บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.5K
3 นาที
27 มกราคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Little C ฟีเว่อร์
 

เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ COVID 19 ระบาดระลอกใหม่ จะยังมีสินค้าที่สร้างกระแสฟีเว่อร์ขึ้นมาได้ คราวนี้เป็นคิวของ Little C เบเกอรี่ที่เชื่อว่าหลายคนรู้จักและอาจจะเคยซื้อกิน และก็มีอีกหลายคนที่เราเชื่อเหมือนกันว่าไม่รู้จักแบรนด์นี้ แต่คราวนี้ Little C เป็นที่ฮือฮาเมื่อทำให้คนจำนวนมากต้องมาต่อคิวซื้อสินค้า 
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองเห็นว่าในความฟีเว่อร์นี้มีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจจึงได้รวบรวมมาเป็น 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Little C ฟีเว่อร์ มีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
 
1.กระแส “Little C” ฟีเว่อร์
 
ภาพจาก https://citly.me/vw9fz

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา สื่อท้องถิ่นอย่างเพจ “แนะนำที่กินที่เที่ยวใน จ.อุบลฯ” ได้เผยแพร่ภาพผู้คนจำนวนมาก บริเวณลานพื้นที่ว่างหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เพื่อมารอต่อคิวซื้อขนมปัง Little C ซึ่งได้มีการรายงานว่ามีคนมารอต่อคิวซื้อเป็นรายแรกตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน โดยทางแบรนด์ได้ให้สิทธิ์ซื้อเพียงแค่ 400 คิวเท่านั้น (1 คิว ซื้อได้ไม่เกิน 20 ชุด) ซึ่งก็หมดไปในระยะเวลาอันรวดเร็วแค่ 8 โมงเช้าคิวก็เต็มแล้ว
 
2.สร้างรายได้ให้ “อาชีพต่อคิว” 
 
โดยนอกจากจะเป็นการต่อคิวเพื่อมาซื้อเอง ยังทำให้เกิดอาชีพเสริมอย่างการรับจ้างต่อคิวหรือรับจ้างหิ้วขึ้นมาด้วย ว่ากันว่ามีการบวกราคาเพิ่มขึ้นไปเพื่อเป็นค่าจ้างตั้งแต่ 30 – 70 บาทต่อชุดกันเลยทีเดียว จากปกติจะขายอยู่ที่ชิ้นละ 25 บาท ซื้อ 4 แถม 1 หรือเรียกง่ายๆ ว่า 5 ชิ้น 100 บาทคิดเป็น 1 ชุด แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายรวมค่าหิ้วเป็นชุดละ 130-170 บาท ทำให้คนรับจ้างหิ้ว 1 คน มีรายได้วันละ 1,400 บาท จึงมานอนรอคิวตั้งแต่เช้ามืด เพื่อให้ทันสิทธิ์ที่มีอยู่วันละเพียง 400 สิทธิ์
 
3.รับจ้างหิ้วไปส่งถึง “ประเทศลาว”

ไม่ใช่แค่อาชีพต่อคิว และรับจ้างหิ้วที่จะสร้างรายได้ในแถบอีสาน แต่กระแสฟีเว่อร์ของ Little C ยังมีการรับหิ้วขนมส่งข้ามไปให้คนในประเทศลาวที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก โดยนัดส่งมอบกันที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อ.สิรินธร คาดว่าตลอด 20 วันที่ขนมแบรนด์ดังมาเปิดจำหน่ายจนถึงวันที่ 8 ก.พ.64 จะสร้างรายได้ให้กับอาชีพรับจ้างหิ้วเป็นเงินจำนวนมาก รวมทั้งมีการประเมินว่า การเปิดจำหน่ายขนมเจ้านี้ที่จังหวัดอุบลราชธานี ทำยอดขายพุ่งเป็นอันดับ 1 มากกว่าไปเปิดบูธขายในภูมิภาคอื่นที่เคยไปขายมาแล้วด้วย
 
4. Little C สินค้าที่น่าจะเป็นของคนไทย 


ภาพจาก www.facebook.com/LittleCBangkok
 
ที่เราใช้คำว่า “น่าจะเป็น” เพราะจากข้อมูลพบว่าชื่อเรียกของขนมปังอย่างเป็นทางการคือ “Hokkaido Milk Cream Bun” หรือ ขนมปังครีมนมสดฮอกไกโด แต่ในการสืบค้นข้อมูลพบว่าแทบไม่มีใครเอ่ยถึงเจ้าของหรือผู้ผลิตของแบรนด์เลย รู้เพียงแต่ว่ามีการใช้ชื่อต่อท้ายว่า by Cakewalk ซึ่ง Cakewalk ในที่นี้ ก็คือ “บริษัท เค้กวอล์คฟู้ด จำกัด” โรงงานผลิตเบเกอรี่ค้าปลีกและค้าส่งเพื่อผู้ประกอบการ

ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2548 และมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักดีในการผลิตเค้ก 3 มิติ โดยคำว่า Cake Walk ก็เหมือนเป็นการล้อคำมาจากคำว่า Catwalk โดยมีตัวร้านเปรียบเสมือนรันเวย์ให้บรรดาเค้กต่างๆ ได้ออกมาอวดโฉมสวยงาม จากข้อมูลดังที่กล่าวมานี้ จึงอาจสรุปได้ว่า Little C คือ แบรนด์ขนมปังของคนไทย โดยตัว C ที่ว่าอาจมาจากตัวย่อของแบรนด์ดั้งเดิมอย่าง Cake walk ก็ได้ เพราะใช้สัญลักษณ์เป็นตัว C เช่นกัน
 
5. Little C เริ่มวางขายครั้งแรก?

ในเพจ Little C Bangkok พบว่าได้มีการลงรูปและเริ่มโปรโมตแบรนด์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลในเว็บไซต์ wongnai ที่เริ่มมีการเข้าไปรีวิวตั้งแต่ปี 2561 เช่นกัน โดยสินค้าแรกๆ ที่แบรนด์ได้นำออกวางจำหน่ายนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยเริ่มต้นมาจากครัวซองต์และเบเกอรี่ชนิดอื่นๆ ด้วย แต่ต่อมาภายหลังกลับได้รับความนิยมมากขึ้น จนเกิดปรากฏการณ์คนรอต่อคิวซื้อยาว ก็เพราะขนมปังครีมนมสดนั่นเอง
 
6.รสชาติของ Little อร่อยแบบไม่มีสารกันบูด


ภาพจาก www.facebook.com/LittleCBangkok
 
เริ่มจากเนื้อขนมปังนุ่ม ไส้เยอะ ครีมนมฮอกไกโดก็หวานมันกำลังดี ที่สำคัญทำสดใหม่ และไม่ใส่สารกันบูด เมื่อคุณภาพคับกล่องขนาดนี้บวกกับราคาย่อมเยาที่ขายเพียงชิ้นละ 25 บาท และโปรโมชั่นแบบ 4 แถม 1 ที่ขายมายาวนาน จึงไม่แปลกที่ขนมปัง Little C จะได้รับความนิยมมากขนาดนี้
 
7.ดังมากแต่มีสาขาเดียว ใช้กลยุทธ์กระจายจุดขาย


ภาพจาก www.facebook.com/LittleCBangkok

จุดเด่นอีกอย่างของแบรนด์ Little C ก็คือ กลยุทธ์การทำตลาด ที่แม้ว่าจะดังมากแต่จริงๆ แล้วมีสาขาหลักแค่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ที่เหลือนอกเหนือจากนี้ที่เห็นคนต่อคิวซื้อกันเยอะๆ นั้นมาจากการออกบูธกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งนับเป็นวิธีการทำธุรกิจและสร้างแบรนด์ที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้กระจายสินค้าออกไปให้เป็นที่รู้จักออกไปในวงกว้าง ไม่ต้องยึดติดกับพื้นที่เดิมๆ ทำให้ได้พบเจอลูกค้าใหม่ๆ เป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจแล้ว การที่ Little C เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ใช้ลักษณะการขายแบบเฉพาะกิจ กลับทำให้ลูกค้าไม่เกิดความเบื่อหน่ายอีกด้วย
 
8.ผลพลอยได้ของสินค้าอื่นจากกระแสฟีเว่อร์ Little C
 
นอกจากบรรดาคนรับจ้างต่อคิวที่มีโอกาสสร้างรายได้ยังมีบางธุรกิจที่เกาะกระแสได้ทันและนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจของตัวเองได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ร้าน Diva ชาบู & ปิ้งย่าง ที่พอเห็นกระแสฟีเวอร์ดังกล่าว ก็จับมาทำโปรโมชั่นกับลูกค้าของตัวเองในวันนั้นเลย ด้วยการแจกขนมปังครีมนมฮอกไกโด 1 ชิ้นต่อ 1 ท่านฟรี! สำหรับลูกค้าที่สั่งบุฟเฟ่ต์ชุดทะเลหรือชุดเนื้อโคขุน แถมหากใครอยากฝากซื้อ ทางร้านก็ยังมีบริการรับหิ้วให้ได้ด้วย
 
9.งดดราม่า!ป้องกันเข้มงวด “COVID 19”

งานนี้งดดราม่านะจ๊ะ สำหรับใครที่กำลังมองว่าช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำไมยังมีกิจกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นอีก โดยผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่มีคนมารวมตัวกันจำนวนมาก เพื่อรอคิวซื้อขนมว่า ทางห้างร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขเทศบาลเมืองแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้มากำหนดมาตรการเว้นระยะห่าง แจกเจลแอลกอฮอล์ระหว่างมารอคิว และแจกซ้ำอีกครั้งเมื่อจะเข้าไปในห้าง

รวมทั้งมีการตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกาย การสแกนไทยชนะ เมื่อเข้าไปก็ยังมีการกำหนดมาตรการทิ้งระยะห่างตามมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 เข้มงวดมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งการจัดคิวแบ่งเป็น 5 ช่วงเวลา ช่วงเวลาละ 80 คิว เพื่อลดการรวมตัวของลูกค้า อีกทั้งจะทำให้ผู้ที่ได้รับคิวรอบบ่ายไม่ต้องรอ สามารถไปเดินช็อปปิ้ง หรือไปทำธุระอย่างอื่นแล้วค่อยกลับมารับขนมเมื่อถึงเวลา ทำให้ลดปริมาณคนที่เคยแออัดในช่วงแรกไปได้
 
10.สินค้าเด่นอย่างเดียว “ก็ปังได้”
 

ภาพจาก www.facebook.com/LittleCBangkok

Little C นอกจากใช้กลยุทธ์เรื่องการกระจายสินค้าไปตามพื้นที่ต่างๆ ไม่ให้ลูกค้าจำเจ อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจคือ One Best Product ขายอย่างเดียว ไม่ต้องเลือกเยอะหลายคนอาจคิดว่าการขายของ สินค้าต้องมีให้เลือกหลากหลาย ลูกค้าจะได้ไม่เบื่อ แต่สำหรับ Little C บอกเลยว่าทำตรงกันข้าม เพราะมีแค่สินค้าเดียว นั่นคือ ขนมปังไส้ครีมนมสดฮอกไกโด ที่โฆษณาว่า ทำสดใหม่ทุกวัน ไม่ใส่สารกันบูด ไม่มีไขมันทรานส์ ข้อดีของการมีสินค้าเดียวคือ ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาเลือกนาน ไม่ต้องตัดสินใจว่าจะกินอะไรดี ทำให้ประหยัดเวลาในการขาย และพนักงานก็จัดการง่ายไม่สับสนด้วย
 
ในสถานการณ์ที่ยากลำบากหลายคนบ่นว่าไม่รู้จะขายของยังไงให้มีคนซื้อ สิ่งสำคัญคือเราต้องหาจุดเด่นของสินค้าและสร้างเอกลักษณ์ให้คนสนใจในสินค้า จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้แห่เข้ามาซื้อสินค้าได้ หากจะถามว่าวิธีไหนอย่างไร เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ ไอเดียและการบริหารจัดการของแต่ละธุรกิจ หากยังยึดติด คิดอยู่แบบเดิมๆ ไม่คิดจะลงทุนแต่หวังผลจะสร้างยอดขายก็เป็นได้แค่การตลาดเก่าๆ ที่หมดยุคสมัยไปแล้ว
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด