บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การตลาดออนไลน์ SEO
2.6K
3 นาที
23 มีนาคม 2561
4 โมเดลธุรกิจที่เหมาะสำหรับทำอีคอมเมิร์ซ
 
การขายสินค้าออนไลน์ จำเป็นต้องคำนึงถึง Business Model ของธุรกิจ หรือรูปแบบการขาย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งโมเดลธุรกิจมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอ 4 โมเดลธุรกิจ ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการลูกค้า เพื่อทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ปังครับ 
 
1.ขายสินค้าให้ใคร 
 

แม้ว่าสิ่งที่คุณต้องการจะขายนั้น เป็นสินค้ารูปแบบเดียวกัน แต่ลักษณะการขายที่แตกต่างกันทำให้เกิด Business Model ที่แตกต่างกันด้วย เช่น หากคุณขายผลิตภัณฑ์ความสวยความงาม 
 
หากคุณโฟกัสไปที่การขายให้กับตัวแทนจำหน่าย ห้างร้าน สรรพสินค้า ในจำนวนเยอะๆ นั่นหมายถึงคุณกำลังทำในรูปแบบของ B2B แต่หากคุณโฟกัสการขายไปที่ผู้ใช้สินค้าโดยตรงเลย ก็จะกลายเป็นรูปแบบของ B2C
 
ธุรกิจแบบ B2B คือการขายสินค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท ซึ่งมีข้อดีข้อเสียเมื่อเปรียบเทียบกับการขายแบบ B2C ดังนี้

ข้อดี การขายระหว่างบริษัท จะมีปริมาณการสั่งซื้อที่สูงกว่า จำนวนการสั่งซื้อในแต่ละรอบจะมากขึ้น ยิ่งในกรณีที่บริษัทคู่ค้ามีการเติบโตมากยิ่งขึ้น
 
ข้อเสีย จำนวนบริษัทที่ค้าขายด้วยย่อมมีน้อยกว่าจำนวนผู้บริโภคแบบ B2C รวมไปถึง ระยะเวลาในการปิดการขายจะยาวนานขึ้น เนื่องจากการซื้อขายในนามบริษัทจะมีผู้ตัดสินใจร่วมกันหลายฝ่าย อาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายเดือนกว่าที่จะปิดการขายได้ รวมไปถึงเครดิตในการชำระเงิน กว่าที่เงินสดจะเข้ามาอาจกินเวลาอย่างน้อย 30 ถึง 60 วันขึ้นไป

ธุรกิจแบบ B2C หมายถึง ธุรกิจของคุณขายสินค้า หรือบริการโดยตรงกับผู้บริโภคที่ใช้สินค้านั้นๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดของจำนวนธุรกิจทั้งหมด

ข้อดี สามารถเก็บเงินจากผู้บริโภคได้ทันทีเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการของบริษัท
 
ข้อเสีย มีจำนวนการสั่งซื้อต่อ 1 ใบเสร็จ ต่ำกว่าแบบ B2B จึงจำเป็นจะต้องอาศัยจำนวนคำสั่งซื้อที่ค่อนข้างมาก และจะต้องมีระบบการจัดการกับข้อมูลของลูกค้าจำนวนมหาศาล
 
2. ประเภทสินค้าที่ขาย
 

Physical Product สินค้าที่จับต้องได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคุ้นชินกับการขายสินค้าในรูปแบบนี้ ซึ่งเป็นที่นิยมในการค้าขายออนไลน์มากที่สุด แต่ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องของการสต็อกสินค้า การจัดเก็บสินค้า การส่งสินค้า และการรับประกันสินค้าในกรณีที่สินค้าเกิดความเสียหายในระหว่างการจัดส่ง
 
Digital Product สินค้าประเภทดิจิตอล ที่สามารถดาวน์โหลดสินค้าออนไลน์ได้ทันที ที่ชำระเงินเข้ามา จะทำให้ไม่ต้องสต็อกสินค้า สามารถทำซ้ำได้โดยแทบไม่มีต้นทุนอื่นๆ เพิ่มเติม ทำให้ส่วนต่างของกำไรนั้นสูงกว่ามาก รวมไปถึงไม่ต้องปวดหัวกับการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียก็คือ การละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ
 
Services การขายการให้บริการทางออนไลน์ เช่น การให้คำปรึกษาออนไลน์, การรับทำเว็บไซต์, การรับจ้างเขียนบทความ ซึ่งข้อดีก็คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีสินค้า เพียงใช้ความรู้ ความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ในทันที

แต่ข้อเสียก็คือ ธุรกิจประเภทนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้น หากต้องการที่จะขยายธุรกิจ จะมีปัญหาเรื่องของการหาคนที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามารองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
 
3. วิธีการผลิตสินค้า
 

ผลิตสินค้าเอง การผลิตสินค้าด้วยตนเอง มีข้อดีคือ สามารถควบคุมคุณภาพของแบรนด์ ให้อยู่ในมาตรฐานที่ดีได้อย่างแม่นยำ แต่ก็ต้องอาศัยทักษะอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรที่มีฝีมือในการผลิต 
 
ยิ่งเป็นสินค้าประเภทหัตถกรรมแล้ว คุณอาจจะต้องเจอกับปัญหาของกำลังผลิต ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น รวมไปถึงความท้าทายในการจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอ ต่อการผลิตสินค้าอีกด้วย
 
โรงงานผลิต เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการขายของออนไลน์ ปัจจุบันมีโรงงานที่มีทรัพยากรที่เพียบพร้อม ในการผลิตสินค้าและตีแบรนด์ให้กับคุณพร้อมเสร็จสรรพ โดยทั่วไปแล้วคุณอาจจะต้องหาแหล่งผลิตสินค้าจากประเทศ ที่มีค่าแรงที่ต่ำกว่า เพื่อช่วยในการลดต้นทุนการผลิต เช่น โรงงานที่จีน ไต้หวัน อินเดีย เป็นต้น
 
ซื้อมาขายไป การซื้อสินค้าในราคาขายส่ง เป็นรูปแบบที่ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากสามารถติดต่อกับเจ้าของแบรนด์หรือผู้ผลิตได้ทันที สามารถซื้อในราคาที่ต่ำ แล้วนำไปขายในราคาที่สูงกว่า 
 
ข้อดีคือ มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า เนื่องจากคุณสามารถค้นคว้าและวิจัยก่อนการซื้อได้ว่า สินค้าแบรนด์ใด มีความน่าเชื่อสูง มีการทำการตลาดที่ดี มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะขายได้หรือไม่ อย่างในกรณีที่ผลิตสินค้าขึ้นมาเอง ความเสี่ยงอยู่ที่เมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้ว อาจไม่มีใครต้องการซื้อเลยก็ได้ 

ส่วนข้อเสีย คือ กำไรต่อหน่วยอาจไม่มากนัก และไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง
 
4. รูปแบบการแข่งขันในตลาด
 

แข่งขันด้านราคา การแข่งขันในรูปแบบนี้ ไม่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่หนาพอ เพราะหากเลือกเข้าแข่งขันในรูปแบบของราคา อาจจะต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหญ่ ที่มีเงินทุนเยอะ สายป่านยาว และท้ายที่สุดพวกเขาจะลดราคาต่ำจนกระทั่งคุณอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีกำไรเหลือ แถมเสี่ยงขาดทุน แล้วล้มหายตายจากไปในที่สุด จากนั้นเจ้าตลาดก็จะกลับมาขายในราคาดังเดิม
 
แข่งขันคุณภาพสินค้า หากเลือกที่จะแข่งขันในด้านคุณภาพของสินค้า จะทำให้คู่แข่งลดลงได้อย่างมหาศาล แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้มีราคาสินค้าสูง ซึ่งจำนวนในการสั่งซื้ออาจลดลง ยกตัวอย่างเช่น หากนึกถึงสมาร์ทโฟนที่มีคุณภาพสูง ราคาสูง ดังนั้น จำนวนออเดอร์จะลดลง แต่จำนวนคู่แข่งก็ลดลงตามไปด้วย
 
แข่งขันด้วยตัวเลือกที่มากกว่า หากเปรียบเทียบร้านค้าออนไลน์เล็กๆ แม้ว่าอาจจะมีราคาที่ต่ำกว่า แต่ด้วยตัวเลือกที่น้อยกว่าร้านค้าออนไลน์เจ้าใหญ่ๆ ลูกค้าก็อาจจะเลือกอุดหนุนกับผู้ที่มีตัวเลือกเยอะกว่า เพื่อสะดวกในการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้า เว็บไซต์ Amazon.com ที่มีตัวเลือกสินค้าอย่างมหาศาล 
 
ทำให้ผู้คนเลือกที่จะใช้เวลาในการอยู่หน้าเว็บไซต์ เพื่อเลือกดูและซื้อสินค้า แต่ความท้าทายก็คือ การจัดการกับจำนวนสินค้าที่มหาศาล อีกทั้งการจัดเก็บ การจัดส่ง การสต็อคสินค้า จะต้องทำได้อย่างดีเยี่ยม
 
แข่งขันด้วยการเพิ่มมูลค่าทางใจ ผู้คนมักซื้อสินค้าด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล ดังนั้น แม่ค้าออนไลน์ต้องสร้างภาพลักษณ์และคำอธิบายเกี่ยวกับสินค้า รวมไปถึงการเล่าเรื่องที่ดีมากพอ จะทำให้สินค้าธรรมดาๆ ชิ้นหนึ่ง

กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าทางจิตใจได้เป็นอย่างดี และผู้คนก็มักจะเลือกซื้อ เพียงเพราะมันถูกใจพวกเขา ดังนั้น ความท้าทายของการแข่งขันในรูปแบบนี้ก็คือ การทำการตลาดให้มีความโดดเด่น มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งของคุณ

 
แข่งขันให้บริการเป็นเลิศ อาจจะยากสักหน่อยสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจทำให้บริการได้ไม่ทั่วถึง แต่หากสามารถสร้างพื้นฐานการให้บริการที่ดีตั้งแต่แรก จะเกิดการตลาดแบบปากต่อปาก

ซึ่งเป็นการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด หลายๆ ธุรกิจอาจไม่มีความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์เลย แต่วัดผลแพ้ชนะกันด้วยการบริการที่ดีกว่า ซึ่งข้อดีก็คือ หากคุณมั่นใจในการให้บริการที่ดีกว่า คุณก็สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่าด้วย
 
ทั้งหมดเป็น 4 โมเดลธุรกิจที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ควรเลือกให้เหมาะสมก่อนที่จะทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะถ้าเลือกโมเดลหรือรูปแบบธุรกิจเหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รูปแบบของสินค้า การผลิต และการแข่งขัน ก็อาจเป็นเศรษฐีและธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ไม่ยากครับ 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์  www.thaifranchisecenter.com/home.php 
สมัครคอรส์เรียนขายของออนไลน์ให้ปัง  www.thaifranchisecenter.com/seminar/show.php?etID=11844 
สัมมนาออนไลน์ แนะนำธุรกิจออนไลน์ยุคใหม่  www.thaifranchisecenter.com/seminar/show.php?etID=7535 
 

SMEs Tip
  1. ขายสินค้าให้ใคร 
  2. ประเภทสินค้าที่ขาย
  3. วิธีการผลิตสินค้า 
  4. รูปแบบการแข่งขันในตลาด
แหล่งข้อมูล https://goo.gl/hYDV4q
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด