บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
2 นาที
2 เมษายน 2563
เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีผลกระทบต่ออีคอมเมิร์ซไทยอย่างไร
 
หลังการประกาศราชกิจจานุเบกษาเรื่องการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ในเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  หรือ EEC มีหลายคนให้ความสนใจว่าจะมีผลกระทบในด้านใดต่ออีคอมเมิร์ซไทยบ้าง
 
สิ่งหนึ่งที่ภาครัฐได้พยายามกระตุ้นให้เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ EEC คือการพยายามที่จะทำให้เป็นพื้นที่อีคอมเมิร์ซ และอย่างที่ทราบกันว่าอาลีบาบาได้มาลงทุนในประเทศไทยหลัก ๆ ก็คือการซื้อกิจการของ Lazada นั่นเท่ากับการได้เป็นเจ้าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเบอร์ต้น ๆ ของไทยแล้ว 
 
นอกจากนั้นอาลีบาบายังได้เข้ามาลงทุนใน EEC ซึ่งเป็นการลงทุนในด้าน Infrastructure เช่น การสร้างแวร์เฮ้าส์เพื่อเป็นที่เก็บสินค้าของอีคอมเมิร์ซ และที่นี่จะเป็นจุดสำหรับกระจายสินค้าให้ออกไปทั่วอาเซียน 


ภาพจาก bit.ly/39CX1p9
 
ที่ผ่านมาประเด็นที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงกันคือสินค้าจากเมืองจีนที่จะเข้ามาจอดกองอยู่ที่เมืองไทย ส่วนใหญ่มักพูดถึงแต่ว่าพื้นที่นี้จะเป็น free trade zone ที่จะกระจายสินค้าออกไปยังที่อื่น ๆ แต่ในมุมกลับกันสินค้าเหล่านี้เองก็จะเทเข้ามาในไทยด้วยเช่นกัน ประเด็นนี้ผมเคยคุยมานานแล้ว
 
การให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ที่มีแวร์เฮ้าส์ใน EEC ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรขาเข้า ซึ่งตามปกติการนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการเสียภาษีศุลกากรขาเข้า แต่ทางอาลีบาบาต้องการใช้เป็นที่พักสินค้าไว้ก่อนเพื่อส่งออกต่อไปยังอาเซียนหรือกลุ่ม CLMV ฉะนั้นจึงมีการออกพื้นที่พิเศษขึ้นมาซึ่งก็คือ free trade zone นี้เอง


ภาพจาก bit.ly/3dN5BES
 
พื้นที่ตรงนี้เหมือนเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่นอกประเทศแม้จะอยู่ในประเทศ สินค้าที่มาอยู่ในพื้นที่นี้จะยังไม่ถูกคิดค่าศุลกากรขาเข้า ซึ่งจริง ๆ แล้วพื้นที่พิเศษแบบนี้ก็มีอยู่หลายที่ เช่น พื้นที่ที่อยู่ใกล้ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิก็มีลักษณะเช่นนี้ จะยังไม่มีการคำนวณภาษีศุลกากรเพราะถือว่าเป็นพื้นที่ที่ให้เอาสินค้ามาพักไว้ก่อน ยังไม่มีการซื้อขายในประเทศ
 
ใน EEC ก็มีพื้นที่ Free Trade Zone และเป็นพื้นที่ของอาลีบาบา โดยเมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาแล้วและถูกขายออกไปในประเทศไทย ตามปกติจะต้องมีการเสียภาษีศุลกากรขาเข้า แต่ถ้าผู้ซื้อมีการปฏิเสธและส่งสินค้าคืน เท่ากับว่าสินค้าชิ้นนั้นถูกส่งกลับเข้าไปใน Free Trade Zone อีกครั้งหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าหากเกิดขึ้นภายใน 14 วัน ของชิ้นนั้นจะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ซึ่งตรงนี้ก็จะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่ไปลงทุนใน EEC ทำให้มีข้อได้เปรียบมากขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการที่สินค้านำเข้ามาแล้วส่งออกไป แล้วกลับเข้ามาได้อีกครั้งหนึ่งด้วยเหมือนกัน 
 
ความยืดหยุ่นตรงนี้ทำให้ผู้ค้าที่สนใจจะมาค้าในไทยโดยเฉพาะในรูปแบบอีคอมเมิร์ซต้องมีที่พักสินค้าเป็นการลดต้นทุนได้ 
 
ผมขอยกตัวอย่างเช่น จากเดิมเรานำโทรศัพท์มือถือเข้ามาขายต่อหรือเป็นตัวแทนนำเข้ามาในประเทศไทย 1,000 เครื่อง ราคาเครื่องละ 10,000 บาท จะเสียภาษีศุลกากรขาเข้าสมมติว่า 200 บาท ทั้ง 1,000 เครื่องเลย ซึ่งเท่ากับจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาแล้ว 
 
แต่ถ้าเป็นยักษ์ใหญ่เอาโทรศัพท์มือถือเข้ามากองอยู่ใน EEC ก่อน 1,000 เครื่องเท่ากันในราคาเท่ากัน เมื่อมีผู้ซื้อโทรศัพท์ 1 เครื่องในราคา 10,000 บาท เสียภาษีศุลกากรเหมือนกัน 200 บาท แต่จะเสียเพียงแค่เครื่องเดียวเฉพาะชิ้นที่ขายจริง แต่หากว่าผู้ซื้อปฏิเสธภายใน 14 วัน โทรศัพท์เครื่องนี้จะคืนกลับมาที่ Free Trade Zone อีกทีหนึ่ง ภาษีศุลกากรที่เคยเสียไปจะโดนยกเลิกได้ แต่หากเกิน 14 วันผมเข้าใจว่าต้องเสียภาษีศุลกากร 


ภาพจาก bit.ly/2xMBBZd
 
ซึ่งปกติแล้วหากลูกค้าที่จะปฏิเสธมักจะไม่เกิน 7 วัน ซึ่งระยะเวลา 14 วันนั้นครอบคลุมอยู่ ตอนนี้คนไทยนิยมซื้อสินค้าและจ่ายเงินปลายทาง เท่าที่ผมดูในท้องตลาดนั้นค่าเฉลี่ยของการคืนสินค้าหรือปฏิเสธการรับสินค้าจะอยู่ประมาณที่ 5% นั่นหมายถึงผู้ค้าที่นำสินค้าไปกองไว้ที่ EEC ก็จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเพราะว่าเป็นการเสียภาษีเป็นชิ้น ๆ และหากสินค้าชิ้นนั้นตีกลับไปก็ไม่ต้องเสียภาษีชิ้นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการคนไทยที่นำเข้าอย่างถูกกฎหมาย นำเข้ามาล็อตใหญ่ ๆ ที่ต้องเสียศุลกากรทั้งหมดเลย
 
แต่หากถามว่าได้เปรียบเยอะไหม จริง ๆ ก็ไม่ได้เยอะมาก พราะสัดส่วนของการคืนสินค้าไม่มากเท่าไหร่ เข้าใจว่าที่ภาครัฐคงพยายามออกกฎหมายนี้มาเพื่อเอื้อประโยชน์อะไรให้เขาบ้าง เพราะเขาเองก็อุตส่าห์แบกเงินมาลงทุนในบ้านเราเป็นหมื่น ๆ ล้าน
 
ส่วนการยกเว้นอากร 13 ปีที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วเป็นคนละเรื่องกัน ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องของภาษีนิติบุคคล ซึ่งผมเข้าใจว่า BOI ยกเว้นภาษีในส่วนนิติบุคคลให้ ฉะนั้นภายใน 13 ปีหรือช่วงเวลาหนึ่ง เขามีรายได้เท่าไหร่เขาก็ไม่ต้องเสียภาษีให้กับภาครัฐเพราะถือว่าอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 
 
ต้องบอกว่าการให้สิทธิพิเศษแบบนี้ BOI ให้เป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะหากคุณทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือธุรกิจที่ภาครัฐต้องการส่งเสริมเป็นพิเศษ ภาครัฐจะมีมาตรการตัวนี้ออกมาเพื่อกระตุ้นให้คนเข้ามาทำธุรกิจประเภทนี้มากขึ้น จริง ๆ คุณสามารถขอ BOI ได้ และผมเชื่อว่าใครที่ทำอยากทำธุรกิจใหม่ ๆ และคิดว่าน่าจะทำกำไรแน่ ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม S-Cruve อยากแนะนำว่าให้ไปขอ BOI ดู คุณจะได้สิทธิพิเศษหลาย ๆ อย่าง 
 
ทำไมต่างชาติอยากมาลงทุนในประเทศไทย คำตอบคือเขาจะได้รับรายได้เต็ม ๆ ภาครัฐไม่เก็บภาษี นี่เป็นนโยบายจูงใจอย่างหนึ่งที่ให้เขาเข้ามาลงทุนมากขึ้น นั่นคือสาเหตุว่าทำไมเขาถึงเว้นภาษีให้ อาจดูเหมือนว่าเขาก็ได้ประโยชน์มากกว่าเราเพราะรัฐส่งเสริมเหลือเกิน แต่มองอีกมุมหนึ่งรัฐก็อยากให้มีเม็ดเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน
 
แต่การลงทุนของธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากจีนนั้นผมว่ามีความน่ากังวลมากกว่าของพวกญี่ปุ่นที่มาตั้งโรงงานผลิตต่าง ๆ มันจะไม่เหมือนกัน เพราะการลงทุนของอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบานั้นจะมาลงทุนเรื่อง Infrastructure แม้ว่าสิ่งที่เขาบอกคือจะเอาสินค้าไทยเข้ามาอยู่ในนี้และกระจายออกไปสู่จีน แต่ในมุมกลับกันการลงทุนใน Infrastructure เหล่านี้มันเหมือนเป็นการลงทุนมาใช้พื้นที่ของเราเท่านั้น และเอาสินค้าจีนเข้ามาเทกองไว้ในพื้นที่ตรงนี้ ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นที่เป็นการตั้งโรงงาน จ้างคน ผลิตแล้วให้เราเป็นฐานส่งออก ซึ่งแตกต่างกันเป็นคนละโมเดลเลย
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,646
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,314
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
519
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
458
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด