บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.5K
2 นาที
3 มีนาคม 2563
ทนไม่ไหว! อิออนประกาศปิด MaxValu 20 สาขา (ที่ไม่ทำกำไร)
 

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ของปี 2562 ขยายตัว 2.4% ต่ำกว่าปี 2561 ที่ขยายตัวได้ 4.1% เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะขยายตัว 1.5-2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยหลัก คือ การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ปัญหาภัยแล้ง และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ
 
โดยปัญหาเหล่านี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มองเห็นว่าเริ่มมีปัญหามาระยะหนึ่งและจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับปัจจัยด้านลบที่เข้ามามากมายตั้งแต่ต้นปี จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดาผู้ประกอบการหลายแห่งจะหากลยุทธ์ในการอยู่รอด ซึ่งตามที่ปรากฏเป็นข่าวก็มีทั้งลดขนาดสาขา เลิกกิจการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน ล่าสุดมาถึง “อิออน” ที่ตอนนี้ได้ประกาศ ปิดแม็กซ์ แวลู ทันใจ เพิ่มเติมอีกกว่า 20 สาขา มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563
 
ทำไมต้องปิด “แม็กซ์ แวลู ทันใจ”


ภาพจาก bit.ly/3cpC9Ed
 
“แม็กซ์ แวลู ทันใจ” เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก ที่มีขนาดใกล้เคียงกับร้านสะดวกซื้อ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ตร.ม. เปิดให้บริการ 24 ชม. ซึ่งทางอิออนเคยกำหนดกลยุทธ์การตลาดและประกาศให้ “แม็กซ์ แวลู ทันใจ” เป็นตัวหลักในการขยายธุรกิจค้าปลีกในประเทศเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าแม็กซ์ แวลู แบบซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ใช้เงินทุนน้อยกว่าและขยายสาขาได้เร็วกว่า
 
โดยในปี 2562 อิออนมี “แม็กซ์ แวลู ทันใจ” กว่า 50 สาขา ขณะที่แม็กซ์ แวลู แบบซูเปอร์มาร์เก็ตมีอยู่ประมาณ 30 สาขา  ซึ่งทางอิออนมีแผนในการกระจาย “แม็กซ์ แวลู ทันใจ”ไปตามแนวรถไฟฟ้าและเน้นสินค้าอาหารพร้อมทาน แต่จากผลทางเศรษฐกิจทำให้ในปี 2563 ทางอิออน (ไทยแลนด์) ไม่สามารถเดินตามแผนการเดิมที่ตั้งใจไว้ และทยอยปิดสาขา แม็กซ์ แวลู ทันใจ จาก 50 สาขาหรือประมาณ 40 สาขา และมาถึงล่าสุดที่ประกาศปิดเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 20 สาขา หรือปิดตัวไปกว่า 50% ซึ่งสาขาที่ปิดเหล่านี้คือสาขาที่ไม่มีกำไร


ภาพจาก bit.ly/3cpC9Ed
 
โดยสาขาที่จะระบุว่าปิดทำการ อาทิ พัฒนาการ 20, อ่อนนุช 17, เอราวัณ, ราชเทวี, สาธุประดิษฐ์19, สุขุมวิท 31, ทองหล่อ 5, สุขุมวิท 47 เรน ฮิลล์, สุขุมวิท 20, แบริ่ง 33, สีลม ไอทีเอฟ, เจริญนคร, ประชาราษฎร์ สาย 1 , กรุงเทพกรีฑา, ชิดลม 19 เป็นต้น
 
ที่ผ่านมาบริษัทก็มีการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรมาเป็นระยะๆ ปีละ 1-2 สาขา เพียงแต่ปีนี้จะปิดมากกว่าที่ผ่านมา สำหรับในส่วนของ แม็กซ์ แวลู ที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต บริษัทก็ยังมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นสาขาที่ทำกำไร 
 
กลยุทธ์ “ถอย1ก้าว เพื่อกระโดดให้ไกลกว่าเดิม”


ภาพจาก bit.ly/2VEBfhb
 
อย่างไรก็ดีการประกาศปิด แม็กซ์ แวลู ทันใจ ดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้หรือไม่ต้องการแข่งขันในตลาดค้าปลีก ซึ่งทางอิออน (ไทยแลนด์) ยังคงสาขาที่มีรายได้เลี้ยงตัวเองและมีกำไร และยังมองหาช่องทางในการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งการปิดสาขาไม่กำไรดังกล่าวก็เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบหนึ่ง ในการลดค่าใช้จ่ายในภาวะที่ยอดขายไม่เติบโต ซึ่งก็มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งการแข่งขันในตลาดค้าปลีกที่สูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งผลมาถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงปัญหาของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนและญี่ปุ่นที่ถือเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญของแม็กซ์ แวลู ทันใจ


ภาพจาก bit.ly/3coHM5G
 
ซึ่งทิศทางของอิออน (ไทยแลนด์) ต่อจากนี้ก็น่าจับตามองอย่างมากแม้จะมีการประกาศปิด แม็กซ์ แวลู ทันใจ อันเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาด ซึ่งสวนทางกับเมื่อต้นเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมาที่บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 680 ล้านบาท เป็น 890 ล้านบาท โดยมีบริษัท อิออน จำกัด เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน นั่นหมายความว่า อิออน (ไทยแลนด์) จะมีเงินทุนเข้ามาต่อสภาพคล่องมากขึ้นและได้ บริษัท อิออน จำกัดมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แทน บริษัท อิออน โฮลดิ้ง (ไทยแลนด์) อาจจะหมายถึงกลยุทธ์การตลาดที่เข้มข้น ชัดเจนจากประสบการณ์ของผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ ที่จะสรรหาวิธีสร้างกำไรให้มากยิ่งขึ้น
 
กรณีตัวอย่าง “ปรับ” “ลด” ขนาดธุรกิจ ไม่ได้มีแต่ “อิออน”


ภาพจาก bit.ly/3cshO1l
 
ในวงการค้าปลีกที่มีการแข่งขันสูง อิออนไม่ใช่รายแรกที่ใช้มาตรการปรับลดขนาด เพื่อลดรายจ่าย แต่มีอีกหลายแบรนด์ที่ใช้วิธีนี้ซึ่งบางแบรนด์ถึงขนาดที่ยกเลิกธุรกิจเดิมและรีแบรนด์ใหม่ อย่าง “ซุปเปอร์เซฟ” ธุรกิจค้าปลีกที่มีเจ้าของคือผู้ผลิตสี TOA ที่มีกว่า 30 สาขาได้ปิดกิจการไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา


สาเหตุคือไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีจำนวนมากได้ และได้เปลี่ยนมาเป็นแบรนด์ใหม่ภายใต้ชื่อ “ฟู้ด ฮับ” ที่มีการปรับโฉมใหม่ให้แข่งขันในตลาดค้าปลีกได้ง่ายยิ่งขึ้น เพิ่มความหลากหลายให้มากกว่าเดิม  ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่ามาตรการเหล่านี้จะดีหรือไม่ดีแค่ไหนกับภาวะเศรษฐกิจที่ช่วงนี้ไม่ค่อยคึกคักหนักไปทางรายได้น้อยกว่ารายจ่าย
 
ในภาวะที่เศรษฐกิจเจอปัจจัยลบหลายอย่างรุมเร้าและการแก้ปัญหาจากผู้มีอำนาจก็ยังไม่ชัดเจน ทางที่ดีที่สุดผู้ประกอบการก็คงต้องหาทางช่วยตัวเองให้มากที่สุด กว่าจะถึงปลายปีก็คงมีอีกหลายแบรนด์สินค้าที่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมา ในการพยุงธุรกิจตัวเองให้อยู่รอดต่อไปได้

คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด