บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การลงทุน
5.9K
2 นาที
3 กรกฎาคม 2560
4 ข้อดีของการกู้สินเชื่อมาเริ่มต้นธุรกิจ

 
ยุคนี้หลายคนมองหาโอกาสการลงทุนให้กับตัวเองมากขึ้น คนที่ทำงานประจำต่างก็หวังว่าธุรกิจเล็กๆที่เริ่มทำในวันนี้จะค่อยเติบโตขึ้นและรองรับในยามที่ไม่มีงานทำในอนาคตได้ ก็ถือเป็นการวางแผนที่ดีในอีกรูปแบบหนึ่งแต่ทั้งนี้การลงทุนก็ต้องสัมพันธ์กับเรื่องของเงินทุน หลายคนทำงานมานานแสนนานมีเงินที่เก็บไว้ก้อนหนึ่ง

การวางแผนใช้เงินก้อนนี้ก็ต้องชั่งใจให้ดีว่าควรนำไปลงทุนต่อหรือว่าเก็บไว้ ด้วยเหตุนี้ปัญหาระหว่างการเริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินทุนตัวเองดีกว่าหรือเราควรกู้สินเชื่อมาลงทุนดีกว่ากลายเป็นเรื่องที่ตอบยากแต่ในฐานะของนักวิเคราะห์ทางการเงินแล้วมองว่าการกู้สินเชื่อมาเริ่มต้นธุรกิจนั้นสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่า

www.ThaiFranchiseCenter.com จึงนำข้อดี 4 ประการของการกู้สินเชื่อเพื่อเริ่มต้นธุรกิจมาเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้ลงทุนรายใหม่ๆที่กำลังคิดไม่ตกเกี่ยวกับเรื่องนี้
 
ในความเป็นจริงแล้วสินเชื่อเพื่อธุรกิจนั้นมีอยู่ทุกธนาคารอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อประเภทนี้เฉลี่ย10-15% ต่อปี ถ้ามองว่าสูงก็คงจะใช่และก็คงเป็นความเสี่ยงที่หลายคนคิดว่าแล้วการลงทุนนั้นจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้หรือไม่ยิ่งในยุคนี้สมัยนี้ปัจจัยรอบด้านมีผลต่อการทำธุรกิจมาก สู้เอาเงินตัวเองมาลงทุนดีกว่านอกจากไม่ต้องเสี่ยงเป็นหนี้ยังให้เริ่มต้นธุรกิจได้อย่างสบายใจมากกว่า แต่ในทางกลับกันนักวิเคราะห์ทางการเงินยังมองเห็นข้อดีของการกู้สินเชื่อเพื่อเริ่มต้นการทำธุรกิจได้ถึง 4 ประการด้วยกัน

1.การกู้เงินเพื่อทำธุรกิจถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน


เพราะหากเรามีเงินส่วนตัวอยู่ แล้วเอามาทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว หากธุรกิจเกิดปัญหาก็อาจจะทำให้เราประสบปัญหาตามไปด้วยเพราะเรามีแหล่งรายได้จากการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว ดังนั้นแทนที่เราจะเอาเงินส่วนตัวเรามาลงทุนในธุรกิจทั้งหมด น่าจะแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนอย่างอื่น

เช่นกองทุน หรือหุ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกของรายได้ให้มากขึ้น และการมีวงเงินสินเชื่อไว้ ก็ยังช่วยให้อุ่นใจกรณีธุรกิจต้องการเงินหมุนเวียนชั่วคราว ก็สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ราบรื่นขึ้น

2.การกู้เงินยังช่วยให้เรามีโอกาสในการสร้างกำไรที่สูงกว่า 

เหมือนกับว่าเราได้เงินคนอื่นมาใช้ล่วงหน้า และเราไม่ต้องเอาเงินของเราไปจมอยู่กับธุรกิจ ซึ่งการมีสัดส่วนหนี้ที่เหมาะสม ก็จะทำให้ใช้เงินส่วนของเจ้าของน้อยลง ดังนั้นเมื่อเอากำไรที่ได้มา แม้จะเสียดอกเบี้ยเงินกู้บางส่วน แล้วมาเทียบกับส่วนที่เราลงทุนไป จะเห็นได้ว่าได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่นสมมติเราเอาเงิน 10 ล้านบาทไปลงทุน ได้กำไร 2 ล้านบาท ก็เท่ากับเราได้ผลตอบแทนที่ 20%

แต่หากเราเอาเงินของเราลงทุน 7 ล้านบาท อีก 3 ล้านบาทเรากู้ในอัตราดอกเบี้ย 10% แสดงว่ากำไรหักดอกเบี้ยแล้วจะเหลือ 1.7 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเอามาเทียบกับเงินลงทุน 7 ล้านบาท จะคิดเป็นผลตอบแทนได้ที่ 24% 
 
3.ค่าใช้จ่ายของดอกเบี้ยจ่ายสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 

 
ต้องไม่ลืมว่าในการทำธุรกิจย่อมก่อให้เกิดรายได้ และรายได้ที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดก็ต้องมีการเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ เราจะเห็นได้ว่าในบริษัทขนาดใหญ่มักนิยมการลดหย่อนภาษีในกรณีต่างๆ นั้นเพราะการลดหย่อนภาษีได้ก็เท่ากับเป็นการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายและทำให้ธุรกิจมีรายได้ที่มากขึ้นด้วย การกู้สินเชื่อก็เช่นกันเป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเรานั้นมีกำไรที่มากขึ้นเพิ่มโอกาสในการลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น อาจไม่ใช่ผลดีที่ชัดเจนนักแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เรามองข้ามไม่ได้ทีเดียว 
 
4.การมีสินเชื่อทำให้ธุรกิจดูมีเครดิตดี 
 
โดยปกติกว่าธนาคารจะปล่อยกู้ ย่อมมีการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เชื่อว่าธุรกิจสามารถมีกำไรเพียงพอมาชำระหนี้คืนได้ ดังนั้นการที่มีสัดส่วนของหนี้ที่เหมาะสมย่อมเป็นการแสดงว่าธุรกิจมีเครดิตที่น่าเชื่อถือระดับหนึ่ง
 
ทั้งนี้การกู้สินเชื่อธุรกิจอาจจะมีข้อดีอย่างที่กล่าวมาแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานว่ามีหนี้ในสัดส่วนที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เกิดความเสี่ยงว่าธุรกิจจะมีปัญหาในอนาคต ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้เป็นหนี้มากเกินไป เจ้าของธุรกิจควรควบคุมปริมาณหนี้ด้วยสัดส่วนอย่างน้อย 2 ตัว คือ ไม่ควรมีสัดส่วนของหนี้มากกว่าเงินทุนส่วนตัว และไม่ควรมีสัดส่วนของหนี้สินหมุนเวียนที่มากกว่าทรัพย์สินหมุนเวียนจำพวกเงินสด ลูกหนี้การค้า และตราสารการเงินระยะสั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการไม่มีเงินชำระหนี้ระยะสั้น
 
และการจะกล่าวถึงแต่ด้านดีของการกู้สินเชื่อก็อาจไม่มีน้ำหนักเทียบเคียงพอให้ตัดสินใจได้ลองมาดูในอีกมุมหนึ่งของข้อเสียในการขอสินเชื่อเพื่อเริ่มต้นการทำธุรกิจ

1.การขอกู้สินเชื่อนั้นอาจถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงินได้


 
ธรรมดาแล้วหากคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อไม่เข้าหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินจะถูกปฎิเสธจากสถาบันการ เงินและอาจจะทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินนั้นๆ โดยเฉพาะสินเชื่อประเภทบุคคลอย่างบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด ที่หลายคนมักจะผิดนัดชำระค่าบัตรเครดิต หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต พอต้องการจะสมัครบัตรเครดิตใหม่ ก็ไม่ผ่านการอนุมัติ เพราะมีประวัติในเครดิตบูโร

นอกเหนือจากเรื่องของหลักเกณฑ์แล้ว หลักทรัพย์ที่นำไปคํ้าประกันก็มีผล หากสถาบันการเงินตีราคาหลักทรัพย์และมองว่าราคาประเมิณไม่ครอบคลุมกับสินเชื่อที่ขอกู้ ก็จะปฎิเสธการ ขอสินเชื่อ ด้วยเช่นกัน

2.แต่ละสถาบันการเงินจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน 
 
ยกตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยกู้สินเชื่อบ้าน ของสถาบันการเงิน A จะไม่เท่ากับสถาบันการเงิน B และอัตราดอกเบี้ยค้างชำระที่ไม่เท่ากันของแต่ละสถาบันการเงิน ผู้ที่ต้อง การขอสินเชื่อ จึงต้องทำการตรวจสอบก่อนทำการขอสินเชื่อเพื่อให้แน่ใจได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่เรากู้นั้นเหมาะสมกับการทำธุรกิจมากที่สุด

3.มีค่าปรับอัตราสูงในกรณีที่ค้างชำระ 
 

 
เป็นข้อตกลงเบื้องต้นของแต่ละสถาบันการเงินในการทำสัญญาที่ระบุชัดเจนถึงการจ่ายเงินคืนไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันได้ การเสียค่าปรับเป็นอัตราที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดขึ้นมาเพื่อให้ผู้กู้ได้ตระหนักถึงรายจ่ายที่จะมากขึ้นหากผิดชำระหนี้ รวมถึงอาจอาจจะถูกฟ้องร้องหากค้างชำระล่าช้ากว่าที่สถาบันการเงินได้กำหนดไว้อีกด้วย
 
อย่างไรก็ตามทั้งข้อดีและข้อเสียที่ได้กล่าวมานี้ อยู่ที่ผู้ลงทุนควรตัดสินใจให้เหมาะสมหากคิดว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่ากับการกู้สินเชื่อหรือเพื่อเดินหน้ากิจการให้เกิดความมั่นคงสมบูรณ์แบบการกู้สินเชื่อก็ไม่ได้ความน่ากลัวนัก

แต่หากคิดว่าจะเริ่มต้นแบบธุรกิจเล็กๆ ทำไปเรื่อยๆ ใช้เงินตัวเองต่อยอดค่อยๆเติบโตไปทีละน้อยๆ แม้อาจต้องใช้เวลานานผู้ลงทุนก็ยอมรับได้ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะตัดสินใจใช้เงินทุนตัวเองที่มีอยู่ ไม่ว่าคิดจะเลือกหนทางไหนความเหมาะสมเท่านั้นที่ควรพิจารณาให้รอบคอบที่สุด
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณรูปภาพจาก  scbsme.scb.co.th
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด