บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การบริหารเงินส่วนบุคคล
2.2K
2 นาที
2 เมษายน 2563
6 วิธีบริหารเงินให้อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตโควิด-19


ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ไปทั่วโลก บริษัทและห้างร้านต่างๆ ต้องปิดให้บริการ หรือดำเนินธุรกิจได้ไม่เต็มที่ พนักงาน ลูกจ้าง ต้องหยุดทำงานเป็นการชั่วคราว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อไม่ได้ทำงานเต็มรูปแบบ ทำให้หลายๆ คนมีรายได้ลดลง หรืออาจมีรายได้เท่าเดิม แต่ต้องดำเนินชีวิตในช่วงวิกฤตโควิด-19 เช่นนี้ ไม่รู้ว่าบริษัท กิจการ โรงงาน ที่ตัวเองทำอยู่นั้นจะยืนหยัดอยู่รอดหรือไม่ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มี 6 วิธีบริหารเงินให้อยู่รอด เมื่อรายได้ลดลงในช่วงวิกฤตโควิด-19 มาแชร์ให้ทราบ
 
1.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
 

ภาพจาก pixabay.com

ช่วงการระบาดของโควิด-19 หลายๆ คนที่รายได้ลดลงจากวิกฤต อาจจะต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น อะไรประหยัดได้ก็ควรที่จะประหยัด อย่างเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ซื้อเสื้อผ้า หรือการสต็อกวัตถุดิบต่างๆ แนะนำว่าให้คำนวณค่าใช้จ่ายหรือทำตารางรายรับรายจ่ายล่าวงหน้าไว้ก็จะดีมากๆ 
 
2.บริหารจัดการหนี้เก่า 
 

ภาพจาก pixabay.com

ในกรณีที่มีหนี้ที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่กลับมีรายได้ลดลง ขาดรายได้ หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ไหว เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ควรวางแผนการจ่ายหนี้เก่าให้เรียบร้อยก่อนจะกลายเป็นหนี้เสีย
 
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ปัจจุบันภาครัฐได้มีมาตรการต่างๆ และเอกชนออกมาช่วยเหลือพอสมควร ใครที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือก็สามารถใช้โอกาสตรงนั้นเพื่อลดภาระได้
 
สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายความช่วยเหลือ ก็สามารถพูดคุยเจรจาการจ่ายหนี้ เพื่อลดภาระหนี้ชั่วขณะได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย พักจ่ายเงินต้นไว้ชั่วคราว ซึ่งจะช่วยเบาภาระการผ่อนเงินก้อนใหญ่ๆ ได้ หรืออาจขอเจรจาแบบตรงไปตรงมา ขอหยุดชำระชั่วคราวระยะสั้น 3-6 เดือน โดยอาจจะต้องแสดงข้อมูลทางการเงินว่ารายรับรายจ่ายของเราลดลงจนไม่มีศักยภาพที่จะชำระได้ตรงตามเวลาจริง หากสมเหตุสมผล แบงก์ก็อาจจะพิจารณาให้เพื่อแบ่งเบาภาระในช่วงนี้
 
3.ชะลอการก่อหนี้ใหม่ 
 

ภาพจาก pixabay.com

วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้ลุกลามส่งผลกระทบต่อธุรกิจไปทั่วโลก กิจการหลายแห่งปิดกิจ หรือปิดให้บริการชั่วคราว ทำให้พนักงาน ลูกจ้างจำนวนมาก ต้องตกงาน ส่วนพ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ได้ ขณะที่รายจ่ายมีเท่าเดิม
 
ดังนั้น หากคิดจะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องมีภาระหนี้สินตามมา อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือสร้างหนี้ก้อนใหญ่ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือพิจารณาให้รอบคอบก่อน ถ้าสิ่งที่กำลังจะซื้อไม่จำเป็นจริงๆ ณ เวลานี้ ก็อย่าเพิ่งรีบซื้อ เพราะการสร้างรายจ่ายถาวรในสภาวะที่รายได้ไม่ถาวร หรือรายรับสั่นคลอนเป็นเรื่องที่อันตราย
 
4.ควบคุมรายจ่ายอย่างรัดกุม 
 

ภาพจาก pixabay.com

ในสถานการณ์วิกฤต การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม คือ วิธีการบริหารจัดการเงินที่ได้ผลดี ในภาวะเช่นนี้เป็นช่วงที่ต้องจัดการเงินสำหรับส่วนที่จำเป็น และส่วนที่ไม่จำเป็นให้ได้อย่างชัดเจน เพื่อควบคุมให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่น 
 
สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญก่อน เช่น การค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของลูก จะต้องถูกจัดสรรไว้เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้ แล้วค่อยปรับลดค่าใช่จ่ายส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นน้อยกว่าลง เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในแต่ละเดือนมากขึ้น หรือถ้าเป็นไปได้ในช่วงนี้ก็ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปเลย
 
5.มองหาอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
 
ภาพจาก bit.ly/2ysIBej

การหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มในช่วงวิกฤต เป็นสิ่งสำคัญในการอยู่รอดในช่วงรายได้หลักๆ ลดลง แต่ต้องดูว่าอาชีพไหนที่เหมาะกับตัวเองในช่วงโควิด-19 ระบาด เช่น พนักงาน Delivery มีหลายบริษัทดังๆ มากมาย เช่น Lineman , Grab , Food Panda ,Get , Lalamove เป็นต้น หรืออย่างอาชีพติวเตอร์ออนไลน์ ขายของออนไลน์ หรืองานฝีมือเย็บหน้ากากผ้าขาย
 
6.ลงทุนอย่างระมัดระวัง สร้างโอกาสในอนาคต
 

ภาพจาก pixabay.com

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจซบเซา รวมถึงโควิด-19 แม้ดูว่าน่ากลัว แต่อย่ากลัวจนถึงขั้นไม่ลงทุน หรือไม่ใช้จ่ายอะไรเลย เพราะว่าในช่วงเวลาที่คนอื่นกลัว คุณอาจปันเงินบางส่วนใส่ไว้ในการลงทุนบ้าง เพราะหลายครั้งจะเห็นว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมา คนที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่องในช่วงเวลาแบบนี้ ก็มักจะได้ผลตอบแทนที่ดี ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับคืนมาค่อนข้างดีเสมอ
 
ทั้งหมดเป็น 6 วิธีการบริหารจัดการด้านการเงินให้อยู่รอด ในช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจซบเซา รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้หลายกิจการต้องปิดให้บริการชั่วคราว พนักงานมีรายได้ลดลง รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าขายของไม่ได้ ขณะที่รายจ่ายต่างๆ มีเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

SMEs Tips
  1. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  2. บริหารจัดการหนี้เก่า 
  3. ชะลอการก่อหนี้ใหม่ 
  4. ควบคุมรายจ่ายอย่างรัดกุม 
  5. มองหาอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
  6. ลงทุนอย่างระมัดระวัง สร้างโอกาสในอนาคต
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด