บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.6K
2 นาที
1 ตุลาคม 2562
3 แนวคิด ทำธุรกิจนานกว่าศตวรรษ ยั่งยืนกว่า 100 ปี!


 
เหตุใดธุรกิจจึงอยู่ได้เป็น 100 ปี?

เวลาที่ผ่านไปกว่า 100 ปีนั้นย่อมต้องมีเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งดีและร้ายเกิดขึ้นมากมาย แน่นอนว่าธุรกิจที่อยู่มานานกว่าศตวรรษก็ต้องเจอเรื่องราวมากมายเช่นกัน ซึ่งในเรื่องราวมากมายนั้นย่อมมีเรื่องวิกฤตที่หนักหนาเกิดขึ้นต่อธุรกิจด้วยอย่างแน่นอน และเมื่อผ่านเหตุการณ์ที่หนักหน่วงมาแล้วธุรกิจนั้นๆ ก็จะสามารถปรับตัวจนแข็งแกร่งพร้อมเดินหน้าต่อไปได้เหมือนต้นไม้ที่ยิ่งหยั่งรากลึกลงไป ซึ่งวิธีหนึ่งในการปรับตัวก็คือการขยายธุรกิจออกไปให้หลากหลายมากขึ้น

ภาพจาก https://100th.panasonic.com

ทั้งผลิตสินค้าหรือบริการตัวใหม่ๆที่อาจจะเกี่ยวโยงหรือไม่เกี่ยวโยงกับธุรกิจเดิมจนในที่สุดก็กลายเป็นธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลายสารพัดอย่างก็มี ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้อยู่รอดได้

ทั้งนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีธุรกิจห้างร้านกว่าหมื่นธุรกิจที่อยู่มาจนครบศตวรรษ ซึ่งก็มีบทความหนึ่งชื่อว่า “เคล็ดลับความสำเร็จจากพ่อค้าญี่ปุ่น…ผู้สร้างบริษัทอายุเกิน 100 ปี’ โดย เกตุวดี Marumura ที่เขียนเกี่ยวกับหลักการทำธุรกิจให้ยั่งยืนกว่าร้อยปีที่สืบทอดมาจากพ่อค้าโอมิ  (近江商人) ว่า การทำธุรกิจต้องคำนึงถึง 3 อย่างคือ

ภาพจาก https://100th.panasonic.com
 
1.หลักสามได้ ผู้ขายได้ ผู้ซื้อได้ และสังคมได้

2.ขายสินค้าในราคาที่ไม่สูงเกินไป

3.ความถูกต้องมาก่อน กำไรมาทีหลัง

และนอกจากนี้เคล็ดลับในการบริหารงานของเหล่าบริษัทที่อายุยืนทั้งหลายนั้น ก็คือการจริงจังกับการสร้างนวัตกรรม หมั่นพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงการแข่งขันทั้งยังดำเนินธุรกิจในแบบ Blue Ocean Strategy ซึ่งทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่า การเน้นที่คุณภาพของสินค้า , บริการ และการคืนกำไรสู่สังคมมากกว่าการแข่งขันกับเจ้าอื่นในตลาดอาจเป็นวิธีที่ทำให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
 
กรณีศึกษาธุรกิจที่อยู่มาเป็น 100 ปี : Panasonic กับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
 

ภาพจาก  bit.ly/2oSRUPV

พานาโซนิค ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นที่จัดตั้งและดำเนินธุรกิจมาเป็นร้อยปี โดยสินค้าตัวแรกของพานาโซนิคคือ “ปลั๊ก” และค่อยๆ ขยายสินค้าไปเรื่อยจนปัจจุบันพานาโซนิคมีสินค้าแทบจะครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท
 
ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเมื่อครั้งที่ Kazuhiro Tsuga ได้เข้ามาเป็นประธานบริษัทคนที่ 8 ของ Panasonic ในปี 2012 ที่พอเข้ามาก็ต้องเจอกับความท้าทายทันทีเมื่อบริษัทขาดทุนกว่า 700 พันล้านเยน แต่นั่นก็ทำให้เกิดแนวคิดที่สามารถพลิกองค์กรว่า “ธุรกิจเดียวไม่เพียงพอสำหรับ 10 หรือว่า 20 ปี ข้างหน้า และมันน้อยเกินไปสำหรับ 100 ปี ข้างหน้า” ซึ่งแนวคิดนี้ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในองค์กร ทั้งวิธีการผลิต ไปจนถึงวิธีการขาย 
 

ภาพจาก  bit.ly/2oSRUPV
 
โดยปกติแล้วผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์จะมีการอัพเดทฟังก์ชั่นของสินค้าอยู่เรื่อยๆ แต่ทว่าผู้บริโภคกลับไม่ได้ใช้งานมันอย่างคุ้มค่า แถมยังเสียเวลาอบรมพนักงานเกี่ยวกับฟังก์ชั่นนั้นๆ ด้วย ดังนั้น Kazuhiro จึงเกิดความคิดว่าแทนที่จะเพิ่มฟังก์ชั่น ควรเพิ่มศักยภาพในการใช้งานให้สินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า


ภาพจาก  bit.ly/2oSRUPV
 
นอกจากกระบวนการดำเนินงานที่เปลี่ยนไปแล้ว Panasonic ยังมีโปรเจ็คใหม่อีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรเจ็ค Panasonic β (พานาโซนิคเบต้า) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 และนำเอาพนักงานระดับหัวกะทิไปทำงานที่นั่น ซึ่งจุดประสงค์ของโปรเจ็คนี้ก็คือการพัฒนาสินค้าของพานาโซนิคให้เป็นนวัตรกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดย Wataru Baba ซีอีโอของหน่วยงานนี้ ได้กล่าวว่าภารกิจของเขามี 4 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย…
 

ภาพจาก  bit.ly/2oSRUPV
  1. Updating the Home Experience with Humane Design การดีไซน์ที่เหมาะสม ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับบ้านของตัวเอง
  2. Making Life at Home Simple, Fast, and Easy พัฒนาโปรเจ็ค HomeX ที่ทำให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตได้อย่างเรียบง่าย สนุก และเร็วขึ้น ภายใต้ซอฟท์แวร์เดียว
  3. HomeX Platform Welcomes Collaboration จับมือกับพันธมิตรที่ตอนนี้มีอยู่กว่า 30 ราย เพื่อทำให้สินค้าของพานาโซนิคไม่ใช่แค่ “สินค้าของพานาโซนิค” แต่เป็น “สินค้าของลูกค้า” 
  4. Compassionate AI for Continuously Enriching Experiences คิดนำเอา AI มาใช้ ซึ่ง AI จะต้องไม่ใช่แค่เรียนผู้พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเดียว แต่ต้องสามารถหาสิ่งที่ดีที่สุดมาให้ลูกค้าได้ด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com/document/

แหล่งที่มา
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด