บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ไอเดียธุรกิจ
7.2K
3 นาที
4 สิงหาคม 2560
6 แบบบรรจุภัณฑ์ ดีไซน์ดีก็มีคนอยากซื้อ!
 

 
ภาพจาก goo.gl/n8AvYz

การผลิตสินค้าในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เรื่องคุณประโยชน์ของตัวสินค้าก็คือรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเหมือนหน้าตาด้านแรกระหว่างสินค้ากับผู้บริโภค หลายครั้งที่เราเห็นว่าแพคเกจที่ดีสามารถทำให้คนสนใจและหยิบเอาสินค้านั้นๆขึ้นมาพิจารณาอันเป็นก้าวแรกสู่การตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อในภายหลัง

ซึ่งในโลกที่พัฒนาแล้วแพคเกจจึงไม่ใช่แค่เปลือกนอกของผลิตภัณฑ์ที่จะทำแบบไหนอย่างไรก็ได้ www.ThaiFranchiseCenter.com  มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่คนในยุคนี้ต้องใส่ใจซึ่งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีก็หมายถึงการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มากขึ้นด้วย
 
1.บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) 

 
ภาพจาก goo.gl/5s9qTN

Universal Design Packaging หรือการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อคนทุกคน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา คนที่มีปัญหาสายตา ปัญหาสุขภาพ ไล่ไปจนผู้พิการ ฯลฯ ก็สามารถใช้บรรจุภัณฑ์นั้นได้อย่าง สะดวก ปลอดภัย ไม่ติดขัด UD  เป็น 1 ใน 7 เทรนด์หลักของโลกด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และกำลังเป็นเทรนด์ที่ถูกพูดถึงไปทั่วโลก

โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น สังเกตได้ว่า สินค้าทุกตัว บรรจุภัณฑ์ทุกชิ้น ล้วนต้องมี UD เข้าไปเป็นส่วนประกอบการออกแบบจะเน้นหลัก 9 ข้อ คือ เข้าใจได้ง่าย รับรู้ง่าย ถือง่าย ใช้แรงน้อยในการเปิด หยิบง่าย เก็บง่าย ศึกษาสมบัติง่าย ทิ้งง่าย และมีความปลอดภัยในการใช้งาน สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ในวัยทำงานนั้น ชีวิตอยู่กับความเร่งรีบก็จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เป็นแบบที่พกพาได้สะดวกมีน้ำหนักเบา เดินไปรับประทานไปได้ (on-the-go package) 
 
ตัวอย่างสำคัญคือกล่องบรรจุภัณฑ์น้ำหอม HARNN ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการห่อของขวัญแทนคำขอบคุณของชาวญี่ปุ่น ที่เรียก นานาเมะ สัตสุมิ โดยใช้กระดาษแผ่นเดียวไม่ต้องใช้การตัดกระดาษให้เหลือเศษ อาศัยการพับซ้อนทบกันของกระดาษหลายๆ ชั้น ด้วยการขึ้นรูปด้วยมือ จนเกิดเป็นรูปกล่องที่สวยงามและแข็งแรง ผลงานที่ได้รับรางวัล Demark ปีล่าสุด และเมื่อคลี่ออกมา ลูกค้าจะสามารถพับกลับไปได้โดยง่าย ฉะนั้นไม่ว่าจะคนตาบอด ผู้สูงอายุ หรือใครก็ตาม ก็สามารถเข้าใจและใช้งานได้ง่าย เลยเป็นโปรดักส์ที่ใช้ได้กับทุกคน
 
2.บรรจุภัณฑ์ฉลาด (Intelligent packaging) 

 
ภาพจาก goo.gl/97XCQf

เช่น การนำฉลาก RFID มาใช้เพื่อให้สามารถป้อนข้อมูลตั้งแต่ที่มาต่างๆของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต แหล่งที่ผลิต วันเดือนปี อายุการเก็บรักษา หรือข้อมูลโภชนาอื่นๆ การนำฉลากที่สามารถบอกถึงความสดของอาหารที่บรรจุอยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ ฉลากเปลี่ยนสี ที่จะมีการตรวจสอบแบบตลอดเวลา (Real-time indicator sensor)

ถ้าหากอาหารเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเช่น มีการปล่อยก๊าซที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของเชื้อโรคภายในอาหารนั้น ฉลากก็จะมีการเปลี่ยนสีไปจากเดิม เช่น จากสีเหลืองไปเป็นสีน้ำเงิน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าอาหารที่ซื้อไปมีความปลอดภัยที่จะนำไปบริโภคได้

3.บรรจุภัณฑ์แอคทีฟ (Active Packaging) 
 
 
ภาพจาก goo.gl/GSwuWT

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการใส่วัสดุที่จะสามารถลดจำนวนหรือต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือใส่สารดูดความชื้นหรือดูดก๊าซชนิดต่างๆ ที่ส่งผลให้ผลไม้หรืออาหารเน่าเสียได้เร็วขึ้น เป็นต้น

ซึ่งถ้าหากว่ามีตัวช่วยเหล่านี้อยู่ในบรรจุภัณฑ์นั้นๆก็จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าอาหารนั้น ปลอดภัยมีอายุการเก็บที่นานโดยที่ไม่มีเชื้อแบคทีเรียมาทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หรือ คุณภาพของอาหารไม่ด้อยลงไปจากเดิม
 
4.บรรจุภัณฑ์สมาร์ท (Smart Packaging) 

 
ภาพจาก goo.gl/DKHA4h

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุที่มีความสามารถในการควบคุมสมบัติของวัสดุนั้นๆ ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมสภาพไปเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมหรือจากการใช้งาน ตัวอย่างเช่น self-healing polymer materials เป็นวัสดุที่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังจากที่ถูกทำให้เสียรูปไป

โดยจะมีสารที่จะเป็นตัวช่วยรักษา (healing agent) ที่จะทำให้วัสดุสามารถกลับคือสู่สภาพเดิมได้ ก็จะทำให้บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถทำหน้าที่ในการปกป้องสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายหรือปนเปื้อนจากเชื้อโรคภายนอกได้

นอกไปจากนั้นยังมี self-cleaning polymer materials เป็นวัสดุสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ โดยการทำให้ผิวหน้าของวัสดุนั้นไม่รับน้ำหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ไม่ให้ติดอยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุนั้นๆ  
5.บรรจุภัณฑ์ที่รักษ์โลกหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly packaging)

 
ภาพจาก goo.gl/mE88i4

แนวโน้มของบรรจุภัณฑ์ในอนาคตจะต้องเลือกใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะพยายามเลือกใช้วัสดุให้บางลงหรือมีน้ำหนักน้อยลงแต่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้มีสมบัติในการเก็บรักษาดีเท่าเดิม หรือไม่ก็จะใช้วัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นชาติผู้นำในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย สวยงาม และให้ความสำคัญกับ Green Concept เป็นอย่างมาก

ขณะเดียวกันหลายๆ ประเทศแถบยุโรป ได้แก่ ประเทศอิตาลี เดนมาร์ก นอร์เวย์ และเยอรมนี ได้มีการนำตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับขยะผลิตภัณฑ์มาใช้ ซึ่งตราพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อกำหนดที่ว่าด้วยการห้ามฝังกลบ หรือกำจัดโฟมพลาสติกด้วยการเผาระบุไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีมาตรการและกฎหมายต่างๆ ที่ออกมาบังคับใช้บรรจุภัณฑ์ยุคใหม่จึงต้องตอบโจทย์สำคัญในการมีส่วนช่วยลดผลกระทบในด้านต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร และเพื่อให้บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปได้
 
6.บรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจผู้บริโภค (Personalized packaging)
 
 
ภาพจาก goo.gl/yyxSYc

เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นไม่ซ้ำแบบใคร หรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นส่วนตัว เช่น การพิมพ์ชื่อของตัวเองหรือบุคคลที่เราต้องการระบุชื่อลงบนเครื่องดื่มโค้กกระป๋อง ซองมันฝรั่งเลย์ ที่มีแคมเปญให้สามารถออกแบบซองด้วยตัวเอง การผลิตบรรจุภัณฑ์แบบนี้ถึงแม้จะไม่ได้เป็นการผลิตในระยะยาวแต่สามารถใช้เป็นตัวกระตุ้นยอดขายได้ในโอกาสต่างๆ ได้
 
ตัวอย่างเช่นบรรจุภัณฑ์ซอสถั่วเหลือง ของไต้หวัน ออกแบบโดย Han-Ching Huang เป็นการพลิกภาพลักษณ์ซอสถั่วเหลืองแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ในครัวเรือนต่างๆ ด้วยการสร้างสรรค์แพคเกจจิ้งใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยว หรือคนท้องถิ่นซื้อเป็นของขวัญ ของฝาก หรือขวดนมกล้วย ที่ออกแบบโดย Dongwook Yoon ภายนอกห่อหุ้มขวดด้วยพลาสติกเหมือนกับเปลือกกล้วย ก่อนจะดื่มให้แกะพลาสติกออก ทำให้ผู้ดื่มได้ความรู้สึกเสมือนการปอกเปลือกกล้วย เพื่อสื่อถึงความสดใหม่และรสชาติ ราวกับกินกล้วยจริง
 
นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์หลักๆที่ได้กล่าวมาแล้วแนวโน้มของบรรจุภัณฑ์อาหารที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยมากขึ้นคือ ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะใช้แนวคิดเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุดโดยนำหลักการของธรรมชาติมาประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์และพยายามลดการใช้สารเคมีในการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
795
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด