บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
1 นาที
1 เมษายน 2562
ทำไมร้านขายของตามสถานีของไทยถึงไม่ฮิตเหมือนที่ญี่ปุ่น
 

หากใครเคยไปญี่ปุ่นจะพบว่าในหลายๆสถานีมีร้านรวงมากมายให้จับจ่ายซื้อสินค้า (ภาษาญี่ปุ่นเรียกร้านเหล่านี้ว่า Ekinaka) ในอดีตร้านในสถานีส่วนใหญ่เป็นร้านเล็กๆตั้งเพื่อขายเครื่องดื่ม ขนม ข้าวกล่อง หรือบะหมี่ ต่อมาบริษัทรถไฟญี่ปุ่นเริ่มที่จะบริหารร้านใหญ่ๆในสถานีมากมายได้แก่ ร้านหนังสือ ร้านขายขนม ร้านขายยา ร้านกาแฟ ร้านขนมเค้ก ร้านดอกไม้ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงร้านที่ให้บริการด้านต่างๆเช่น ร้านตัดผม ทำเล็บ ร้านนวด ร้านอาหาร ร้านนั่งชิลจิบเบียร์หรือไวน์ รวมทั้งใช้เป็นลานจัดกิจกรรมต่างๆสร้างความคึกคักเป็นอย่างยิ่ง
 
ต่างจากสถานีรถใต้ดินในประเทศไทยที่ร้านค้าดูหงอยเหงา หากสังเกตสถานีสุขุมวิทหรือพระราม 9 จะเห็นว่าร้านค้าระหว่างทางเดินสถานีนั้นเปลี่ยนโฉมหน้าไปเรื่อยๆ และดูแล้วธุรกิจน่าจะอยู่ลำบากเพราะโดยมากก็เงียบสงัดลูกค้าน้อยมาก ดิฉันเลยแอบสงสัยว่าทำไมร้านเหล่านี้ถึงไม่ฮิตแบบที่ญี่ปุ่น แผงขายของบนบีทีเอสยังดีหน่อยเพราะสถานีใหญ่ๆหลายสถานีโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งมนุษย์เงินเดือนยังมีคนซื้อจำนวนมาก บางแผงถึงขนาดต่อคิวกันยาวเลยทีเดียว สถานีบีทีเอสใกล้ที่พักดิฉันเองมีร้านกาแฟสดและเครื่องดื่มต่างๆนับได้ถึง 6 แผงด้วยกัน ดิฉันลองวิเคราะห์ดูว่าทำไมร้านในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยและญี่ปุ่นจึงต่างกัน
 
ประเทศไทยคนใช้บริการรถไฟฟ้ายังน้อย ที่โตเกียวบางสถานีมีผู้โดยสารมาใช้บริการมากถึงจำนวนหลายล้านคนต่อวัน เทียบกับที่ประเทศไทยมีผู้โดยสารบีทีเอสวันหนึ่งรวมประมาณ 7-8 แสนคน รถใต้ดินก็มีผู้โดยสารประมาณครึ่งหนึ่งของบีทีเอสเท่านั้น แน่นอนเมื่อคนน้อยกว่าความคึกคักของร้านค้าก็ย่อมสู้ไม่ได้ 

 
แผงลอยข้างนอกมีมากมายและราคาถูกกว่า แผงลอยของประเทศไทยนั้นจัดว่ามากเป็นอันดับต้นๆของโลกและราคาก็ถูกกว่าร้านบนสถานี เช่น หากซื้อกาแฟบนสถานีราคาต่ำๆก็ 30-50 บาทตามค่าเช่า แต่หากซื้อข้างนอกราคาอาจแค่ 20-25 บาทเป็นต้น แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นร้านในหรือนอกสถานีราคาแทบไม่แตกต่างกันเลยค่ะ 

พฤติกรรมผู้บริโภค สถานีรถไฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนญี่ปุ่น เป็นจุดนัดพบของคนส่วนมาก คนญี่ปุ่นยังคุ้นเคยกับการใช้บริการร้านค้า ซื้อของใช้และเสื้อผ้าในสถานีเพราะสะดวกสบาย 
สถานียังเป็นแหล่งรวมร้านอาหารและร้านขนม ในช่วงเวลาอาหารคนญี่ปุ่นนิยมแวะซื้อข้าวกล่องในสถานี นัดเพื่อนทานข้าวในร้านอาหาร หรือจิบเบียร์ที่ร้านในสถานีก่อนกลับบ้าน  บางร้านที่ดังๆยังเป็นที่กล่าวขานกันเช่น ต้องมากินร้านนี้ๆที่สถานีนี้ๆเป็นต้น แต่ของไทยเหรอคะคงจะหาน้อยคนที่จะถ่อมาสถานีเพื่อมาซื้อข้าวค่ะ 

สาธารณูปโภคภายในสถานี สถานีที่ญี่ปุ่นหลายแห่งมีการเชื่อมโยงทางเดินระหว่างสถานีไปยังห้างสรรพสินค้าและ
ช้อปปิ้งมอลล์เพื่อเรียกคนให้เข้ามาเดินช้อปปิ้ง บางครั้งไม่ต้องเดินออกจากประตูตั๋วก็สามารถจับจ่ายซื้อของได้ ร้านค้าภายในสถานีก็ตั้งแบบล่อตาล่อใจเรียงรายน่าซื้อมาก ต่างจากร้านในสถานีที่ไทยที่ดูหลบๆอยู่ในมุมมืดสักหน่อย แทบทุกสถานีที่ญี่ปุ่นยังมีห้องน้ำอยู่หลายๆมุม ต่างจากที่ไทยที่ไม่ได้มีห้องน้ำสะดวกเท่า ทำให้เวลาจะกินอะไรก็ต้องคิดนิดนึงว่าหากปวดขึ้นมาจะต้องวิ่งไปทางไหนค่ะ
 
คุณผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะ
 
ติดตามอ่านเรื่องราวธุรกิจที่สร้างแรงบันดาลใจในหนังสือ Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก และ พูดคุยกับพิชชารัศมิ์ได้ที่ Facebook Page: Life Inspired by พิชชารัศมิ์


life inspired by พิชชารัศมิ์ และ marumura
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,813
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,455
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
668
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
586
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
520
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด