บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การสร้างแบรนด์ สร้างตราสินค้า
2.5K
2 นาที
14 ธันวาคม 2560
ใครก๊อปไทย หรือ ไทยก๊อปใคร?

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)  ประเมินมูลค่าปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบในประเทศแถบเอเชียว่ามีมูลค่าสูงถึง 460 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งประเทศที่พบสินค้าลอกเลียนแบบมากที่สุดคือจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไทย และอินเดีย รวมถึงสินค้าแบรนด์ไทยเองก็ยังถูกลอกเลียนแบบจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและบางทีก็มีการก็อปปี้แนวคิดกลายเป็นสินค้าในประเทศตะวันตกอีกด้วย
 
ข้อมูลที่น่าตกใจต่อมาที่ www.ThaiFranchiseCenter.com ต้องอธิบายให้ทราบคือเมืองไทยเองนั้นถูกสำนักงานผู้แทนทางการค้าของสหรัฐฯ (USTR) จัดอันดับให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามาตั้งแต่ปี 2535 และจากการปรับปรุงแก้ไขปราบปรามของหน่วยงานราชการต่างๆ ในปี 2537

 ภาพจาก goo.gl/EPtprW

เราก็ได้รับการเลื่อนอันดับดีขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามอง ล่าสุดที่ถูกปรับอันดับคือในปี 2550 ที่เราอยู่ในกลุ่มจับตามองพิเศษมาถึงปัจจุบัน มองภาพรวมเหมือนใครๆจะคิดว่า คนไทยขยันก็อปคนไทยคิดไอเดียอะไรดีๆไม่เป็นแต่ในความเป็นจริงคนต่างชาติเองก็มีหลายครั้งที่เห็นได้ชัดว่าเอาแนวคิดของคนไทยไอเดียคนไทยไปทำสินค้าเป็นของตัวเองอย่างหน้าตาเฉยเหมือนกัน มีอะไรบ้างไปดู

เริ่มจากไม้นวดที่เป็นสินค้า OTOP ของไทยใครเห็นก็รู้ว่านี่คือภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่ปัญหาที่เห็นคือสินค้าที่ว่านี้กลับไปอวดโฉมอยู่ที่พม่า ด้วยราคาขายคิดเป็นเงินไทย 225 บาท ที่สำคัญฝรั่งต่างชาติที่นิยมไม้นวดแบบนี้กลับรู้จักสินค้านี้ในชื่อ Q-flex Shark Tank และมีการทำคลิปสาธิตวิธีการใช้เป็นภาษาอังกฤษมากมายซึ่งแต่ที่ไม่แน่ใจว่างานนี้คนไทยได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้บ้าง
 
 ภาพจาก goo.gl/xAG6co

ถ้ายังไม่ชัดเอาที่พีคสุดๆเมื่อไม่นานมานี้กับ กระเป๋าสะพายแบรนด์ดังระดับโลก BALENCIAGA  ซึ่งมีดีไซน์ออกมาทั้งขนาด รูปทรง สีสันที่เหมือนกับถุงสายรุ้ง ที่เหล่าพ่อค้าแม่ขายแถวสำเพ็งหัวลำโพงโบ๊เบ๊บ้านเราใช้ มีการตั้งคำถามถึงการจดลิขสิทธิ์ของสินค้าตัวนี้กันอย่างกว้างขวางเพราะรู้สึกว่านี่คือสินค้าที่มาจากคนไทย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสินค้าของ BALENCIAGA คอลเลคชั่นนี้ก็สามารถตั้งราคาขายคิดเป็นเงินไทยเกือบหนึ่งหมื่นบาท

ภาพจาก goo.gl/Unbpoz

ยังไม่รวมรองเท้าแตะหูหนีบอย่างช้างดาวที่มีข่าวว่าไนกี้เองก็ผลิตรองเท้าที่ใกล้เคียงกันนี้ชื่อรุ่นว่า Nike Solarsoft Thong ที่รูปแบบเหมือนนันยางตราช้างดาวเปี๊ยบ แต่ต่างกันตรงพื้นรองเท้าของไนกี้ผลิตจากโฟม EVA หรือ Solarsoft ไม่ใช่ยางพารา 100% และขายในราคาคู่ละ 900 บาท

แม้แต่ของเล่นอย่างปืนหนังยางที่เด็กรุ่นเก่าต้องเคยทำเล่นกันเองโดยเอาไม้บรรทัดบ้าง ไม้ไอติมบ้างมาหยักให้เป็นรอยพอจะคล้องหนังยางได้ แต่ตอนนี้ในเว็บไซต์ขายของต่างประเทศมีการพัฒนาเจ้าปืนหนังยางที่เราคิดว่าน่าจะเป็นของไทยกลายเป็นสินค้าขายดีในเว็บต่างประเทศแม้จะมีการพัฒนารูปแบบดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแต่คำถามคือว่าเรื่องนี้คนไทยเรามีการจดลิขสิทธิ์ที่เป็นผลประโยชน์ของเราไว้บ้างหรือไม่

 
 ภาพจาก goo.gl/F7EiTw

คำถามสำคัญคือไอเดียดีของไทยหลายอย่างแต่ทำไมการจดลิขสิทธิ์นั้นถึงไม่ค่อยอยากจะทำกัน ผู้สันทัดกรณีอธิบายว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความล่าช้าและความไม่ใส่ใจทำให้ไอเดียดีๆของเราหลายอย่างโดนฉกฉวยไป พอจะไปทวงเอาสิทธิ์คืนมาบางทีเขาก็จดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นของตัวเองไปหมดแล้ว
 
ซึ่งจะว่าไปแล้วการแอบก็อปปี้สินค้าก็มีกระจายอยู่แทบทุกที่ทั่วโลก คนในเอเชียหรือแม้แต่พ่อค้าบางคนในประเทศไทยก็ฉกฉวยก็อปปี้เอาสินค้าแบรนด์ต่างประเทศมาทำขาย ซึ่งสินค้าที่เป็นปัญหาของการก็อปปี้ในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าแฟชั่น อย่างกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า หรือแม้แต่เครื่องสำอางต่างๆ
 
กฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์ในต่างประเทศนั้นถือว่ารุนแรงอย่างฝรั่งเศส ซึ่งมีความรุนแรงด้านกฎหมายสูงที่สุด เนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของแบรนด์เนมชื่อดังมากมาย กฎหมายของฝรั่งเศสมีการปรับและจำสำหรับผู้ที่ถือของปลอมเข้าประเทศเป็นสูงสุด 300,000 ยูโร หรือประมาณ 14 ล้านบาท ไปจนถึงจำคุกสูงสุด 3 ปี ส่วนประเทศอิตาลี มีโทษปรับสูงสุด 10,000 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทย 470,000 บาท

ภาพจาก goo.gl/2qVmVm

ขณะที่เมืองไทยกฏหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2550 พบว่าหากทำผิดเรื่องนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
 
ซึ่งบางครั้งคนทำธุรกิจก็อาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ปรับนิดแต่งหน่อยเพื่อให้ไม่เหมือนกับเจ้าของเดิมเหมือนกรณีล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวในเมืองไทยอย่างร้านราเม็งข้อสอบที่สื่อญี่ปุ่นรุมตำหนิร้านราเม็งไทยว่าก็อปปี้มาจากร้านราเม็งชื่อดังอย่าง ราเมงอิจิรัน ที่มี71สาขาในญี่ปุ่นซึ่งมีเอกลักษณ์คือการสั่งราเมงผ่านกระดาษแบบสอบถามแต่ราเม็งที่เปิดในไทยและเป็นปัญหาใช้วิธีการที่คล้ายกันในการสั่งสินค้า

หากจะให้จัดการเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ให้หมดไปจากวงการคงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทางที่ดีคือเจ้าของแบรนด์ควรทำการจดลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องและรวดเร็ว ส่วนคนที่ทำธุรกิจง่ายๆ โดยคิดจะลอกเลียนแบบคนอื่นก็ขอให้คิดไว้เสมอว่านี่คือการกระทำที่น่าละอายที่สำคัญหากถูกจับดำเนินคดีตามกฏหมาย รายได้จากของที่ขายรับรองว่าไม่พอใช้จ่ายในการสู้คดีเป็นแน่

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
795
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด