
และหนึ่งในวิถีการทำธุรกิจที่แวดวงคนลงทุนรู้กันดีนั้นคือการตั้งบริษัทในประเทศสิงคโปร์เอาไว้เป็นฐานในการเติบโตเพื่ออนาคตคำถามที่ตามมาก็คือทำไมจะต้องเป็นสิงคโปร์ เรื่องนี้ก็ต้องยกข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หรือ SGX มานำเสนอให้ทราบโดยกว่า 40% ของหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ใน ไม่มีฐานธุรกิจอยู่ในสิงคโปร์เลยด้วยซ้ำ

แต่เป็นบริษัทระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ที่เลือกจะเข้ามาระดมทุนที่สิงคโปร์ ธุรกิจในอาเซียนก็เข้ามาจดทะเบียนที่นี้มากพอสมควร แม้แต่ เมียนมา, ลาว, เวียดนาม ส่วนบริษัทสัญชาติไทยก็เข้ามาจดทะเบียนถึง 13 บริษัท

www.ThaiFranchiseCenter.com จึงมองว่าช่องทางนี้อาจเป็นทางลัดสำคัญสำหรับเหล่า Startup ที่จะใช้ประโยชน์นานาประการจากการสนับสนุนของสิงคโปร์ในการเติบโตซึ่งปัจจัยสำคัญก็มีด้วยกัน 6 ประการคือ
 
1.บุคลากรพร้อม เหมาะสำหรับบริษัทเทคโนโลยี

ภาพจาก goo.gl/9vfcN8
 
สิ่งที่ทำให้สิงคโปร์เป็นเป้าหมายอันดับแรกๆ ของนักลงทุนทั่วโลก นอกเหนือการเปิดเสรีด้านการเงินและความง่ายในการดำเนินธุรกิจ ก็คือการมุ่งเน้นพัฒนาในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรในด้านไอซีที โดยสิงคโปร์ใช้ศัพท์ว่า Infocomm นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่บริษัทด้านเทคโนโลยีหรือ Startup อยากจะเข้ามาตั้งฐานธุรกิจที่นี้

แม้แต่ Startup จากประเทศไทยก็ไปจดทะเบียนบริษัทที่สิงคโปร์ไม่น้อยเช่นกัน โดยข้อมูลจาก SGX ระบุว่า สิงคโปร์มีบุคลากรมืออาชีพทางด้าน Infocomm กว่า 146,000 คน ติดอันดับสามประเทศที่เป็นได้รับความสนใจจากบุคลากรทางด้านไอซีทีมืออาชีพที่จะเข้ามาทำงานมากที่สุด

รวมถึงได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการนำนวัตรกรรมมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจมากที่สุดและมีการประเมินด้วยว่า มูลค่าตลาดเทคโนโลยีในการพัฒนา Smart City ในภูมิภาคเอเชียจะแตะระดับ 100,000 ล้านเหรียญภายในปี 2025
 
2.รัฐบาลสิงคโปร์ สนับสนุนเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจากไหน

ภาพจาก goo.gl/UoJiVP

ภาครัฐสิงคโปร์ได้เข้ามาสนับสนุนการสร้างบุคลากรทางด้าน Infocomm กว่า 80,000 ตำแหน่ง มีการใช้เงินลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์กว่า 335 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือ 8,400 ล้านบาท ปัจจุบัน SGX มีบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาจดทะเบียนทั้งหมด 78 บริษัท ใหญ่ที่สุดก็คือสิงคโปร์เทเลคอมหรือ Singtel 
 
3.มีแผนการสร้างธุรกิจ Startup แบบชัดเจน

ภาพจาก goo.gl/JNNsGh

รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้การสนับสนุนเงินทุน (Funding) กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพกว่า 144 ราย ในรอบเจ็ดปีที่ผ่านมาด้วยเม็ดเงิน 41.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์หรือราวๆ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้หน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการเงินหรือ MAS ยังให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนให้สิงคโปร์เป็น Smart Financial Centre ของโลก ด้วยเงินลงทุน 225 ล้านเหรียญสิงคโปร์
 
4.ความได้เปรียบจากจุดที่ตั้งห่างจากประเทศจีนมากกว่าฮ่องกง

ภาพจาก goo.gl/UoJiVP

สิงคโปร์ ยังถูกจัดอันดับโดย เอิร์นส์แอนด์ยัง ว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุนด้านฟินเทคอันดับ 4 ของโลกและอันดับหนึ่งในเอเชีย ขณะที่ฮ่องกงยังอยู่ที่ระดับ 7 โดยสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี การสนับสนุนจากรัฐบาล สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ การใช้ภาษาอังกฤษ ฯลฯ ส่วนหนึ่งที่สิงคโปร์ได้เปรียบฮ่องกงเพราะฮ่องกงนั่นอยู่ใกล้กับประเทศจีนมากเกินไปซึ่งมีผู้เล่นรายใหญ่อย่างอาลีบาบาอยู่ ทำให้ผู้ประกอบการ Startup ยังกล้าๆ กลัวๆ ในการเปิดตลาด

5.เปิดช่องทางให้โกอินเตอร์ได้ง่ายขึ้น

จากประสบการณ์ของนักธุรกิจที่เปิดบริษัทที่สิงคโปร์ต่างพูดกันว่าสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างง่าย แม้จะมีกฎระเบียบต่างๆ อย่างเช่น สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ ที่ต้องมีชาวสิงคโปร์ร่วมหุ้นด้วย แต่จริงแล้วก็ยังมีช่องทางให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% เช่นกัน เพียงแค่ระบุวัตถุประสงค์การจัดตั้งไปว่าเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีหรืออยู่ในธุรกิจที่รัฐบาลสนับสนุนหรือก็คือ Startup นั่นเอง
 
6.โดดเด่นด้วยทีมงานที่ปรึกษาแบบมืออาชีพ

ภาพจาก goo.gl/IT1yfv

คนที่อยากทำธุรกิจในสิงคโปร์แนะนำว่าให้จ้างบริษัทที่ปรึกษาจะได้ผลดีกว่าการคลำทางไปเองทั้งนี้  ยังมีบริการที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจครบวงจร เช่น จัดหาบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสายอาชีพที่เฉพาะทาง เช่น นักกฎหมาย ผู้จัดการกองทุน โปรแกรมเมอร์ ฯลฯ

เรียกได้ว่าสิงคโปร์มีบุคลากรที่เพียบพร้อมในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับนักลงทุนต่างชาติ หรือจะช่วยหา Angle Investor หรือ VC ให้ก็ยังได้ ขณะที่ประเทศไทยยังประสบปัญหาเรื่องของบุคลากรทางด้านไอทีที่ไม่เพียงพอ
 
ด้วยเหตุนี้เมื่อประมวลความคิดและสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว Startup  ที่อยากจะ “โกอินเตอร์” แบบจริงๆ จังๆ จึงมักไปเปิดบริษัทไว้ในประเทศสิงคโปร์ซึ่งถือว่าใช้ต้นทุนไม่สูงมากแต่มีปัจจัยสนับสนุนมากมาย

ซึ่งหลังจากเปิดบริษัททิ้งไว้ก็สามารถเข้ามาเน้นทำการตลาดในเมืองไทยได้เหมือนเดิม ซึ่งก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเล็กน้อยคือการรักษาบัญชีธนาคาร และเมื่อต้องการจะเปิดตลาดต่างประเทศเต็มตัวก็ค่อยใช้บริษัทที่เปิดไว้ในสิงคโปร์เป็นตัวเดินหน้าจะสร้างให้วิถีทางธุรกิจเติบโตได้ในช่องทางลัดที่ว่านี้
 
ทั้งนี้เพื่อเป็นการตามติดสถานการณ์ในแวดวงการลงทุนหรือข้อมูลอัพเดทต่างๆในแวดวงการทำธุรกิจSMEs เรามีบทความทางธุรกิจนำเสนออย่างต่อเนื่อง สามารถติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลา

ดูรายละเอียด goo.gl/y9UNkT
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด