บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
2 นาที
14 มิถุนายน 2562
อาชีพที่ปรึกษา Consultant
 

ภาพจาก https://pixabay.com

อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจว่าอาชีพนี้แท้จริงแล้วทำอะไร และมักจะมองผ่านไปเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเกี่ยวแต่ยังเลือกที่จะทำ หรือดำเนินการแบบเดิมๆ แม้ว่าจะอธิบายอย่างไร หลายคนก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เอาเป็นว่า อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถเรียกอย่างเป็นทางการได้ว่า Business Consultant 
 
ตัวผู้เขียนเองทำงานที่ปรึกษามาตั้งแต่ออกจากองค์กรเก่า เมื่อหลายปีที่ คือ มาสอนน้องๆทุกวันเสาร์ในการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการตลาดทีมขายสินค้าอุตสาหกรรม 
 
การเป็นที่ปรึกษาก็แยกได้หลายแขนง เรียกง่ายๆว่าเป็นพี่เลี้ยงเฉพาะด้านที่ตนเองถนัด  ให้กับองค์กร ให้กับผู้บริหารองค์กร หรือแล้วแต่ตกลงกัน 
 
หลายคนยังคงสับสนกับคำว่า ที่ปรึกษากับวิทยากร จริงแล้วมุมมองของของผู้เขียนเอง มองว่าขึ้นอยู่กับเนื้องาน วิทยากรกับอาจารย์ก็จะมีรูปแบบเชิงลึกที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรนั้นๆ
 
ปัจจุบันทำงานด้านที่ปรึกษาให้กับโรงงานน้ำดื่มทั้งระบบ ทั้งโครงการตั้งแต่เริ่มต้นคิดจะลงทุน จนถึงก่อสร้าง การบริหารจัดการในองค์กร


ภาพจาก https://pixabay.com
 
การผลิต การขายและการตลาดเรียกว่าเข้าใจในทุกๆกระบวนการของอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่ม เพื่อจำหน่าย
 
เมื่อมีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการธุรกิจ ยิ่งเข้าใจเลยว่าอาชีพที่ปรึกษาค่อนข้างจะเป็น 
 
ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของเรา เพราะการที่ผู้บริหารคิดเอง อาจจะมองไม่เห็นทั้งหมด จึงควรมีคนมองจากนอกองค์กร เพื่อติในสิ่งที่องค์กรอาจจะไม่ได้ใส่ใจ เพราะ
ประสบการณ์ของที่ปรึกษาที่ผ่านมาหลากหลายองค์กร ก็จะมีข้อแนะนำที่กว้างมากขึ้น
 
ในบทนี้จะขอแนะนำตัวอย่างของงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ปรึกษาจะสรุปแนวทางของผู้ที่สนใจรับการปรึกษาเฉพาะเรื่องโดยมีขอบเขตของเวลาที่กำหนด ครึ่งวัน / 1 วัน / 1 เดือน เนื้อหาที่ปรึกษาจะแนะนำได้จะต้องขอความต้องการของผู้รับการปรึกษาก่อน
 
ตัวอย่างของการ Consultant
 

ภาพจาก https://pixabay.com

การจะเรียกตัวเองว่าเป็นแฟรนไชส์ได้ หรือ ไม่ที่สากลยอมรับ ต้องมี 3 เรื่องที่จำเป็นก่อนการขยายโมเดลธุรกิจด้วยกลยุทธ์แฟรนไชส์
  1. Trademark - การให้สิทธิในการใข้เครื่องหมายการค้า 
  2. System - format franchise ทำยังไงถึงโคลนนิ่งธุรกิจให้กับคนที่อยากจะมาซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์สามารถที่จะทำงานได้เหมือนกับสาขาต้นแบบ
  3. Loyalty - เมืองไทยเก็บได้น้อยมาก เพราะเกรงใจ ไม่กล้าเก็บ แบ่งเก็บเป็น 2 ส่วน 
    • Marketing  FEE เก็บค่าการตลาด
    • Operate FEE เก็บค่าบริหารจัดการในการช่วยสนับสนุนแฟรนไชส์
ตัวอย่างของคำถามที่ผู้ต้องการถามเป็นพิเศษ


ภาพจาก https://pixabay.com
  1. แนวทางการเริ่มทำธุรกิจ
  2. แนวทางการทำการตลาด
  3. แนวทางการคิดเปอร์เซ็นรายรับ
  4. แนวทางการวางระบบ
  5. แนวทางการบริหารงานระหว่างสาขาให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
  6. แนวทางการควบคุมสาขาให้อยู่ในกฏของบริษัทแม่
หน้าที่ของที่ปรึกษาต้องเข้าใจรูปแบบของธุรกิจของผู้ประกอบการที่มาขอรับการปรึกษา เมื่อช่วยตอบและเคลียร์ปัญหาได้ หน้าที่ของที่ปรึกษาก็สำเร็จ
 
ถ้าใครสนใจจะปรึกษาขอคำปรึกษาก็สามารถ สอบถามได้ที่ ThaiFranchiseCenter.com ได้โดยตรงกันเลยครับ
 
 
อาจารย์อ๊อด  น้ำดี
www.สถาบันพัฒนาธุรกิจน้ำดื่มประเทศไทย.com 


ท่านใดสนใจอยากรับปรึกษาแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,790
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด