บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
4.4K
3 นาที
9 มกราคม 2563
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กาแฟดอยช้าง


พูดถึงแบรนด์กาแฟในเมืองไทยเรารู้จักหลายยี่ห้อซึ่งต่างก็มีจุดเด่นของตัวเองและมีกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ต่างกัน ธุรกิจร้านกาแฟยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าหนึ่งในแบรนด์ที่คนไทยรู้จักและสนใจคือ “กาแฟดอยช้าง” ที่เรารู้จักและคุ้นเคยในรสชาติ รวมถึงบางคนอาจได้ร่วมลงทุนด้วย แต่อย่างไรก็ดีในความเป็นสุดยอดแบรนด์กาแฟระดับโลกมีหลายเรื่องที่เชื่อว่าเรายังไม่รู้จักและนี่คือ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กาแฟดอยช้าง
 
1. “ดอยช้าง” ที่เที่ยวยอดฮิตในจังหวัดเชียงราย


ภาพจาก bit.ly/2QAILqB
 
ชื่อของกาแฟ “ดอยช้าง” ก็มาจากดอยช้าง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตในจังหวัดเชียงรายบริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  เดิมเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าม้ง ในปี พ.ศ.2458 ชนเผ่าลีซอได้อพยพเข้ามาตั้งเป็นหมู่บ้านดอยช้าง ปี พ.ศ.2526 ชนเผ่าอาข่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอยช้าง ชื่อ "บ้านดอยช้าง" ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทางทิศเหนือ(ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี
 
2. ดอยช้างสถานที่ผลิตกาแฟอาราบิก้ามีชื่อเสียงระดับโลก


ภาพจาก bit.ly/2sNYMk1
 
สำหรับกาแฟสายพันธุ์อราบิก้า เป็นสายพันธุ์ของกาแฟที่ชอบอากาศหนาวเย็นเป็นชีวิตจิตใจ โดยส่วนใหญ่กาแฟพันธุ์นี้จะนิยมปลูกทางภาคเหนือของประเทศไทย เพราะเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตร แล้ว จะทำให้ปลูกได้ผลผลิตดี เพราะชอบอากาศเย็น กลิ่นหอมนุ่มนวลมีความสลับซับซ้อน รสชาติไม่เข้มมาก และบนดอยช้างแห่งนี้ยังมี“ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย” ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้าคุณภาพเกรดเอที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติอยากมาลิ้มลองรสชาติกาแฟที่นี่กันสักครั้ง
 
3. พื้นที่ดอยช้างกว่า 2,000 ไร่เคยปลูกฝิ่นกันมาก่อน


ภาพจาก bit.ly/2FvQMqi
 
พื้นที่กว่า 2,000 ไร่บนดอยช้าง ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งเพาะปลูกฝิ่นขนาดใหญ่มาก่อน แต่เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานแนวคิดให้ปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่นและท่านก็ได้พระราชทานสายพันธุ์กาแฟ ให้กับชาวดอยช้างถึง 3 สายพันธุ์ซึ่งก็คือ คาทูร่า, คาทุย และ คาติมอร์ ที่สำคัญก็คือทั้งสามสายพันธุ์เป็นระดับตัวท็อปของระดับโลก พื้นที่แห่งนี้จึงได้ถูกปรับเปลี่ยนมาปลูกกาแฟและพืชตระกูลอื่น ๆ ร่วมไปด้วย 
 
4. จุดเริ่มต้นกาแฟ “ดอยช้าง”


ภาพจาก bit.ly/2sYPHEZ
 
ย้อนหลังไปประมาณ 15 ปีก่อน ช่วงเวลานั้นผลผลิตของกาแฟชาวเขาชาวดอยมักจะถูกกดราคา หรือ ไม่มีผู้รับซื้อเพราะไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ราคาขายจึงถูกบีบลดเหลือแค่กิโลละ 10 – 12 บาท ร้อนถึงผู้ใหญ่บ้านดอยช้าง คุณอาเดล – ปณชัย พิสัยเลิศ ต้องคิดหาทางออกช่วยลูกบ้าน และคนแรกที่นึกถึงก็คือ คุณวิชา พรหมยงค์ เพราะเชื่อมั่นในประสบการณ์และทักษะความชำนาญเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้ง ๆ ที่ตัวคุณวิชาเองนั้น ไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องของกาแฟมาก่อนเลยด้วยซ้ำ แต่ด้วยความตั้งใจคือการสร้างฐานรายได้เพื่อไว้ใช้ทำกินให้กับชาวดอยช้างเท่านั้น และผลแห่งความตั้งใจดังกล่าวกลับทำให้พื้นที่นี้สามารถพลิกขึ้นมาเป็นการสร้างรายได้มหาศาลและก่อเกิดเป็นกาแฟดอยช้างที่รู้จักแพร่หลาย
 
5. ใช้การตลาดแบบ “Word of Mouth”


ภาพจาก bit.ly/2Qwzu2O
 
แรกเริ่มนั้น ไม่มีใครในชุมชนรู้เรื่องการทำธุรกิจกาแฟ การตั้งต้นของกิจการจึงเป็นเหมือนการลองทำดูไปเรื่อย ๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการทำตลาดแบบ Learning by doing เพราะผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ระดับการศึกษาสูงสุดคือชั้นประถม 4 เท่านั้น ความไม่รู้เรื่องการบริหารงาน ไม่รู้เรื่องการจัดการ มีเพียงแค่ 2 มือกับเป้าหมายเดียวกันคือทำเพื่อชุมชนและคนรุ่นหลัง ทำให้การทำธุรกิจของกาแฟดอยช้างไม่ได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดผ่านสื่อโฆษณาตามตำรา เล่มไหน ๆ แต่เลือกใช้วิถีชาวบ้านที่เรียกว่า ของดีต้องบอกต่อ หรือ “Word of Mouth”
 
6. จุดเปลี่ยนคือ “ทำไร่กาแฟแบบออแกร์นิค”


ภาพจาก bit.ly/2N93xeZ
 
ด้วยวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดและมองการณ์ไกลจึงเลือกใช้กลยุทธ์เปลี่ยนเพื่อผลผลิตที่ดีกว่าและมุ่งหวังยกระดับกาแฟดอยช้างให้สามารถเจาะตลาดได้และมี Brand Image ของตนที่ชัดเจนมากขึ้น เริ่มจากการตัดสินใจเปลี่ยนการเพาะปลูกกาแฟแบบชาวบ้านมาเป็นไร่กาแฟออร์แกนิกส์ เมื่อได้เมล็ดกาแฟพันธุ์ดีออกมาแล้ว คุณวิชาก็เดินหน้าสะสมความรู้ด้านกาแฟไปทั่วโลก ทั้งโคลัมเบีย, คอสตาริก้า, เคนย่าและฮาวาย
 
ซึ่งศึกษาโดยละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการคั่วไปจนถึงกระบวนการผลิตแบบครบวงจร เพราะเชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้มากกว่าการขายแต่เมล็ดกาแฟดิบพียงอย่างเดียว
 
จนถึงวันนี้ กาแฟดอยช้างผลิตกาแฟแบบครบวงจร คือ ครอบคลุมตั้งแต่จุดเริ่มต้นเพาะปลูก, เก็บผลผลิต, คั่วกาแฟ, ส่งออก และ มีขายเป็นกาแฟสำเร็จรูปด้วย
 
7. รางวัลการันตีความสำเร็จระดับโลก


ภาพจาก bit.ly/2T1I5fy
 
ความสำเร็จระดับโลกของกาแฟดอยช้างพิสูจน์ได้ด้วยรางวัลการันตีความสำเร็จต่างๆ สมกับเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟระดับโลก มีหลายรางวัลที่น่าสนใจเช่น Organic Certification จาก USDA, Organic Farming จาก EU และยังได้คะแนนมากถึง 93% จาก Cup Testing Quality ด้วยการส่งกาแฟ Single Estate Pea Berry Medium Roast ซึ่งเป็นกาแฟตัวท็อปของดอยช้างเข้าแข่งขันเรื่องคุณภาพจาก 2 สถาบันชั้นนำอย่าง Coffee Cupper และ Coffee Review นับเป็นก้าวสำคัญและรางวัลแห่งความสำเร็จที่กาแฟดอยช้าง จนมาถึงวันนี้ มูลค่าและราคาขายกาแฟดอยช้างในไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 1,000 – 1,600 บาท ส่วนในต่างประเทศก็เริ่มต้นที่ 60 – 200 เหรียญ
 
8. ขั้นตอนผลิตกาแฟ “ดอยช้าง”


ภาพจาก bit.ly/2sYPHEZ
 
ดังคำกล่าวที่ว่า “กาแฟดอยช้าง เอกลักษณ์กาแฟไทย สุดยอดกาแฟโลก” มีขั้นตอนการผลิตที่น่าสนใจ เริ่มจากการล้างและคัดแยกผลที่มีเมล็ดสมบูรณ์โดยเลือกเอาเมล็ดที่จมน้ำส่วนเมล็ดที่ลอยน้ำจะแยกออกไป จากนั้นเป็นขั้นตอนการกะเทาะเปลือกซึ่งหลังจากคัดแยกต้องนำมาเข้าเครื่องกะเทาะเปลือกภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นเข้าสู่วิธีการหมักโดยหลังจากกระทะเปลือกจะได้สิ่งที่เรียกว่า “กาแฟกะลาเปียก” โดยต้องนำมาหมักเปียกอีก 24 ชั่วโมงและหมักแห้งอีก 24 ชั่วโมง ก่อนไปสู่ขั้นตอนการตากกาแฟกะลาที่ลานตากด้วยแสงอาทิตย์เป็นเวลา 7-8 วัน

 
ภาพจาก bit.ly/2sYPHEZ
 
จากนั้นจึงนำกาแฟบรรจุในกระสอบเก็บไว้ในคลังที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ต่อไปคือการผลิตกาแฟสารที่จะเริ่มด้วยการสีเอาส่วนของกะลาแห้งที่หุ้มเมล็ดออกด้วยเครื่องสีและส่งไปคัดแยกขนาดของเมล็ด โดยการแยกเกรดของกาแฟสารแบ่งเป็น 4 เกรดตามขนาดและเมล็ดกาแฟสารจะต้องมีความชื้นอยู่ที่ 11.5-12% จากนั้นจึงเป็นการคั่วกาแฟ โดยกาแฟที่คัดเกรดแล้วจะถูกนำมาคั่วด้วยเครื่องคั่วคุณภาพสูง บรรจุลงถุงฟอยล์ 4 ชั้น ก่อนส่งจำหน่ายต่อไป
 
9. รายได้ของกาแฟดอยช้าง


ภาพจาก bit.ly/2N5WVh7
 
กาแฟดอยช้างถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จและได้จดทะเบียนในนามบริษัทต่างๆ แยกย่อยตามธุรกิจ 5 บริษัทหลัก ได้แก่ ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด เป็นบริษัทต้นกำเนิดกาแฟดอยช้าง เดิมชื่อ ดอยช้างเฟรชโรสเต็ดคอฟฟี่, ดอยช้าง โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น, ดอยช้าง แฟรนไชส์ แมเนจเม้นต์,ไทย-อิตัล เทค แอนด์ เซอร์วิส และดีวีเอส 2014
 
บริษัทที่ร่วมทุนระหว่างดอยช้างกับสิงห์ คอร์ป ในสัดส่วน 50:50 ยังไม่รวมถึงบริษัทดอยช้างอื่นๆ ที่จดทะเบียนในนามตระกูลพิสัยเลิศ ผู้ร่วมก่อตั้งกาแฟดอยช้างและตัวแทนเกษตรกร เช่นดอยช้างคอฟฟี่, ดอยช้างคอฟฟี่ ฟาร์ม, ดอยช้าง คอฟฟี่ คัมพะนี เป็นต้น


ภาพจาก bit.ly/2FxfZAY

โดยมีรายได้จากการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟดอยช้าง จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดอยช้างตามช่องทางต่างๆ และร้านกาแฟดอยช้างไม่ต่ำกว่า 94 ล้านบาท ยังไม่นับรวมรายได้จากช่องทางของบริษัทอื่นๆ ที่แยกย่อยในการทำธุรกิจซึ่งถือว่าโดยภาพรวมรายได้ของกาแฟดอยช้างนั้นค่อนข้างมหาศาลทีเดียว
 
10. สามารถเลือกลงทุนในแบบแฟรนไชส์ได้


ภาพจาก bit.ly/2N83IHj
 
ผู้สนใจเปิดธุรกิจระบบแฟรนไชส์ดอยช้างคาเฟ่จะต้องเป็นผู้จัดหาพื้นที่เอง โดยพื้นที่ของร้านจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือแบบ Coffee Venue ต้องมีพื้นที่ร้านในอาคาร มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 30 ตร.ม. และแบบ Stand Alone พื้นที่ร้านนอกอาคาร จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 60 ตร.ม. (ยังไม่รวมสวนหย่อม และพื้นที่จอดรถภายนอกร้าน)
 
โดยมีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า 300,000 บาท และยังมีค่าประกันแบรนด์ ค่าออกแบบร้าน อุปกรณ์ภายในร้าน ค่าก่อสร้าง ตกแต่ง งานระบบ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ รวมงบประมาณในการลงทุนเบื้องต้น 1,700,00 – 2,300,000 บาท แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับสุดยอดแบรนด์กาแฟที่คนทั่วโลกรู้จักดีและมีโอกาสคืนทุนได้ง่ายเป็นธุรกิจที่ดีสำหรับครอบครัว


ภาพจาก bit.ly/2sYPHEZ

ในปี 2020 คาดว่ากาแฟดอยช้างจะขยายฐานธุรกิจตัวเองเพิ่มขึ้นได้อีกมาก และจะเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี นี่คือีกหนึ่งตัวอย่างของการดึงเอาเอกลักษณ์และจุดขายตัวเองมาสร้างแบรนด์การตลาดอย่างได้ผล สำหรับใครที่กำลังคิดเริ่มต้นธุรกิจอาจมองกาแฟดอยช้างเป็นกรณีศึกษาที่อาจทำให้เราสามารถสร้างธุรกิจที่เติบโตระดับโลกเช่นเดียวกันนี้ได้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/35vDXqz
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 
 
ขอบคุณข้อมูล
 
กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม!!! สำหรับแฟรนไชส์กาแฟเขาทะลุชุมพร ร้านกาแฟสด กาแฟโบราณ ที่ปัจจุบันมีการขยายตลาดและเปิดสาขากันอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์กาแฟท้องถิ่น ที่เติบโตและแข่งขันในระดับสากลได้เป็นอย่างดี กาแฟเขาทะลุชุมพรเกิดขึ้นมาได้อย่างไร กว่าจะเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่ได้..
57months ago   2,668  5 นาที
หากพูดถึงร้านกาแฟ Cafe Amazon เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์กาแฟของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ก่อนเราจะเห็นเฉพาะในปั้มน้ำมันปตท.เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านนอกปั้มน้ำมันได้แล้ว ปัจจุบันร้านกาแฟ Café Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ได้รับความนิยม แล..
66months ago   16,310  7 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
24,277
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
3,478
รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!
2,238
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,897
กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไ..
1,268
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,228
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด