บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    Startups    แอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์
1.8K
2 นาที
7 มีนาคม 2562
เทคนิคพาธุรกิจบุกไปต่างประเทศ (International Expand)
 
การทำธุรกิจภายในประเทศอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจให้มากขึ้นจึงต้องขยายธุรกิจออกไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ไม่เพียงแต่กลุ่ม CLMV และภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น ควรครอบคลุมไปภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ยิ่งมีการส่งเสริมให้ธรุกิจไทยก้าวออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วยแล้ว อาจทำให้การลงทุนในต่างประเทศเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นด้วย
 
หลายคนคงเกิดคำถามว่าทำไมธุรกิจไทยถึงไม่ยังค่อยไปไหนไกล? ทำไมประเทศไทยถึงไม่มียูนิคอร์น (Unicorn)? เหตุมาจากธุรกิจส่วนใหญ่ในไทยยังไม่มีการขยายตัวออกไปยังต่างประเทศ? ขณะเดียวกันธุรกิจที่มีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศนั้นจะเห็นได้ว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ภาพจาก www.omise.co/th
 
ยูนิคอร์น (Unicorn) คือธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐ ยกตัวอย่าง Uber, Snapchat, Airbnb ของต่างประเทศ Xiaomi, Didi Chuxing ของจีน หรือ Omise ผู้ให้บริการ Payment Gateway สตาร์ทอัพเจ้าแรกของไทยที่ได้เป็น Unicorn
 
แล้วเราจะขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อย่างไรบ้าง?
 
ภาพจาก goo.gl/LwysZz

การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ครับ การขยายธุรกิจไปต่างประเทศนั้นเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง จึงไม่สามารถที่จะคิดและวางแผนให้จบภายในวันเดียวได้ ซึ่งการขยายธุรกิจอาจขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ที่วางไว้ตั้งแต่แรกเริ่มของธุรกิจเลยเสียด้วยซ้ำไป
 
โดยการวางแผนขยายธุรกิจไปต่างประเทศสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น ใช้วิธี Joint Venture หาพาร์ทเนอร์ทำธุรกิจร่วมกัน และการเข้าไปทำธุรกิจด้วยตนเอง ซึ่งนักธุรกิจไทยหลาย ๆ ท่านก็ได้ขยายธุรกิจของตนเองไปยังต่างประเทศมาแล้ว บางท่านก็ถึงกับไปตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ
 
ผมขอยกประสบการณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จบางท่านขึ้นมาเป็นตัวอย่างนะครับ เช่น คุณหนุ่ย สมบูรณ์ เจ้าของธุรกิจ Comanche ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ของไทยยุคแรก ๆ ที่บุกตลาดต่างประเทศไปถึง 17 ประเทศทั่วโลก โดยคุณหนุ่ยมองเห็นช่องว่างจากการที่ไทยเราต้องใช้ซอฟต์แวร์ของต่างประเทศ จึงเริ่มผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นมาเองและพัฒนาขึ้นมาใช้ภายในประเทศจนถึงขั้นที่ดีกว่าของต่างประเทศ จากนั้นจึงส่งต่อไปยังต่างประเทศ โดยการนำไปขายต่อ หรือมองหา Dealer

ภาพจาก www.ookbee.com
 
หรืออีกท่านก็คือคุณหมู เจ้าของธุรกิจ อุ๊คบี (Ookbee) Startup Champaign ของไทยที่ขยายธุรกิจไปต่างประเทศโดยใช้วิธีการมองหานักลงทุน (Join Venture) ผ่านการสอบถามหรือพูดคุยกับนักลงทุนทั้งที่รู้จักเป็นการส่วนตัวและจากที่ได้รับการแนะนำ ซึ่งนักลงทุนในลักษณะนี้ไม่ได้ลงทุนเพียงเงินทุนเท่านั้นแต่ยังลงทุนในส่วนของบุคลากรด้วย ซึ่งนั่นจะเป็นเพียงช่วงแรก ๆ เท่านั้น ในช่วงหลังคุณหมูเริ่มเอาคนไทยเข้าไปดำเนินงานแทนในประเทศนั้น ๆ และนำธุรกิจกลับมาดูแลเอง
 
ขณะที่คุณไว เจ้าของธุรกิจ Priceza.com ได้ขยายธุรกิจไปแล้วถึง 6 ประเทศ เริ่มจากการได้ร่วมงานกับ Rakkuten ประกอบกับมีฐานลูกค้าอยู่ในต่างประเทศจำนวนหนึ่ง จึงเริ่มคิดขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ และเกิดโมเดล marketplace นี้ขึ้นมา
 
จากประสบการณ์ของนักธุรกิจที่ผมยกตัวอย่างมานั้นจะเห็นว่าเทคนิคการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศให้ประสบความสำเร็จได้นั้น นอกจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารแล้ว คุณยังต้องรู้จักมองหาช่องทางต่าง ๆ ทั้งจากการหาตลาดผ่านคนรู้จัก ผ่านตัวแทนหรือนายหน้า ผ่านการจัดแสดงสินค้า หรือผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ อาทิ Amazon, Alibaba, eBay รวมถึง Facebook, Twitter ในการนำธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วย สำหรับเวิธีการนำธุรกิจบุกไปต่างประเทศตามที่เล่าให้ฟังข้างต้นอาจช่วยชี้ทิศทางให้กับคุณได้บ้าง แต่ทว่าความสำเร็จของแต่ละคนอาจต้องอาศัยวิธีการลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้นครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
795
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด