บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
5.6K
3 นาที
20 มีนาคม 2561
แผนธุรกิจ vs โมเดลธุรกิจ แตกต่างกันอย่างไร

 

เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจเกือบทุกคน รู้จัก “แผนธุรกิจ” และ “โมเดลธุรกิจ” แต่คนที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ อาจยังไม่รู้ว่า Business Plan “แผนธุรกิจ” และ Business Model “โมเดลธุรกิจ” คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร กับการดำเนินธุรกิจ แล้วทั้ง 2 แตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอให้เข้าใจ 
 
Business Plan
 

หากพูดถึง “แผนธุรกิจ” หรือ “Business Plan” เชื่อว่านักธุรกิจและผู้ประกอบการทุกคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะลงทุนทำธุรกิจอะไร ทุกคนจะต้องมีแผนธุรกิจก่อน เพราะจะช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจเดินไปตามทิศทางได้อย่างราบรื่น ผู้ประกอบการจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไร หรือปีถัดไปจะต้องทำอะไรบ้าง 
 
อีกทั้งแผนธุรกิจจะช่วยให้ผู้ประกอบการนำไปขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนเกิดความเชื่อถือมากที่สุด ที่สำคัญแผนธุรกิจถือเป็นเครื่องมือสำคัญ บ่งบอกให้รู้ว่าบริษัทจะมีอนาคตหรือไม่ และผู้ประกอบการมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน 
 
แม้แต่การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาลงทุน ปัจจุบันเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ยังต้องดูว่าผู้ต้องการซื้อแฟรนไชส์ของเขาไปทำธุรกิจนั้น สามารถเขียนแผนธุรกิจ และวางเป้าหมายของธุรกิจเป็นหรือไม่ เพราะจะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำธุรกิจ 

 
ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี 
 
แผนธุรกิจที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในอนาคตของผู้บริหาร รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่สถาบันการเงิน และนักลงทุนภายนอก ที่จะเป็นแหล่งเงินทุน ให้แก่กิจการในอนาคตได้ โดยปกติแผนธุรกิจ จะบอกให้เราทราบว่าปัจจุบันเราเดินอยู่ ตรงไหน อนาคตจะไปอยู่ที่ใด ด้วยวิธีการอย่างไรโดยทั่วไปจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีลักษณะน่าเชื่อถือและสามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งแผนธุรกิจที่ดีจะทำให้ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ให้กู้มีความเชื่อใจว่า ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหม่ สามารถทำให้ความคิดตามแผนที่วางไว้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
  2. แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม การที่ผู้ประกอบการมีพื้นความรู้ด้านการค้าปลีก มีเชี่ยวชาญมีความชำนาญเฉพาะด้าน ความสมบูรณ์ครบถ้วนของแผนธุรกิจ จะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการค้าปลีก มีความสามารถ และความตั้งใจจริง เพราะถ้าแผนขอกู้ยังไม่มีคุณภาพ ขาดความความสมบูรณ์ครบถ้วน ย่อมคาดหวังไม่ได้กับประสิทธิผลของการประกอบการธุรกิจค้าปลีก
  3. มีลักษณะเฉพาะตัว ที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากแนวความคิดเดิมที่ผ่านมา ทำให้แผนมีลักษณะเด่น และควรสร้างความน่าเชื่อถือ โดยมีข้อมูลหรือสารสนเทศพร้อมอ้างอิง
  4. สามารถสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีการวางแผนการณ์ดำเนินงานมาอย่างดี แผนจะบอกถึงระดับความเตรียมพร้อมในธุรกิจที่จะลงทุน และชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ มีความรู้เท่าทันในธุรกิจนั้นๆ ได้ดีเพียงใด ถ้ามีระดับการเตรียมพร้อม ตลอดจนแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ยิ่งทำให้ผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ให้กู้รู้สึกเสี่ยงน้อยลงเท่านั้น 
  5. แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่น มีวิสัยทัศน์ คือเป็นผู้เล็งการณ์ไกล และมีวิธีจะจัดการกับสิ่งท้าทายในอนาคต     
Business Model
 

ส่วน “Business Model” หรือ “โมเดลธุรกิจ” จะเป็นตัวที่จะตอบคำถามว่า “เราหารายได้อย่างไร” และผู้ซื้อ “ได้อะไรไปจากเรา” ในโลกของการทำธุรกิจจริง แม้สิ่งที่เราทำอาจจะหลุดไปจากแผนธุรกิจเพียงใด แต่ในส่วนใหญ่แล้ว “Business Model” จะไม่เปลี่ยนแปลง “โมเดลธุรกิจ” เป็นสิ่งที่จะบอกว่าธุรกิจเรา “ทำเงินอย่างไร”

โดยจะคำนึงถึงเฉพาะคุณค่าหลักๆ ที่ลูกค้าของเราต้องการจากเรา และยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับการทำธุรกรรมกับเรา รวมไปถึงวิธีการและค่าใช้จ่ายที่เราใช้กับทาง supplier ของเราหรือคนกับทรัพยากรอื่นๆของเรา เพื่อนำให้มาสู่คุณค่าดังกล่าวนั้น
 
Business Model ที่ดีตามการคิดค้นของ Alexander Osterwalder ประกอบด้วย 
  1. ใครคือ พันธมิตรทางการค้าของเรา ใครคู่คู่ค้าของเรา รูปแบบการทำการค้ากับคู่ค้าเป็นอย่างไรบ้าง 
  2. ธุรกิจของเราดำเนินการอย่างไร กิจกรรมหลักของตัวองค์กรเราทำอะไร
  3. ขายอะไรให้ใคร ตำแหน่งของสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร คุณค่าที่แท้จริงที่เราวางไว้ เป็นแบบไหน 
  4. การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้ารูปแบบไหน ช่องทางไหนได้บ้าง 
  5. การแบ่งตลาดของกลุ่มลูกค้า ว่าเราจะจับลูกค้าประเภทไหน ผลิตภัณฑ์ของเราจะตอบสนองพวกเค้าในด้านไหนได้บ้าง 
  6. แหล่งทรัพยากรหลักที่สำคัญของตัวธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ระบบการกระจายสินค้า นวัตกรรมที่โดดเด่น บุคคลากรคุณภาพ หรือแม้แต่ สถานที่ประกอบการ วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นแต้ต่อในการทำธุรกิจ 
  7. ช่องทางการทำตลาด และขายสินค้าหรือบริการ เป็นอย่างไร ใช้ช่องทางไหน รวมไปทั้งจุดต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับลูกค้าหรือ Touch point ของผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องคำนึงถึง เพื่อสร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ 
  8. โครงสร้างด้านต้นทุน ที่มีผลต่อการแข่งขันในปัจจุบันมากๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้หมายถึงต้องถูกเพียงอย่างเดียว หากตัวธุรกิจของเรามุ่งเน้นไปที่การ ขับเคลื่อนด้วยมูลค่า ก็อาจจะทำให้เราสามารถขายในราคาที่แพงกว่าคู่แข่งได้เช่นกัน 
  9. รูปแบบของรายได้ ที่เราจะทำมาจากด้านไหนได้บ้าง จากการขาย การให้เช่า การเก็บค่าบริการ รวมไปถึงการคิดถึงเรื่อง การกำหนดราคา ในแง่ของตัวสินค้าด้วย ล้วนแต่เป็นประเด็นที่จะต้อง คิดถึงและมองให้รอบด้านเช่นกัน

ทั้งนี้ โมเดลธุรกิจในโลกนี้มีหลายประเภท แล้วแต่เทคนิคการทำธุรกิจเรา อาจจะขึ้นอยู่กับการจัดจำหน่ายสินค้า หรือนวัตกรรมอื่นๆ เช่น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ การขายของออนไลน์ ก็เป็นได้ 
 
เห็นได้ว่า Business Plan เป็นเรื่องของ “รายละเอียด” ของธุรกิจ โดยจะเป็นการขยายความ “โมเดลธุรกิจ” มาเป็นกิจกรรมการตลาด การหาทรัพยากรคน การจัดซื้อ การหาแหล่งเงินทุน การวิเคราะห์คู่แข่ง แผนการเติบโต และแผนดำเนินการอื่นๆ ในรอบ 1-3 ปี และการวางแผนการเงิน และวิเคราะห์การดำเนินการในปัจจุบัน

รวมไปถึงการวางเป้าหมายการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “Business Model” คือสิ่งที่บ่งบอกว่า เราจะ “หารายได้” อย่างไร ส่วนแผนธุรกิจนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เราจะ “ทำอะไรบ้าง” เพื่อให้ได้มา รักษา และต่อยอดวิธีการหารายได้
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php 
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

SMEs Tip
 
Business Plan เป็นเรื่องของ “รายละเอียด” ของธุรกิจ โดยจะเป็นการขยายความ “โมเดลธุรกิจ” มาเป็นกิจกรรมการตลาด การหาทรัพยากรคน การจัดซื้อ การหาแหล่งเงินทุน การวิเคราะห์คู่แข่ง แผนการเติบโต และแผนดำเนินการอื่นๆ ในรอบ 1-3 ปี 

ขอบคุณรูปภาพจาก Pixabay.com/th
 




ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด