บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
2 นาที
27 กันยายน 2562
3 ข้อต้องทำ! สื่อสารในภาวะวิกฤตของแบรนด์


ในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในองค์กรขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ย่อมต้องมีเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กรไม่มากก็น้อย ถ้าเหตุการณ์นั้นส่งผลทางบวกมันก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้าส่งผลไปในทางลบ เห็นทีว่าธุรกิจนั้นๆ ก็คงจะนิ่งเฉยไม่ได้แน่ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิด “ภาวะวิกฤต” ที่ส่งผลกับทั้งภาพลักษณ์ รายได้ ยอดขายขององค์กร

อะไรคือภาวะวิกฤติ?!


ภาพจาก bit.ly/2olakIG

ภาวะวิกฤติ คือ ภาวะที่องค์กรเกิดเหตุการณ์ที่ยุ่งยากหรือเหตุฉุกเฉินที่ส่งผลทางลบต่อภาพลักษณ์และผลประโยชน์ขององค์กร ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ข้อ คือ
  1. เป็นภัยคุกคามต่อองค์กร
  2. มีส่วนประที่สร้างความประหลาดใจหรือคาดไม่ถึง
  3. ต้องการตัดสินใจในระยะเวลาสั้นๆ
  4. ต้องการการเปลี่ยนแปลง
การบริหารในภาวะวิกฤต หรือ Crisis Management ก็ควรจะทำให้รวดเร็วที่สุด และเกิดผลเสียหายน้อยที่สุดและให้เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายและเป็นไปในเชิงบวก แต่ถ้ายิ่งจัดการปัญหานั้นๆ ล่าช้า เรื่องราวอาจลุกลามบานปลายได้ 
 
สิ่งที่ควรทำเพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤต


ภาพจาก bit.ly/2nDrDEv
 
1. ผู้บริหารระดับสูงต้องออกมาก่อนเป็นอันดับแรก

ผู้บริหารควรรีบออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงให้สื่อมวลชนและผู้บริโภคเห็นว่าทางองค์กรไม่ได้นิ่งดูดายต่อปัญหานั้นๆ และกำลังเร่งหาทางจัดการอยู่ ซึ่งส่วนมากอันดับแรกคือการแถลงข่าว หรือขอโทษต่อสื่อ และสาธารณชน และบอกกล่าวว่าจะวิธีจัดการกับปัญหานั้นๆ อย่างไร

2. ยิ่งจัดการเร็ว ยิ่งดี

การจัดการที่เร็ว แสดงถึงความใส่ใจต่อปัญหาขององค์กร ยิ่งแสดงให้สาธารณชนเห็นถึงความใส่ใจต่อสถานการณ์วิกฤตนั้นๆ มากเท่าไหร่ ก็จะสามารถกู้ภาพลักษณ์ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้ามหากเพิกเฉยต่อปัญหา แล้วปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง ไม่มีการแก้ไขภาพลักษณ์ ผู้บริโภคก็จะยิ่งคลาแคลงใจกับธุรกิจนั้นๆ เพราะไม่เห็นถึงความใส่ใจ พอนานวันเข้า ถึงแม้ว่าเรื่องจะเงียบไป แต่ความเพิกเฉยนั้นก็ได้ทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภคไปแล้ว 

3.ต้นทุนแบรนด์ จะผ่อนหนักให้เป็นเบา


ภาพจาก thepattayaorphanage.org

ต้นทุนแบรนด์ในที่นี้หมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมไปถึงการทำ CSR ที่ธุรกิจหรือองค์กรเคยทำไว้ ซึ่งหากทำทุกอย่างมาดีตั้งแต่ทีแรก การจัดการกับภาวะวิกฤตก็จะไม่ใช่เรื่องยากเพราะผู้บริโภคมีทัศนคติไปในทางบวกต่อธุรกิจนั้นๆ อยู่แล้ว การกู้คืนสถานการณ์โดยมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นทุนเดิมหนุนหลังอยู่ก็ยิ่งง่ายขึ้น แต่ภาพลักษณ์ที่ดี ก็ต้องควบคู่กับการจัดการปัญหาภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพด้วย 
 
ขั้นตอนการสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤต


ภาพจาก bit.ly/2ndmtif

  1. Quick Response จัดการกับวิกฤตนั้นให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะการออกมาขอโทษทั้งต่อสื่อมวลชน และกลุ่มลูกค้า และประชาชนทั่วไป
  2. Care Voice ควรรับฟังทุกเสียงตอบรับจากผู้รับสาร
  3. Control Game ควบคุมสถานการณ์ให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวะและเนื้อหาของสารที่ธุรกิจจะสื่อออกไป
  4. Solution Oppose ผู้บริหารควรติดตามข่าวสารอยู่ทุกวันในช่วงที่กำลังเกิดวิกฤต ควรแสดงออกถึงความรับรู้ในวิกฤตนั้นๆ และควรเร่งทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนและผู้บริโภค
กรณีศึกษาภาวะวิกฤติ : We don’t do gay at Nivea


ภาพจาก
bit.ly/2mMrcIa

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อบริษัทเอเจนซี่โฆษณาระดับโลกที่มีสัญญาทำโฆษณาให้แบรนด์นีเวียร์อย่าง FCB ได้ทำโฆษณาตัวหนึ่งให้นีเวียร์โดยเป็นรูปผู้ชายกำลังสัมผัสมือกัน แต่ทว่าเมื่อทางนีเวียร์ได้เห็นโฆษณาชิ้นนี้ก็ปฏิเสธทันที แถมยังบอกอีกด้วยว่า “We don’t do gay at Nivea” (เราไม่ทำอะไรที่ดูเกย์ที่นีเวียร์)  แน่นอนว่าประโยคนี้ฟังดูแล้วเหมือนเป็นการแสดงออกถึงความเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างชัดเจน และทำให้ผู้บริหารของ FCB ออกมาประกาศถึงพนักงานทุกคนว่าจะไม่ต่อสัญญากับนีเวียร์หลังจากที่หมดสัญญาในปี 2019 นี้ ส่วนหนึ่งเพราะแนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศของทั้งสองบริษัทไม่ตรงกัน 
 
นอกจากจะเสียบริษัททำโฆษณาคู่บุญแล้ว นีเวียร์ยังเผชิญกับวิกฤตศรัทธาอีกรอบเมื่อเรื่องนี้เป็นข่าวออกไป และผู้บริโภคเริ่มคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์นีเวียร์ แถมเป็นกระแสอย่างรุนแรงในอินเตอร์เน็ตโดยชาวเน็ตพากันอัดคลิปขณะทิ้งผลิตภัณฑ์ของ Nivea ลงถังขยะพร้อมตั้งแคปชั่นติดแฮชแท็ก #nivea ผ่านทวิตเตอร์ เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านคำพูดที่เลือกปฏิบัติทางเพศของแบรนด์ 
 
และจนถึงขณะนี้ยังไม่ปรากฏความเคลื่อนไหวของ Nivea ต่อกรณีนี้แต่อย่างใด แต่กรณีนี้ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้นจากผู้บริหารภายในองค์กรที่มีทัศนคติที่ไม่ตรงกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน จนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปฏิเสธที่จะร่วมงาน อีกทั้งยังเกิดกระแสต่อต้านจากผู้บริโภคบางส่วนอีกด้วย เรียกได้ว่าเสียผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย , ฐานลูกค้า,  ชื่อเสียง , และผลประโยชน์ที่จะได้รับในเหตุการณ์เดียว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงควรใส่ใจกับการจัดการในภาวะวิกฤติ รวมไปถึงการใส่ใจกับความเป็นไปของสังคมก็อาจมีผลต่อความราบรื่นในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2FMrZOq

แหล่งที่มา
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด