บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
3.3K
2 นาที
28 มีนาคม 2560
3 เหตุผล Kitkat ช็อคโกแลตยุโรป ตีตลาดญี่ปุ่นได้สำเร็จ

 
กระแสขนมหวานของประเทศญี่ปุ่นถือว่าน่าสนใจมากวัดจากความรู้สึกของคนไทยเป็นหลักอะไรก็ตามที่บอกว่ามาจากญี่ปุ่นมักจะได้รับความนิยมอย่างเห็นได้ชัด แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าขนมอย่าง Kitkat ที่มีวางขายในประเทศไทยและพวกเราเองก็นิยมกันมากแท้ที่จริงแล้ว Kitkat ไม่ใช่สินค้าของญี่ปุ่นโดยกำเนิดแต่เป็นช็อคโกแลตที่มาจากยุโรปและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 1973 
 
แต่ก็ปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่าเมื่อ Kitkat มาถึงตลาดญี่ปุ่นก็ทำให้เกิดการตลาดที่กว้างยิ่งขึ้นจนเรารู้จัก  Kitkat  นี้กันเป็นอย่างดีแม้แต่ในญี่ปุ่นเอง Kitkat ก็ประสบความสำเร็จชนิดที่เรียกว่าท่วมท้น

แน่นอนว่าวิธีคิด แนวทางการตลาด และวิธีบริหารจัดการเพื่อได้มาซึ่งผู้นำการตลาดนี้เป็นเรื่องน่าสนใจมาก www.ThaiFranchiseCenter.com จึงได้นำเสนอการตลาดสไตล์ Kitkat ที่ใช้ได้ผลดีเยี่ยมกับการตลาดในญี่ปุ่นมาเป็นบทวิเคราะห์ให้คนทำธุรกิจได้ศึกษาและนำมาพัฒนาเป็นการตลาดของตัวเองได้
 
ในประเทศญี่ปุ่นเราสามารถหาซื้อ Kitkat ได้ตามซุเปอร์มาเก็ตหรือร้านดิสเคาน์สโตร์ เช่น ดองกิโฮเต้ (Don Quijote) ซึ่ง KitKat ในญี่ปุ่น ที่มีทั้งรสชาติ Mainstream และรสชาติใหม่มาให้คนท้องถิ่น และคนต่างชาติลิ้มลองความแปลกใหม่อยู่เสมอ

กระทั่งทุกวันนี้ “KitKat” ในญี่ปุ่น มีมากกว่า 300 รสชาติ และอาจกล่าวได้ว่าคงไม่มีประเทศไหนในโลกที่ช็อคโกแลต แบรนด์นี้ ซึ่งมีต้นกำเนิดในอังกฤษ (ปี 1930s) ก่อนจะถูกซื้อโดย “Nestlé” ในช่วง 1980 ซึ่งกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ
 
1.ชื่อของแบรนด์มีความเป็นมงคลในภาษาญี่ปุ่น


ภาพจาก goo.gl/BZLEhz 

“KitKat” เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นเมื่อปี 1973 และตั้งโรงงานผลิตที่ Kasumigaura แต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ช็อคโกแลตแบรนด์นี้ ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว จะเรียกว่าเป็นเหตุบังเอิญที่ถือเป็นความโชคดีของแบรนด์ก็คงไม่ผิดนัก โดย “Nestlé” สังเกตพบว่ายอดขายเพิ่มขึ้นมาก มาจากผู้บริโภคญี่ปุ่นซื้อ “KitKat” เป็นของขวัญให้กับนักเรียนที่จะเข้าสอบมหาวิทยาลัย และช่วงสอบที่โรงเรียน

เนื่องจาก “KitKat” พ้องเสียงกับคำในภาษาญี่ปุ่นว่า “Kitto Katsu” หมายถึง “ชนะอย่างแน่นอน”  จากเหตุนั้นเอง ทำให้ชื่อเสียงของ “KitKat” ถูกพูดถึงกันปากต่อปาก ทั้งพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รวมถึงเพื่อนต่างซื้อ “KitKat” มอบให้กับคนที่กำลังสอบ เพื่อเป็นของขวัญโชคดีที่สร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ได้รับ   
 
ต่อมา “Nestlé” มองเห็นโอกาสทางการตลาดดังกล่าว ในปี 2009 จึงได้จับมือกับไปรษณีย์ญี่ปุ่น เปิดตัวแพคเกจจิ้งกล่องใหญ่ “KitKat Kit Mail” ภายในบรรจุช็อคโกแลตบาร์ พร้อมด้วยพื้นที่ว่างสำหรับให้เขียนข้อความอวยพรลงไป และจัดส่งผ่านไปรษณีย์   ด้วยชื่อแบรนด์ที่พ้องกับคำในญี่ปุ่นที่มีความหมายดีๆ กลายมาเป็นการเชื่อมโยงที่ผูกพันกับอารมณ์ (Emotional Bonding) กับผู้บริโภค ด้วยการมอบเป็นของขวัญให้แก่กัน

2.กลยุทธ์ Localize ใช้วัตถุดิบของแต่ละภูมิภาคในการผลิต
 

ภาพจาก goo.gl/BZLEhz 

จุดเริ่มต้นที่ “KitKat” สร้างสรรค์รสชาติให้มีความหลากหลายประมาณช่วงปี 2000 ที่นอกจากมีรสชาติ Mainstream แล้ว ยังได้ใช้ กลยุทธ์ Localization ด้วยการใช้วัตถุดิบเฉพาะของแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น นำมาผลิตเป็นรสชาติใหม่ พัฒนาให้กลายเป็นของฝากประจำจังหวัด หรือภูมิภาคนั้นๆ เช่น รสมันม่วงจากโอกินาว่า, รสวาซาบิจากชิสุโอกะ, รสชาเขียวจากเกียวโต เหตุผลที่ “Nestlé” เปิดกว้างให้แบรนด์ “KitKat” ในญี่ปุ่น สามารถทำ Localize รสชาติได้

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดขนมหวาน ประเภทลูกอม ช็อคโกแลต หมากฝรั่งในญี่ปุ่นเป็นตลาดที่มีความหลากหลายมาก โดยประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีสินค้าประเภท Confectionary ออกใหม่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นมีทางเลือกมากมาย และต้องการสินค้าที่มีความแปลกใหม่ นั่นทำให้ทุกวันนี้ “KitKat” ในญี่ปุ่นมีไม่ต่ำกว่า 300 รสชาติ โดยมีทั้งที่เป็นรสชาติประจำ หาซื้อได้ตลอด และรสชาติ Limited Edition จำหน่ายเฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น
 
3.ต่อยอดความเป็นสุดยอดแบรนด์ด้วย “KitKat Chocolatory” 

ภาพจาก goo.gl/BZLEhz

ในปี 2014 “KitKat” ในญี่ปุ่นได้สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้บริโภค ด้วยการเปิดร้าน “KitKat Chocolatory” สาขาแรกที่ Seibu Department Store ในโตเกียว ภายในมีทั้งจัดจำหน่าย KitKat ทั้งแบบพรีเมียม และรสชาติใหม่ๆ

รวมทั้งมีมุมจัดแสดงประวัติของแบรนด์ เพื่อให้ผู้คนที่มาเยือนร้านได้รับรู้ความเป็นมาของช็อคโกแลตแบรนด์นี้ ถึงปัจจุบัน “KitKat Chocolatory” มีสาขาในญี่ปุ่น 8 สาขา อยู่ตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ได้แก่ Daimaru Tokyo, Seibu Ikebukuro, Matsuzakaya Nagoya, Daimaru Kyoto, Daimaru Sapporo, Daimaru Umeda, Daimaru Tenjin และ Takashimaya Shinjuku Store

ทั้งนี้ ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ทั้ง KitKat พรีเมียม และรสชาติแปลกใหม่ต่างๆ ในญี่ปุ่น “Yasumasa Takagi” เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านขนมชื่อดังชาวญี่ปุ่น ที่ “Nestlé” ได้ติดต่อ Takagi เพื่อให้มาร่วมงานด้วยกัน โดยรสชาติแรกที่เขาบรรจงสร้างสรรค์ขึ้น คือ passion-fruit KitKat ในปี 2005
 
จะเห็นได้ว่าความละเอียดในการทำตลาดนั้นมีการแยกส่วนต่างๆอย่างชัดเจนและดำเนินกลยุทธ์โดยใส่ใจรายละเอียดแม้กระทั่งปลีกย่อยจึงทำให้สินค้าอย่าง Kitkat กลายเป็นของขวัญ ของฝาก ที่แม้ตัวสินค้าจะไม่ได้โดดเด่นมากนักแต่มีเรื่องราวของสินค้าที่มาทำให้ตัวสินค้าดูโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าจากตลาดญี่ปุ่นซึ่งธุรกิจในประเทศไทยควรจะศึกษาและพัฒนารูปแบบในลักษณะดังกล่าวบ้าง
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/BZLEhz
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด