บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
6.9K
2 นาที
23 สิงหาคม 2561
6 วิธีใช้ Cause-Related Marketing การตลาดเชิงเอาใจใส่สังคม
 
การทำธุรกิจมีทั้งตลาดทางตรงและตลาดทางอ้อม การลงทุนในการตลาดทางอ้อมอาจไม่ได้หวังผลที่จะเกิดขึ้นทันทีทันใด หากแต่หวังผลในระยะยาวหรืออาจจะหมายถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับองค์กร ซึ่งหากลูกค้ารู้สึกดีและเชื่อมั่นกับแบรนด์ก็จะตอบสนองต่อสินค้าดีตามไปด้วย
 
www.ThaiFranchiseCenter.com เคยนำเสนอกลยุทธ์การตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมไปมากมาย ในวันนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่มาแบบอ้อมๆ แต่หากใช้ให้เป็นจะเกิดประโยชน์กับธุรกิจอย่างมาก การตลาดแบบนี้เขาเรียกว่า “การตลาดเชิงเอาใจสังคม” หรือ Cause-Related Marketing 
 
Cause related marketing หรือ เรียกสั้นๆ ว่า Cause marketing หมายถึงการตลาดที่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นที่เป็นเหตุการณ์ปัญหาเร่งด่วน HOT EMERGENCY ISSUES ในขณะนั้น ที่ผ่านมาเราเองอาจไม่เคยรู้ตัวด้วยซ้ำว่าหลายแบรนด์เคยทำการตลาดแนวนี้มาก่อน เพราะในชั่วโมงเร่งด่วนเป็นตายเช่นนั้นคงไม่มีใครมานั่งจดจำว่าใครทำอะไรกันบ้าง มารู้ตัวอีกทีก็จดจำแบรนด์เหล่านั้นติดตาและรู้สึกดีกับแบรนด์เหล่านั้นมากขึ้นเรียบร้อย
 
อย่างเหตุการณ์ในประเทศไทยหลายอย่างที่สามารถเป็น Cause marketing เช่นสึนามิที่ภาคใต้ , น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 หรือกระทั่งล่าสุดคือภารกิจช่วยน้องๆทีมหมูป่าออกมาจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

ภาพจาก goo.gl/vRj7Wc
 
ยกตัวอย่างในเหตุการณ์ล่าสุดเราจะเห็นว่ามีธุรกิจหลายภาคส่วนที่เข้ามาร่วมมือกันในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น
  • ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ให้บริการกระแสไฟฟ้าฟรีตั้งแต่วันแรก
  • แอร์เอเชียให้บริการเดินทางฟรีสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ต้องเดินทางไปช่วยเหลือที่จังหวัดเชียงราย
  • KFC ที่ประกาศให้ทีมหมูป่าอะคาเดมี่กินไก่ทอดได้ฟรี
  • หรือแม้แต่แบรนด์ต่างๆ ที่นำอาหารและเครื่องดื่มไปแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยซีล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและผู้คนต่างๆ คือ กิจกรรม Cause marketing ทั้งสิ้น
คำถามคือการที่แบรนด์ทำแบบนี้คือมุ่งหวังผลประโยชน์ใช่หรือไม่! คำตอบอาจพูดได้ไม่เต็มปากว่าใช่ เนื่องเพราะขณะนั้นเป็นสถานการณ์ที่ฉุกเฉินและต้องการความช่วยเหลือในทุกรูปแบบ

ภาพจาก goo.gl/bNbhBT

แบรนด์ต่างๆ ก็อาจต้องการเข้าร่วมช่วยเหลือแบบที่ไม่ได้คิดอะไรส่วนคำชื่นชมหรือการยกย่องที่ตามมาในภายหลังอาจเป็นแค่ผลพลอยได้ แต่โดยหลักการแล้ว Cause marketing คือการแสดงตนว่าเป็นแบรนด์ที่ดีมีบทบาทในสังคมและมีการคืนกำไรให้สังคมไม่ใช่มุ่งแต่แสวงหากำไรจากประชาชนเพียงอย่างเดียว
 
อย่างไรก็ดีการจะใช้ Cause-Related marketing อย่างได้ผลนั้นมีหลักการสำคัญอยู่ 6 ประการคือ
 
1.เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการจะยิ่งเสริมภาพลักษณ์ให้เด่น
 
ภาพจาก goo.gl/yH6kq4

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ อย่างกรณีสึนามิที่ภาคใต้ สินค้าที่คนต้องการคือพวกยารักษาโรค ที่พักอาศัย อาหาร ซึ่งแบรนด์ที่ตอบโจทย์ในสิ่งเหล่านี้จะได้รับการพูดถึงมาก ส่วนบริการหรือสินค้าในลำดับอื่นๆที่ช่วยเหลือเหมือนกันแต่อาจได้รับการพูดถึงที่น้อยกว่า
 
2.ต้องช่วยแบบไม่หวังผล
 
อย่าลืมว่า Cause-Related marketing ไม่ใช่การขายและไม่สามารถหวังผลกำไรได้ขณะนั้นสิ่งที่ต้องคิดคือช่วยเหลือให้ทุกคนรอดปลอดภัย ห้ามคิดเรื่องกำไร หรือรายได้ หรือจะได้รับอะไรตอบแทนกลับมาอันจะเป็นการทำให้คนมองแบรนด์แย่ลงไป
 
3.ไม่มีสินค้าก็แทรกแบรนด์หรือโลโก้เข้าไป
 
ภาพจาก goo.gl/CsvbEu

ในบางกรณีภาคธุรกิจอาจไม่ได้มีสินค้าหรือบริการที่เป็นความต้องการของการช่วยเหลือ สิ่งที่ทำได้คือใช้สีหรือโลโก้บนเสื้อผ้า และอาจใช้การแจกเสื้อผ้าสำหรับปฏิบัติงานก็เป็นอีกรูปแบบของ Cause-Related marketing เช่นกัน
 
4.ยิ่งพลิกแพลงคนยิ่งจำ
 
บางครั้งสถานการณ์ฉุกเฉินสิ่งที่ต้องการคือความแปลกใหม่หรือไอเดียใหม่ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็น Innovation ของแบรนด์ เช่น อาหารรูปแบบใหม่ การช่วยเหลือแบบใหม่ ที่พักอาศัยแบบใหม่ ฯลฯ จะทำให้ประชาชนรู้สึกต่อแบรนด์ว่ามีคุณค่ายิ่งขึ้น
 
5.รีบทำทันที
 
ภาพจาก goo.gl/Diju7c

ในกรณีที่เกิดเหตุใดๆก็ตาม การจะใช้ Cause-Related marketing ได้ผลเราควรรีบทำลงพื้นที่ทันที ยิ่งเป็นเจ้าแรกที่เข้าถึงพื้นที่ได้จะยิ่งดีมาก ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมานั่งผ่านความเห็นชอบหรือประชุมกันกว่าจะผ่านความคิดเห็น ซึ่งมันช้าเกินไปและไม่แสดงออกถึงความจริงใจที่แท้จริง
 
6.ช่วยเหลือให้เต็มที่สุดกำลัง

การทำ Cause-Related marketing ต้องทุ่มเทจนกว่าภารกิจนั้นๆ จะแล้วเสร็จ ต้องช่วยเหลือต่อเนื่องไม่ใช่มาแค่วันสองวันแล้วก็หายไปหรือมาโผล่เอาวันท้ายๆ ที่ภารกิจคลี่คลายไปได้เยอะแล้ว ความจริงใจและการแสดงออกที่ชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือนั้นคือ Cause-Related marketing ที่ได้ผลแท้จริง
 
ทั้งนี้การเอาสถานการณ์ฉุกเฉินมาเป็นเครื่องมือการตลาดอาจไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ธุรกิจควรรู้สึกว่าอยากมาช่วยด้วยใจจริงไม่ใช่มาเพราะหวังผลกำไร ไม่ใช่มาเพราะอยากสร้างภาพ

ซึ่งการมาช่วยแบบครึ่งๆกลางๆ ไม่เต็มที่นอกจากไม่ช่วยอะไรยังกลายเป็นภาระมากกว่า การปรากฏตัวในสถานการณ์ฉุกเฉินของแบรน์ไม่ได้หมายความว่าเป็น Cause-Related marketing เพราะผลของการตลาดแนวนี้จะวัดได้จากความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อแบรนด์ผ่านการกระทำของธุรกิจที่เชื่อว่าทุกคนดูออกว่างานนี้จริงใจหรือไก่กากันแน่
 

SMEs Tips
  1. เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการจะยิ่งเสริมภาพลักษณ์ให้เด่น
  2. ต้องช่วยแบบไม่หวังผล
  3. ไม่มีสินค้าก็แทรกแบรนด์หรือโลโก้เข้าไป
  4. ยิ่งพลิกแพลงคนยิ่งจำ
  5. รีบทำทันที
  6. ช่วยเหลือให้เต็มที่สุดกำลัง
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด