บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.4K
3 นาที
10 เมษายน 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! SCB
 

หากยังจำได้เมื่อช่วงต้นปี 2561 การประกาศ “ลดสาขา” และ “ลดพนักงาน” ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ถือเป็นข่างแรงที่หลายๆ คนที่เกี่ยวข้องรู้สึกเป็นกังวลลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในเวลา 3 ปีของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB โดยจากนี้ สาขาจะลดลงจาก 1,153 สาขาเหลือ 400 สาขา และลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ เกี่ยวกับธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB 
 
1.SCB เริ่มต้นในนาม บุคคลัภย์ 
 
ภาพจาก bit.ly/2P0gTtv

กิจการของธนาคารไทยพาณิชย์เริ่มต้นขึ้นในนาม บุคคลัภย์ (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ก่อตั้งโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เนื่องจากขณะนั้นทรงเชื่อว่า สยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

หลังจากบุคคลัภย์ขยายตัวทางธุรกิจขึ้นเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449
 
2.เริ่มแรก บุคคลัภย์ รับฝากเงินให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

ภาพจาก bit.ly/2P0gTtv

บุคคลัภย์ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ รับฝากเงินโดยให้ดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี  ซึ่งในช่วงแรกมีคนฝากเงินถึง ๘๐,๐๐๐ บาท เมื่อบุคคลัภย์ประสบความสำเร็จ เป็นที่เชื่อถือของคนไทย และความลับที่ต้องแอบเปิดรู้กันไปทั่วแล้ว จึงเปิดตัวเป็นธนาคารอย่างเต็มตัว โดยกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ 
 
จัดตั้งเป็น “บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” โปรดเกล้าฯ  ให้ใช้ตราอาร์ม แผ่นดิน มีข้อความว่า “ตั้งโดยพระบรมราชานุญาต” ติดหน้าธนาคารเป็นแห่งแรก จนในสมัยรัชกาลที่ ๖  จึงเปลี่ยนตราอาร์มทุกแห่งเป็นตราครุฑ
 
3.SCB เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์


ภาพจาก www.scb.co.th

พ.ศ. 2449 - ธนาคารฯ เปิดทำการในที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ต่อมาพ.ศ. 2453 - ธนาคารฯ ย้ายสำนักงานไปยังอาคารตลาดน้อย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร และพ.ศ. 2455 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม

4.SCB เปิดสาขาแรกในต่างจังหวัด สาขาทุ่งสง 
 
พ.ศ. 2463 - ธนาคารฯ เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือ สาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันเป็นอาคารคลังพัสดุ ในย่านสถานีชุมทางทุ่งสง) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
 
พ.ศ. 2470 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สอง คือ สาขาเชียงใหม่ ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ซึ่งอยู่หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม
 
5.นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรกของ SCB 
 
ภาพจาก www.facebook.com/Charoen1948/

พ.ศ. 2485 - ธนาคารฯ แต่งตั้งนายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และพ.ศ. 2486 - ธนาคารฯ เปิดสาขาในส่วนภูมิภาคแห่งที่สี่ คือสาขานครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้บริการพ่อค้าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
6.ปี 2516 SCB รับพนักงานสตรีทำงานครั้งแรก 
 

ภาพจาก bit.ly/2P0gTtv 

พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงานเป็นครั้งแรก และ พ.ศ. 2525 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการฝากและถอนต่างสาขากับบัญชีเงินฝากครบทุกประเภท เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาพ.ศ. 2526 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการเงินด่วนด้วยเครื่องเอทีเอ็มเป็นครั้งแรก และแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม เป็นต้นไป
 
7.สาขาในต่างประเทศของ SCB 
 

ภาพจาก www.scb.co.th

ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, สาธารณรัฐสิงคโปร์, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
 
8.ภายในปี 2563 SCB ลดสาขาเหลือ 400 สาขา จาก 1,153 สาขา

โดยภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2559-2563 ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องลดต้นทุน เพื่อทำให้องค์กรเบาลง โดยเฉพาะการลดสาขาและจำนวนพนักงานลง ซึ่งเป้าหมายใน 3 ปี คือ ลดจำนวนสาขาเหลือ 400 สาขา จากปัจจุบัน 1,153 สาขา และลดพนักงานเหลือ 15,000 คน จาก 27,000 คน 
 
9.SCB เปิดบริการฝาก-ถอนเงินสด 24 ชั่วโมง ผ่าน 7-11
 
 
ภาพจาก bit.ly/2VyZavD

ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือกับ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เปิดตัว SCB Service บริการด้าน แบงก์กิ้งเอเย่นต์ของธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ 7-11 กว่า 11,000 สาขาทั่วประเทศ ให้บริการฝาก-ถอนเงินสดบัญชีเงินฝากไทยพาณิชย์ผ่านระบบดิจิทัลด้วย QR Code ในแอปพลิเคชัน SCB EASY ที่จะมาช่วยให้ลูกค้าที่มีความต้องการทำธุรกรรมเงินสดหลังเวลาทำการปกติ สามารถเข้าถึง บริการธนาคาร ได้อย่างสะดวกขึ้น ตลอด 24 ชั่วโมง  นอกจากสะดวกสบายแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนในการเดินทางและ สร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
 
10.SCB คิดค่าธรรมเนียมฝาก-ถอน ที่ 7-11 รายละการละ 15 บาท 
 
ภาพจาก bit.ly/2TNmgx4

การให้บริการดังกล่าว จะใช้กับบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีกระแสรายวันของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยบริการฝากเงินสดตั้งแต่ 1-30,000 บาท/รายการ สูงสุด 100,000 บาท/วัน/บัญชี ส่วนบริการถอนเงินสดตั้งแต่ 100 -5,000 บาท/รายการ สูงสุด 20,000 บาท/วัน/รายการ ค่าธรรมเนียมบริการฝาก-ถอนเงินสดรายการละ 15 บาท
 
ทั้งหมดเป็น 10 เรื่องจริงของ SCB ที่หลายๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งต่อไปต้องจับดูว่า อนาคตของธนาคารพาณิชย์ของไทยจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน โดยเฉพาะการก้าวสู่ดิจิตัล ทำให้ต้องปรับลดสาขา และพนักงาน อีกทั้งยังร่วมกับพันธมิตรต่างๆ โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อในการเป็นสถานที่ในการฝาก-ถอนเงิน ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของ SCB ในการลดต้นทุนดำเนินธุรกิจ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php  
 
SMEs Tips
  1. SCB เริ่มต้นในนาม บุคคลัภย์ 
  2. เริ่มแรก บุคคลัภย์ รับฝากเงินให้ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี 
  3. SCB เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์
  4. SCB เปิดสาขาแรกในต่างจังหวัด สาขาทุ่งสง 
  5. นายเล้ง ศรีสมวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ชาวไทยคนแรกของ SCB 
  6. ปี 2516 SCB รับพนักงานสตรีทำงานครั้งแรก 
  7. สาขาในต่างประเทศของ SCB 
  8. ภายในปี 2563 SCB ลดสาขาเหลือ 400 สาขา จาก 1,153 สาขา
  9. SCB เปิดบริการฝาก-ถอนเงินสด 24 ชั่วโมง ผ่าน 7-11
  10. SCB คิดค่าธรรมเนียมฝาก-ถอน ที่ 7-11 รายละการละ 15 บาท 

อ้างอิงข้อมูล
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด