บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
2 นาที
20 กุมภาพันธ์ 2563
ไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป อเมริกา เตรียมซื้อร้านค้าปลีก Forever 21


 
ในขณะที่ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาต่างประสบปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากผู้ค้าปลีกที่เช่าพื้นที่ภายในห้างฯ ต่างประสบปัญหาขายของไม่ได้เช่นเดียว ทยอยปิดร้านอย่างต่อเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่ Forever 21 ร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายชื่อดังก็ยังยื่นล้มละลายในปีที่ผ่านมา แต่มาล่าสุดมีรายงานว่า “ไซม่อนพร็อพเพอร์ตี้กรุ๊ป” เจ้าของห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาใกล้จะบรรลุข้อตกลงมูลค่า 81 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายวัยรุ่น Forever 21


David Simon ผู้บริหาร Simon Property และ Forever 21
ภาพจาก bit.ly/2SYWkjz
 
เหตุผลข้อสำคัญที่ทำให้กิจการของ Forever 21 ที่เคยรุ่งเรือง กลับต้องมายื่นล้มละลายเมื่อปี 2562 และต้องปิดหน้าร้านไปหลายร้อยสาขา คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ ผู้บริโภคมีการเลือกซื้อสินค้าหรือเสื้อผ้าตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าน้อยลง และหันไปซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ ต้องแบกรับค่าเช่าพื้นที่จำนวนมหาศาล และหนี้สินก้อนใหญ่ ในขณะที่รายได้และกำไรจากการขายหน้าร้านลดลงเรื่อยๆ 

 
Forever 21 มีการออกแบบร้านค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าร้านค้าปลีกอื่นๆ โดยมีพื้นที่เฉลี่ย 38,000 ตารางฟุต อ้างอิงข้อมูลตามเว็บไซต์ของบริษัท ทำให้ต้องจ่ายค่าเช่าที่เป็นจำนวนมาก โดยภายหลังบริษัทได้ทำการแก้ปัญหาโดยการปรับให้ร้านมีขนาดเล็กลงกว่าเดิม โดย Forever 21 เป็นผู้เช่ารายใหญ่ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ไซมอน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป และ บรูคฟิลด์ พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ โดยก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2559 บริษัทไซม่อน พร็อพพอร์ตี้ กรุ๊ป ได้เข้าซื้อกิจการ แอโรโพสเทล (Aeropostale) แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้าวัยรุ่น เพื่อป้องกันการล้มละลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เช่า


ภาพจาก bit.ly/2wuIoWV
 
ไม่ใช่เพียง Forever 21 เท่านั้นที่ประสบปัญหา แต่ H&M แบรนด์เสื้อผ้าแบบฟาสต์แฟชั่นเจ้าใหญ่จากประเทศสวีเดนก็กำลังเผชิญกับปัญหาทางธุรกิจเช่นกัน สะท้อนจากกำไรที่ลดลง รวมถึงราคาหุ้นของบริษัทที่ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากคนรุ่นใหม่เลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่า เช่น เว็บไซต์จำหน่ายเสื้อผ้าที่มาแรงอย่าง แฟชั่น โนวา (Fashion Nova)  เอซอส (Asos)  มิสไกดิด (Missguided) และ ลูลูซ (Lulus ) รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างอเมซอน (Amazon) เป็นต้น 


ภาพจาก bit.ly/37NBVnb
 
งานวิจัยของ คอร์ไซต์ รีเสิร์ช (Coresight Research) ระบุว่าในปี 2562 ที่ผ่านมา ร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาได้ทำการปิดตัวลงมากถึง 8,200 ร้าน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วถึง 5,589 ร้าน โดยในจำนวนนี้รวมไปถึงร้าน เพย์เลส ชูซอร์ส (Payless ShoesSource) ร้านค้าปลีกรองเท้าชื่อดัง จิมโบรี (Gymboree) แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้าเด็ก และ วิกตอเรียส์ซีเคร็ต (Victoria’s Secret) แบรนด์ชุดชั้นในสตรีและผลิตภัณฑ์ด้านความงามชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา 
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
  
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,693
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
465
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด