บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
5.5K
3 นาที
10 สิงหาคม 2561
Food Truck กิมมิคเรียกน้ำย่อยของ มิสเตอร์ โดนัท 
 
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็น รถร้านอาหารและเครื่องดื่มเคลื่อนที่ หรือ Food Truck ที่เราใช้เรียกกัน ตามท้องถนนหรือตามสถานที่ต่างๆ กันมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเป็นร้านเบเกอรี่เคลื่อนที่อย่าง “มิสเตอร์ โดนัท” เชื่อว่าคงยังไม่เคยได้เห็นกัน

 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าให้ฟังว่า มันเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า “มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกกับร้านมิสเตอร์ โดนัทในเมืองไทย เป็นร้านรูปแบบใหม่แนว Food Truck พร้อมเสิร์ฟเมนูสุดเอ๊กซ์คลูซีฟ! ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Donut and More…40 ปี มีดีมากกว่าโดนัท”
 
โดยร้านมิสเตอร์ โดนัท Food Truck ได้จอดอยู่ที่หน้าตึก “จิว เวอร์ รี่ เทรด สีลม” ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2561 หลังจากนั้นก็จะเคลื่อนที่ไปจอดตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมการตลาด ฉลองครบรอบ 40 ปีในเมืองไทย 

 
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า “เซ็นทรัล เรสเตอรอง กรุ๊ป” (CRG) เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจการบริการอาหารตะวันตกและร้านอาหารบริการด่วนในประเทศไทย โดยได้ริเริ่มนำเข้าร้านมิสเตอร์ โดนัท จากประเทศญี่ปุ่น มาสู่ผู้บริโภคชาวไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันมีมากกว่า 344 สาขาทั่วประเทศ
 
เชิญเลยใครที่อยากลิ้มลองรสชาติใหม่ๆ พร้อมรับโปรโมชั่นสุดพิเศษ! เช่น 1. รับคูปองส่วนลด 5 บาทสำหรับสินค้าราคาปกติที่มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค (รับคูปองได้จากพนักงานที่ยืนแจกอยู่บริเวณร้าน) 2. รับสิทธิ์ซื้อโดนัท Premium Do-licious ในราคา 100 บาท (4ชิ้น) จากราคาปกติ 122 บาท (โดนัทชิ้นละ 32 บาท 2 ชิ้น + โดนัทชิ้นละ 29 บาท 2 ชิ้น)

“กิมมิค” เรียกน้ำย่อยของแบรนด์ดัง 
 

“มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” ของ CRG ไม่ใช่เรื่องใหม่ของแบรนด์ดังๆ ในเมืองไทย เพราะโลกแห่งการตลาด เป็นโลกแห่งการแข่งขัน เพื่อดึงความสนใจจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่ต้องการให้ซื้อสินค้าหรือบริการของตัวเองมากที่สุด
 
“มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” เปรียบเสมือน “ลูกเล่น” เรียกน้ำย่อยให้กับผู้บริโภคก็ว่าได้ ถือเป็นการทำตลาดรูปแบบใหม่ เพราะแต่ก่อนถ้าใครอยากกินมิสเตอร์ โดนัท ก็ต้องไปเดินตามห้างต่างๆ ถ้าจะซื้อกินหน้าออฟฟิศก็คงไม่มี 
 
ยิ่งครบรอบ 40 ปีของมิสเตอร์ โดนัทในการทำตลาดเมืองไทย “มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” จึงถือเป็น “กิมมิค” หรือจะเรียกว่า ลูกเล่น กลเม็ด กลไก ทางการตลาดก็ได้ เพราะเป้าหมาย คือ ทำให้ลูกค้าหันมาให้ความสนใจ จนนำไปสู่การจดจำทั้งตัวสินค้าและแบรนด์ไปในตัวด้วย เพราะหากได้รับความนิยมอย่างมาก ก็อาจจะมี “มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ธุรกิจยุคใหม่ ต้องวิ่งเข้าหาผู้บริโภค
 

“มิสเตอร์ โดนัท ฟู้ดทรัค” เป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ที่มีพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีการเดินห้างสรรพสินค้าน้อยลง ทำให้แบรนด์ต้องเป็นฝ่ายเข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น จากที่แต่เดิมรอให้ลูกค้าเข้าหาอย่างเดียว ซึ่งการแข่งขันในยุคนี้ก็สูงขึ้น ก็จะรอให้ลูกค้าเดินมาหาอย่างเดียวไม่ได้เช่นกัน ก็ต้องฮาร์ดเซลล์กันไป เอาสินค้าไปขายถึงที่
 
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างสีสันในตลาด แถมยังได้กระแสพูดคุยกันบนโลกออนไลน์ และเป็นการเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ โมเดล Food Truck มีการลงทุนไม่สูงมาก แถมยังตระเวนไปได้หลายพื้นที่ ขายได้ทั้งวันทั้งคืนถ้าของไม่หมด ไม่มีเวลาจำกัดเหมือนในห้าง พร้อมกันนี้ยังเป็นการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แต่เดิมลูกค้าอาจจะเป็นกลุ่มเด็ก ครอบครัว แต่เมื่อได้ไปโลเคชั่นใหม่ๆ สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ก็ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาได้อีก เพราะโดนัทเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ไม่ได้ทานได้ทุกวัน ต้องอาศัยการกระตุ้นจากจุดขาย
 
กาแฟอินทนิล ก็มี Food Truck
 

หลายคนที่แวะเข้าปั้มน้ำมันบางจาก อาจจะได้เจอกับร้านกาแฟอินทนิลในรูปแบบ Food Truck กันบ้างแล้ว รูปร่างหน้าตาจะคล้ายๆ กับของมิสเตอร์ โดนัท เป็นลักษณะของรถพ่วงตอนท้าย แต่ของกาแฟอินทนิลมีทั้งแบบรถพ่วงและรถทรัคที่สามารถขับเคลื่อนได้เอง ส่วนใหญ่จะจอดอยู่ตามปั้มน้ำมันบางจากที่ยังสร้างร้านไม่เสร็จ หรือพื้นที่แคบๆ 

 
เท่าที่ทราบมาและเห็นตามสื่อออนไลน์ เช่น ปั้มน้ำบางจาก แจ้งวัฒนะ, ปั๊มน้ำมันบางจาก ริมถนนร่มเกล้า, ปั้มน้ำบางจาก ศรีนครินทร์ เป็นต้น รวมถึง Food Truck ที่นำไปร่วมออกบูธจัดกิจกรรมการตลาดในสถานที่ต่างๆ  ก่อนหน้านี้ ก็ยังมี “บิ๊กซี ฟู้ดทรัค” ที่ตระเวนขายของตามหมู่บ้าน เพื่อเข้าไปหาผู้บริโภคยุคใหม่โดยตรง
 
Drive-Thruck กิมมิคของแมคโดนัลด์ บราซิล
 

ก่อนหน้านี้ ประเทศบราซิลก็มี Drive-Thruck เป็นกิมมิคเล็กๆ จาก McDonald’s โดยเจ้า Drive-Thruck เกิดจากการนำข้อดีของ Food Truck ที่เป็นรถขายอาหาร มารวมกับ Drive-thru ที่เป็นบริการซื้ออาหารโดยไม่ต้องลงจากรถเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดรถ McDonald’s เคลื่อนที่ ขับตามผู้ซื้อโดยแทบไม่ต้องจอดรถเลยทีเดียว
 
 
โดยทาง McDonald’s บราซิลบอกว่า เป็นกิมมิคเล็กๆ เพื่อช่วยสร้างสีสันให้กับร้าน McDonald’s แบบ Drive-thru สาขาใหม่ที่กำลังจะเปิดขึ้นในเมือง ซึ่งทาง Drive-thru ก็ได้มีแผนที่จะเปิด Drive-thru สาขาอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมจนไม่ว่าลูกค้าจะขับไปยังหัวถนนไหนก็เหมือนมีร้าน McDonald’s แบบ Drive-Thruck วิ่งตามอยู่นั่นเอง

คิดใหญ่! CRG ตั้งเป้ารายได้ 2.2 หมื่นล้านบาทใน 5 ปี
 

บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) มีร้านอาหารรวม 11 แบรนด์ ประกอบด้วย เคเอฟซี รายได้หลักกว่า 50%, มิสเตอร์โดนัท 18%, อาหารญี่ปุ่น เช่น โอโตยะ เปปเปอร์ลั้นช์ ชาบูตง โยชิโนยะ เทนยะ คัตสึยะ รวมกว่า 20% และยังมีอีกเช่น อานตี้แอนส์ โคลด์สโตนครีมเมอรี่ เดอะเทอเรส โดยมีเครือข่ายร้านค้ารวมกว่า 902 สาขา สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และตั้งเป้าหมายที่จะเปิดสาขาใหม่รวม 100 สาขา คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีสาขารวมทุกแบรนด์ 1,000 สาขา
 
บริษัทฯ คาดว่าอีก 5 ปี จะมีรายได้รวมประมาณ 22,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีรายได้รวม 11,000 ล้านบาทเมื่อปี 2560 ส่วนปี 2561 ตั้งเป้าหมายรายได้รวม 12,200 ล้านบาท เติบโต 11% หากจะให้เป็นตามเป้าหมาย บริษัทฯ ต้องมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ตลอดระยะเวลา 5 ปีจากนี้ และจะมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ 10%
 
เราจะเห็นได้ว่า “กิมมิค” สำหรับนักการตลาด ไม่ใช่เพียงแค่การดึงความสนใจจากลูกค้า เพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น  เพราะอันที่จริงโจทย์ คือ นอกจากดึงความสนใจมาได้แล้ว ต้องสร้างการจดจำในภาพลักษณ์ ในแบบที่แบรนด์เราอยากให้เป็นด้วย ถ้ารู้จักเลือกใช้ “กิมมิค” จะกลายมาเป็นอาวุธลับที่สำคัญสำหรับนักการตลาดเลยทีเดียวในยุคนี้
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 

แหล่งข้อมูล 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด