บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
2.2K
2 นาที
25 กรกฎาคม 2560
เปลี่ยนแล้วรวย! ปรับลุคบรรจุภัณฑ์อย่างไร? ให้โดน


 
เชื่อว่าหลายคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ๆ มักจะถามตัวเองและคนรอบข้างอยู่บ่อยครั้งว่า ฉันจะขายอะไรดี ถ้าคำตอบของเรา คือ การขายสินค้าหรือทำธุรกิจที่มีคนทำอยู่มากในตลาด ไม่ว่าจะเป็น เปิดร้านขายกาแฟ เครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงอาหาร เมื่อเราเลือกที่จะทำธุรกิจหรือผลิตสินค้าที่มีคู่แข่งจำนวนมาก

คำถามต่อไปคือ จะทำอย่างไรที่จะให้สินค้าของเราแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน อันจะสร้างอัตลักษณ์ให้กับธุรกิจและสินค้าของเราได้ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอวิธีการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าให้โดนใจลูกค้า ปรับเปลี่ยนลุคบรรจุภัณฑ์สินค้าเดิมๆ ให้ถูกใจลูกค้า จากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้สินค้าได้อย่างดี 
 
ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์อย่างไร ให้โดนใจ 



กระบวนการออกแบบเพื่อตอบคำถามว่า ทำอย่างไรให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง จึงไม่ใช่การออกแบบหนึ่งชิ้นผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม พร้อมประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น แต่จะต้องสอดคล้องกับกรอบการทำงานตามวิสัยทัศน์ของแบรนด์ด้วย

เช่น ถ้าวิสัยทัศน์เน้นด้านงานออกแบบอย่างยั่งยืน กระบวนการทำงานจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทุกองศา ตั้งแต่การออกแบบสำนักงาน การลดปริมาณการใช้พลังงานระหว่างการผลิต บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 

3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาสินค้า 

1.สำรวจ (Exploration) 


 
โดยการเอาตัวออกไปข้างนอก เดินเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อถามสิ่งที่อยู่ในใจ สังเกตพฤติกรรมการบริโภคพร้อมดูไลฟ์สไตล์ของเขา เพื่อควานหาความต้องการลึกๆ ที่อยู่ในใจของผู้บริโภค ว่ามีอะไรบ้าง แต่ขอบอกก่อนเลยว่า มันไม่ง่าย บางครั้งเราต้องถามบ่อยๆ เจาะลึกเข้าไปข้างใน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาความต้องการที่แท้จริง
 
2. สร้างสรรค์ (Creation) 
 
หยุดพฤติกรรมคิดเอง ออกแบบเองได้ เราควรลงทุนจ้างนักออกแบบมากประสบการณ์ เพื่อแปลงข้อมูลผลวิเคราะห์จากการสำรวจสู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค 
 
3. ทดสอบ (Implementation) 



ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์วางขาย เราควรทดสอบต้นแบบกับผู้บริโภคก่อน ชิ้นงานไหนที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ก็มีความจำเป็นต้องนำไปออกแบบใหม่ และถ้าผลตอบรับเลวร้ายไปกว่านั้น 
 
เราอาจต้องกลับไปดูการสำรวจอีกครั้ง ซึ่งหมายถึงการเริ่มต้นสำรวจใหม่เลยก็เป็นได้ แต่ถ้าต้นแบบโดนใจทุกความต้องการของผู้บริโภค ผลงานชิ้นนั้นก็จะเดินทางเข้าสู่กระบวนการผลิต วางจำหน่ายทันที
 
นอกจากงานออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าแล้ว บรรจุภัณฑ์ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งกับสินค้าที่อยู่ภายใน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ อย่าลืมว่าบรรจุภัณฑ์บางชิ้น ทำหน้าที่เป็นเซลแมนขายสินค้าบนชั้นวางขายอย่างเงียบๆ 
 
ดังนั้น การเลือกใช้ภาพ ลักษณะตัวอักษร การจัดวางองค์ประกอบ วัสดุที่ใช้ รวมไปถึงกระบวนการพิมพ์ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสื่อสารผ่านบรรจุภัณฑ์ มาดูกันว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้โดน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
 
4 ปัจจัยออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าให้ครองใจลูกค้า 

  1. บรรจุภัณฑ์สินค้าต้องแข็งแรง สวยงาม โดดเด่น และสามารถปกป้องสินค้าได้เป็นอย่างดี 
  2. บอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้อย่างครบถ้วน  
  3. สื่อถึงตัวตนของแบรนด์ได้อย่างเต็มร้อย  
  4. มีฟังก์ชั่นที่สอดคล้องกับสินค้าที่อยู่ภายใน เช่น การอัดลมเข้าถุงขนมขบเคี้ยวให้พอง เพื่อรักษาความกรอบพร้อมรักษารูปทรงของสินค้าไม่ให้แตกหัก
ทั้งหมดเป็นแนวทางการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ที่จะสามารถสะท้อนถึงตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์สินค้า ใครที่กำลังจะทำธุรกิจ หรือเปิดร้านขายสินค้าและบริการ ที่มีคู่แข่งขันอยู่แล้วท้องตลาด การที่จะแข่งขันได้ต้องฉีกตัวเองให้แตกต่าง มีเอกลักษณ์ ที่สะท้อนตัวตนของผลิตภัณฑ์ภายใน ซึ่งจะสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์สินค้าของเราได้
 
 
อ่านบทความการตลาด การเงิน SMEs goo.gl/LKBUiE
 

Tips
  1. บรรจุภัณฑ์สินค้าต้องแข็งแรง สวยงาม โดดเด่น และสามารถปกป้องสินค้าได้เป็นอย่างดี 
  2. บอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสินค้าได้อย่างครบถ้วน  
  3. สื่อถึงตัวตนของแบรนด์ได้อย่างเต็มร้อย  
  4. มีฟังก์ชั่นที่สอดคล้องกับสินค้าที่อยู่ภายใน เช่น การอัดลมเข้าถุงขนมขบเคี้ยวให้พอง เพื่อรักษาความกรอบพร้อมรักษารูปทรงของสินค้าไม่ให้แตกหัก
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด