บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
5 นาที
9 มกราคม 2562
ส่อง 15 กลยุทธ์ที่ 15 แบรนด์ดังใช้ ทำให้ไม่เจ๊งไปซะก่อน!!

ทุกธุรกิจย่อมต้องมีเส้นทางของตัวเอง การที่เรามองเห็นความสำเร็จในวันนี้แท้ที่จริงครั้งหนึ่งอาจเคยเจอปัญหาถึงขั้นเสี่ยงล้มละลาย แต่แบรนด์ระดับโลกเขามีวิธีการฝ่าฝันวิกฤตินี้อย่างไร

www.ThaiFranchiseCenter.com ยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพเข้าใจกัน 15 แบรนด์
 
1. Best Buy


ภาพจาก goo.gl/images/cxKbxm
 
Best Buy ธุรกิจค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ในยุครุ่งเรืองของ Best Buy มีการเติบโตและขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก จนกระทั่งในปี 2012 เกิดวิกฤติทำให้ Best Buy ต้องปิดสาขากว่า 250 แห่งในอเมริกา แม้จะมีความพยายามในการจัดทำแผนปฏิรูปองค์กรขึ้นใหม่แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผล เหตุผลที่ทำให้ Best Buy ดิ้นต่อไม่ได้ก็จากการเข้ามาของ Apple และ อีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่าง Amazon 
 
อย่างไรก็ตามการสั่งปิดร้านมือถือของ Best Buy จะกระทบรายได้ของบริษัทประมาณ 1% และจะมีผลในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ส่วนร้านมือถือของ Best Buy ในแคนาดากว่า 52 แห่ง จะยังไม่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้
 
2. Jack in the Box


ภาพจาก goo.gl/images/SgVFE2

ในปี 1993 จากการระบาดของเชื้อ E. coli  แฮมเบอร์เกอร์ของ Jack in the Box ได้รับผลกระทบเต็มๆ  นี่คือปรากฏการอาหารเป็นพิษครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ยอดขายของ Jack in the Box ลดลงกว่า 22% กำไรในแต่ละไตรมาสก็ลดลงอย่ารวดเร็ว ทางCEO ไม่รอให้เรื่องบานปลายมากกว่านี้ กลยุทธ์สำคัญคือการเสนอช่วยเหลือเหยื่อผู้ติดเชื้อโดยเป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษา และสร้างภาพลักษณ์ให้ต่อเนื่องด้วยการยกกระดับการเตรียมอาหารให้มีความปลอดภัยแบบเห็นชัดเจน
 
รวมถึงการอัดแคมเปญโฆษณาที่ยาวนานเพื่อเรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้กลับมา ในปี 1995 ผลประกอบการเริ่มเห็นผลหุ้นของ Jack in the Boxพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ $ 102.68 ตลอดเวลาเนื่องจากการขยายตัวของแฟรนไชส์เชิงรุกและการสร้างแบรนด์ใหม่ที่เริ่มขึ้นในปี 2004
 
3. Chrysler


ภาพจาก goo.gl/images/7NbdDx
 
ไครสเลอร์ก่อตั้งบริษัทในปี 1925 และจากนั้นในปี 1998 ก็ได้ตกลงร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับทางเดมเลอร์ เอจีของเยอรมนีโดยใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่าเดมเลอร์ไครสเลอร์ ก่อนที่ทางเดมเลอร์ เอจีจะขายหุ้นจำนวนกว่า 80% ที่ถืออยู่ใน ไครสเลอร์ ออกไปให้กับทาง เซอร์เบอรุส แคปิตอล แมนเนจเมนท์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2007 และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นไครสเลอร์ แอลแอลซีในเวลาต่อมา
 
จากปัญหาที่รุ่มเร้าไครสเลอร์ตัดสินใจขอยื่นล้มละลายและดำเนินการจับมือกับเฟียตแบรนด์รถจากยุโรป ซึ่งการตัดสินใจในครั้งนี้ของไครสเลอร์ได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากประธานาธิบดีบารัก โอบามาและเขากล่าวว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว เพราะจะช่วยทำให้ไครสเลอร์สามารถรักษาตำแหน่งงานประมาณ 30,000 อัตราเอาไว้ได้ และการตัดสินใจครั้งนี้ถือแป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับบริษัทรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ อเมริกา
 
4. AIG


ภาพจาก goo.gl/images/bZYFSe
 
ในช่วงหนึ่งนักลงทุนทั่วโลกต่างจับตาผลกระทบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของ American International Group  (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทประกันชีวิต อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันส์ (เอไอเอ) ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก เพราะอาจล้มทั้งยืนตามบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส อิงค์ สถาบันการเงินเก่าแก่อายุ 158 ปี ของสหรัฐ
 
ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (US Federal Reserve : FED) ได้ตัดสินใจปล่อยวงเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ให้กับเอไอจี แลกกับการถือหุ้น 79.9% โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือบริษัทประกันแห่งนี้ให้รอดพ้นจากการล้มละลายซึ่งอาจสร้างเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอเมริกาไปด้วย
 
5. Marvel


ภาพจาก goo.gl/images/c7jkY1
 
Marvel Comic เป็นสำนักพิมพ์ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1961 ตีพิมพ์คอมมิคชุด Superhero ที่โด่งดังในอเมริกามากว่า 60 ปี มีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองในยุค 80s ในปี 1989 Marvel ถูกซื้อโดย Ronald R. Perelman บริษัทถูกนำเข้าตลาดหุ้น และต่อยอดธุรกิจจากผลิตหนังสือการ์ตูนไปสู่การของเล่น และของสะสม ในยุค 90s ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ กำลังซื้อหดหาย สินค้าค้างสต็อก บริษัทต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน การเพิกถอนหุ้น และจบลงด้วยการยื่นขอล้มละลายในปี 1996
 
สิ่งที่ทำให้ Marvel กลับมาได้อีกครั้งคือ ‘ภาพยนตร์’ หลังจากยื่นขอล้มละลาย Marvel ได้ควบรวมกับ Toybiz และเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเป็นการขายลิขสิทธิ์ Superhero แทน โดยก่อตั้ง Marvel Studios ขึ้น จัดหาผู้กำกับ นักแสดง และคนเขียนบท มัดรวมกันเป็นแพ็คเกจและเสนอขายให้บริษัทอื่นสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่วิธีนี้ก็ทำให้มีรายได้เพียงเล็กน้อย 


ภาพจาก goo.gl/images/BQ16jt

นำมาสู่การตัดสินใจสร้างหนังเอง Marvel เดิมพันครั้งใหญ่ด้วยการนำลิขสิทธิ์ Thor และ Captain America ไปค้ำประกันกับ Merrill Lynch เพื่อนำเงินมาสร้างหนัง 10 เรื่อง ในเวลา 7 ปี การเดิมพันครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามภายใต้ชื่อของ Iron Man ภาพยนตร์ที่สร้างเป็นเรื่องแรก
 
6. U.S. Airline industry (อุตสาหกรรมการบินในสหรัฐอเมริกา)


ภาพจาก goo.gl/images/Fz3wAw
 
ช่วงกลางของยุค 2000s อุตสาหกรรมการบินในอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรง หลังจากการยื่นขอล้มละลายของสายการบินใหญ่ ๆ อย่าง United Airlines และ U.S. Airways ในปี 2005 Delta Air lines ก็มีจุดจบที่ไม่ต่างกัน ส่วนสาเหตุที่สายการบินถูกยิงร่วงกันระนาวก็มาจากราคาของเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นจนบริษัทจ่ายไม่ไหว บวกกับคู่แข่งจำนวนมากซึ่งเป็นสายการบิน low-cost ขนาดเล็กที่ก้าวเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปไม่น้อย
 
ในปี 2016 ผลสำรวจจาก Gallup polls รายงานว่า ร้อยละ 35 ของผู้บริโภคในสหรัฐฯ มีทัศนคติที่ ‘ค่อนข้างลบ’ ต่ออุตสาหกรรมการบินในอเมริกา โดยอาจจะมาจากค่าตั๋วเครื่องบิน หรือความประทับใจจากการใช้บริการก็แล้วแต่ ทัศนคติแบบนั้นยังไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไหร่ และถึงแม้ตอนนี้จะกลับมาได้แต่ก็ถือว่าสถานการณ์ยังไม่ได้ดีขึ้นมากนัก
 
7. Converse


ภาพจาก goo.gl/images/bScaQo

บริษัท Converse Rubber Shoe Company ก่อตั้งขึ้นในปี 1908 โดยเริ่มผลิตรองเท้ายางธรรมดาออกขาย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการผลิตรองเท้ากีฬาครั้งแรกในปี 1915 จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อนักบาสเก็ตบอลชื่อดัง Charles H. "Chuck" Taylor เข้ามาเป็น Brand Ambassador ให้กับ Converse และใส่รองเท้ารุ่น All-Star ในทุก ๆ การแข่งขัน Converse All-Star จึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และเป็นที่นิยมในหมู่นักกีฬาบาสเก็ตบอล รวมถึงวัยรุ่นในสมัยนั้น
 
จนกระทั่งในยุค 80s เริ่มมีการหลั่งไหลเข้ามาของแบรนด์คู่แข่งไม่ว่าจะเป็น Puma, Adidas และ Nike ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีรองเท้าที่ทันสมัยยิ่งกว่า Converse ต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปเป็นอย่างมาก บวกกับการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้านการบริหาร ในที่สุดบริษัทต้องล้มละลายลงในปี 2001


ภาพจาก goo.gl/images/EfA3Ng
 
Converse กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยมือของแบรนด์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นคู่แข่งกันอย่าง Nike ที่เข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดในปี 2003 ด้วยเงินจำนวนถึง 305 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การบริหารของ Nike Converse ถูกรีแบรนด์ขึ้นมาใหม่ และสายการผลิตถูกย้ายไปยังประเทศในแถบเอเชียทำให้ต้นทุนต่ำลง ในปี 2003 พวกเขาสามารถทำยอดขายได้ถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งยังพุ่งสูงเกือบ 2 พันล้านเหรียญในปี 2016 และแม้จะมีคอลเล็กชันใหม่ ๆ ออกมามากมาย 
 
8. Starbucks


ภาพจาก goo.gl/images/HvPuDB
 
คงไม่มีใครอยากจะเชื่อเลยว่า Starbucks จะเคยเผชิญกับวิกฤติทางการเงินอย่างรุนแรงในปี 2008 สาเหตุมาจากวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อรับมือกับราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น กาแฟจึงกลายเป็นสิ่งไม่จำเป็นสำหรับชีวิตไป นำไปสู่การยุบสาขา และค่าชดเชยการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก
 
ผลกำไรของบริษัทเคยร่วงหนักถึง 96% ในไตรมาส 4 CEO ของบริษัทจึงออกมาประกาศพับแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมอีก 40,000 สาขา เพื่อพยุงค่าใช้จ่ายขององค์กร 
 
แต่หลังจากวิกฤติอยู่พักใหญ่ Howard Schultz ผู้ก่อตั้งของ Starbucks ที่สั่งปรับปรุงการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาที่สะสม เริ่มจากปิดสาขาในอเมริกาที่ไม่ทำกำไรถึง 676 สาขา ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 370 ล้านเหรียญใน 9 เดือนและพยายามนำเอาภาพลักษณ์เก่าที่มีมนต์ขลังของ Starbucks กลับคืนมา
 
โดยหันมาให้ความสนใจกับรสชาติ และบรรยากาศของร้าน ลงทุนกับการโฆษณา รวมถึงขยายสายผลิตภัณฑ์ในลักษณะของกาแฟสำเร็จรูป ทำให้ผลการดำเนินงานของ Starbucks ถือว่าดีขึ้นเป็นลำดับ
 
9. Six Flags


ภาพจาก goo.gl/images/pXy3JN
 
ในขณะที่สวนสนุกของ Six Flags Entertainment ยังคงดำเนินต่อไปแต่ในปี 2009 พบว่าบริษัท มีหนี้  2.4 พันล้านเหรียญนำไปสู่การขอยื่นล้มละลาย และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
 
โดย CEO คนใหม่อย่าง Daniel Snyder ได้เข้ามาดำเนินกลยุทธ์ดึงเอกลักษณ์ของสวนสนุกด้วยตัวละครยอดฮิตที่เด็กๆนิยม เพื่อดึงดูดลูกค้าคือกลุ่มเด็กๆและครอบครัวให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น
 
สาเหตุของรายได้ถดถอยส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะทางเศรษฐกิจในสหรัฐที่ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงน้อยลง แต่จากการปรับปรุงของ Six Flags ทำให้ในปี 2016 มียอดผู้เข้ามาใช้บริการในสวนสนุกถึง 30 ล้านครั้งได้เป็นครั้งแรก รวมถึงบรรดาผู้ถือหุ้นเองก็ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 14
 
10. Ally Financial


ภาพจาก goo.gl/images/a7hCXB
 
เป็น บริษัท โฮลดิ้งที่ จัดตั้งขึ้นใน เดลาแวร์ และมีสำนักงานใหญ่ใน ดีทรอยต์รัฐมิชิแกน บริษัท ให้บริการทางการเงินรวมถึง ธนาคารออนไลน์สินเชื่อ รถยนต์สินเชื่อ ธุรกิจ ประกันภัยรถยนต์ สินเชื่อ บัตรเครดิต และบริการ บริษัท นายหน้า เคยมีปัญหากับการมีหนี้สูงถึง 12 พันล้านดอลลาร์ และเสี่ยงต่อการล้มละลาย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการปล่อยกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบรุนแรง
 
และจากการเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจบางอย่างเช่นการขายหุ้นของ Ally ให้กับรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ และขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อนำเงินเข้ามาพยุงฐานะทางธุรกิจ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2017 ทำให้ Ally มีกำไรสุทธิ 214 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันกลายเป็นธนาคารออนไลน์ที่ดีที่สุดจากการสำรวจของ GOBankingRates
 
11. Betsey Johnson


ภาพจาก goo.gl/images/NpdtxG
 
นี่ไม่ใช่แบรนด์แต่ Betsey Johnson คือนักออกแบบแฟชั่นที่มีชื่อเสียงในอเมริกา ผลงานการออกแบบของ Betsey ได้รับการยกย่องว่าไม่ธรรมดา อย่างไรก็ตามเส้นทางที่สวยหรูก็ดูจะมีปัญหาเช่นกัน หลังจากที่ Betsey Johnson ได้ขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของแบรนด์ให้กับ Steve Madden และจากการขาดสภาพคล่องก็ทำให้ แฟชั่น Betsey Johnson ถูกยื่นฟ้องล้มละลายในปี 2012 ต้องเลิกจ้างพนักงานในธุรกิจตัวเองกว่า 350 คน


ภาพจาก goo.gl/images/aQ9dk9
 
แต่ชีวิตหลังล้มละลาย Betsey Johnson ยังสนุกกับการออกแบบและได้ร่วมมือกับ Urban Outfitters ในปี 2014 ทำการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ออกมาไม่ว่าจะเป็นชุดเจ้าสาว ชุดราตรี  ชุดชั้นในสตรี  เสื้อผ้า แว่นตาเด็ก ก่อร้างสร้างตัวขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2016 Betsey Johnson มียอดขายสุทธิมากกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐและมีกำไรสุทธิ 121 ล้านดอลลาร์
 
12. Ashley Stewart


ภาพจาก goo.gl/images/GrcqfX
 
เป็น บริษัท เสื้อผ้าและ แบรนด์ไลฟ์สไตล์ ของผู้หญิงอเมริกัน ขนาดใหญ่ ก่อตั้งขึ้นในปี1991 ชื่อ Ashley Stewart มาจากแนวคิดของผู้ก่อตั้งอย่าง Laura Ashley และ Martha Stewart บริษัทเติบโตอย่างยิ่งใหญ่มีร้านค้ากว่า 89 แห่งใน 22 รัฐทั่วอเมริกา แต่จากการเดินเนินงานที่ผิดพลาด ส่งผลให้บริษัทประสบกับปัญหาสภาพคล่องถึงกับถูกจ่อฟ้องล้มละลาย


ภาพจาก goo.gl/images/z5bC44
 
นำไปสู่กลยุทธ์การปรับองค์กรใหม่ด้วยการปรับลดพนักงานและปิดสาขากว่า 100 แห่ง และใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าที่ตรงความต้องการมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ใหม่นี้ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นสุทธิ 80% และกลายเป็นแบรนด์แฟชั่นที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของโลก
 
13. Burberry 


ภาพจาก goo.gl/images/4CjGaV

แบรนด์กระเป๋าและร่มชื่อดังสัญชาติอังกฤษ ต้องประสบปัญหาอย่างหนักจนเกือบล้มละลายในช่วงกลางของยุค 2000s สาเหตุจากการรั่วไหลของข้อมูล สินค้าลอกเลียนแบบที่ใช้สี และลวดลายยอดนิยมของ Burberry ถูกผลิตขายกันเกลื่อนไปทั่วโลก
 
สินค้าจากแบรนด์เนมกลายสภาพเป็นของโหลๆ ที่ใครก็เดินถือกันขวักไขว่ Burberry สูญเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้จนฐานะทางการเงินของบริษัทเข้าข่ายล้มละลาย และต้องขายกิจการให้คนอื่นเอาไปบริหารต่อในที่สุด


ภาพจาก goo.gl/images/8qUkBp
 
Angela Ahrendts ผู้เป็น CEO คนใหม่ก้าวเข้ามากอบกู้ Burberry โดยทุ่มแรงกายแรงใจทั้งหมดในการฟื้นฟูตลาด และเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ Burberry จากแบรนด์เสื้อผ้าผู้ดี ให้กลายเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับสูงที่ ในเวลาเพียง 5 ปี ให้ Burberry ก็กลับกลับมาด้วยยอดขายและผลกำไรที่สูงเป็นสองเท่า
 
14. Adidas


ภาพจาก goo.gl/images/Y9LkvV
 
เป็นแบรนด์รองเท้าสายพันธ์เยอรมันที่ก่อตั้งเมื่อปี 1924 โดยสองพี่น้อง Dassler ก่อนที่ในปี 1949 พี่ชายจะแยกไปทำแบรนด์อื่น ส่วนน้องชายเปลี่ยนชื่อบริษัทเดิมเป็น Adidas ในปี 1987 หลัง Adolf (Adi) Dassler ผู้ก่อตั้งเสียชีวิตไป ลูกชายคือ Horst Dassler พยายามรับช่วงต่อแทน แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบอร์ดบริหาร สถานการณ์บริษัทที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงหลายครั้ง และกลยุทธ์การตลาดที่ไม่แน่นอน ทำให้ผลประกอบการออกมาแย่ บริษัทขาดทุนจนเกือบล้มละลายในปี 1992 


ภาพจาก goo.gl/images/jyrh9r

Adidas กลับมาผงาดได้ด้วยน้ำมือของ Robert Louis-Dreyfus ในปี 1993 เขาซื้อกิจการทั้งหมดของ Adidas มาด้วยเงินกว่า 4.485 พันล้านฟรังก์ และเริ่มโฟกัสไปที่การขยายตลาด และควบรวมกิจการกับบริษัทผลิตสินค้ากีฬาอีกหลายแห่ง
 
ในปี 2006 หลังจากการเจรจาซื้อขาย Reebok แบรนด์คู่แข่งทางการค้าจากอังกฤษเป็นอันเสร็จสิ้น ยอดขายของ Adidas ก็พุ่งสูงจนใกล้เคียงกับ Nike และกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์รองเท้าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอีกด้วย
 
15. CBS 


ภาพจาก goo.gl/images/2txgjZ
 
เริ่มก่อตั้งในปี 1927 จากการเป็นสถานีวิทยุ ก่อนจะค่อย ๆ เติบโต และผงาดขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 เครือข่ายโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ของอเมริการ่วมกับ NBC และ ABC โดยได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงยุค 50s-60s เพราะมีชื่อเสียงด้านการนำเสนอที่ทันสมัย แต่ไม่ซับซ้อน แต่แล้วเรตติ้งก็เริ่มซบเซาลงในยุค 80s ที่ความสนใจของผู้คนเปลี่ยนไปในรูปแบบอื่น ท่ามกลางสภาวะที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ในที่สุด CBS ก็ต้องขายกิจการให้แก่ Westinghouse ไปในราคา 5,400 ล้านเหรียญ 
 
ในปี 1995 Leslie Moonves ที่ก้าวเข้ามาเป็น CEO ให้กับ CBS เริ่มปรับปรุงภาพลักษณ์ของช่องโดยการโฟกัสไปที่คุณภาพของรายการ เมื่อเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 21 ธุรกิจเริ่มได้กำไรจากการบริหาร และนำมาพัฒนารายการโทรทัศน์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
 
ในที่สุดภายใต้การบริหารของ Leslie Moonves สถานีโทรทัศน์ CBS กลายเป็นเครือข่ายที่มีคนดูมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมียอดเฉลี่ยผู้ชมรายสัปดาห์กว่า 10 ล้านคน อ้างอิงจากรายงาน Vulture report ประจำปี 2015
 
การทำธุรกิจไม่มีคำว่าง่าย และไม่มีคำว่าหยุดนิ่ง คนที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่มีทุนหนา แต่คือคนที่แก้ปัญหาเป็น ประสบการณ์คือสิ่งสำคัญที่สอนกันไม่ได้ต้องเรียนรู้และเจอด้วยตัวเองถ้าผ่านไปได้ธุรกิจเราก็แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
ขอบคุณข้อมูล goo.gl/hpijhm
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
750
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
630
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด