บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
2 นาที
5 พฤษภาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ


เช้าวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 วงการบันเทิงได้รับข่าวเศร้า เป็นการจากไปของครูชาลี อินทรวิจิตรที่เสียชีวิตในวัย 98 ปี ปิดตำนานครูเพลงที่ได้ชื่อว่าเป็นศิลปินแห่งชาติที่เคยฝากผลงานไว้เป็นจำนวนมาก แม้คนรุ่นหลังยุคนี้จะไม่คุ้นเคยแต่ถ้าไปถามคนรุ่นพ่อรุ่นแม่พูดถึงชื่อชาลี อินทรวิจิตร ต่างนึกถึงได้ทันที โดยเฉพาะบรรดาศิลปินในยุคก่อนๆ ต่างเคยเอาผลงานการแต่งเพลงของครูชาลี มาขับร้องอย่างไพเราะ ในวาระการจากไปของครูชาลี อินทรวิจิตร

ในครั้งนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวครูชาลีเป็นอย่างยิ่งและเพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงผลงานของครูชาลี ลองมาดู 10 เรื่องจริงที่เราได้รวบรวมมา ซึ่งเราเชื่อว่ามีหลายเรื่องที่คุณยังไม่รู้จักเกี่ยวกับตำนานครูเพลงท่านนี้
 
1.ประวัติเบื้องต้นของครูชาลี
 
ภาพจาก https://citly.me/0AQ81

ชาลี อินทรวิจิตรเป็นชื่อในภายหลังซึ่งชื่อเดิมคือสง่า อินทรวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟรุ่นแรก แผนกการเดินรถ โดยมีความสนใจด้านเสียงเพลงจึงเข้าร่วมประกวดเวทีร้องเพลงงานวัด และมักจะคว้ารางวัลที่ 1 ก่อนมีโอกาสพบครูล้วน ควันธรรม จึงชักชวนไปเป็นนักร้องคณะแซมเบอร์มิวสิค ร่วมกับ สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ จนร่วมแสดงละครเพลงที่สร้างชื่อเสียงคือ จุฬาตรีคูณ และผู้ชนะสิบทิศ
 
2.หมดยุคละครเพลง เริ่มเข้าสู่วงการดนตรี

หลังสิ้นยุคละครเพลง ครูชาลี อินทรวิจิตร ผันเข้าสู่วงการดนตรีโดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกวงดนตรีประสานมิตร ที่มีครูสมาน กาญจนะผลิน, ครูประสิทธิ์ พยอมยงค์ และครูสง่า ทองธัช เป็นกำลังสำคัญ ภายหลังทั้ง 3 ท่านได้รับการเชิดชูเป็นปรมาจารย์นักแต่งทำนองเพลงคนสำคัญของเมืองไทย ด้วยแรงสนับสนุนของ 3 นักแต่งทำนอง ส่งผลให้ครูชาลีผู้แต่งคำร้อง มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพเป็นที่ประจักษ์ต่อวงการเพลง
 
3.ผลงานประพันธ์คำร้องกว่า 1,000 เพลง
 
ครูชาลี มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงเกือบ 1,000 เพลง เพลงแรกที่ครูชาลีเป็นผู้ประพันธ์คำร้องคือ เพลง รักชั่วชีวิต ติดตามมาด้วยเพลง ไกลบ้าน, กว๊านพะเยา, ค่าของคน, คู่กรรม, จำเลยรัก, เจ้าพระยา, ท่าฉลอม, ฉันรักผัวเขา, ดวงตาสวรรค์, ตะวันยอแสง, ทะเลไม่เคยหลับ, ทุ่งรวงทอง, เทวดาเดินดิน, เธออยู่ไหน, น้ำเซาะทราย ฯลฯ เป็นต้น
 
4.ผลงานด้านการแสดงของครูชาลี
 

ภาพจาก https://citly.me/0b1VX

นอกจากผลงานด้านการประพันธ์เพลง ครูชาลียังฝากผลงานด้านการแสดงไว้อีกมากมายเช่น สวรรค์มืด (2501), จอมใจเวียงฟ้า (2505), ไอ้ฝาง ร.ฟ.ท. (2525) และกำกับภาพยนตร์อีกจำนวนมาก เช่น ปราสาททราย (2512), กิ่งแก้ว (2513) และ สื่อกามเทพ (2514) เป็นต้น
 
5. “เมื่อเธอจากฉันไป” บทเพลงที่คิดถึงภรรยา
 
ครูชาลีได้สมรสกับนักแสดงหญิง ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ซึ่งภายหลังได้เกิดเหตุหายไประหว่างการถ่ายทำเรื่องอีจู้กู้ปู่ป้า ของกำธร ทัพคัลไลย เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบตัว ภายหลังเหตุการณ์นั้น ชาลี ได้แต่งเพลงเพื่อระลึกถึง โดยใช้ทำนองเพลง Aubrey ของเดวิด เกตส์ แห่งวงเบรด (Bread) ใช้ชื่อเพลงว่า เมื่อเธอจากฉันไป ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร ต่อมานำมาขับร้องใหม่โดย อรวี สัจจานนท์
 
6.ผู้กำกับเจ้าของรางวลตุ๊กตาทอง และอีกหลายรางวัล

ในวัยหนุ่มของครูชาลีนอกจากจะแต่งเพลงแล้ว ยังเคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง และได้รับรางวัลมากมายได้แก่ รางวัลตุ๊กตาทอง (พระสุรัสวดี) รางวัลสุพรรณหงส์ และภาพยนตร์แห่งชาติ จากภาพยนตร์เรื่องลูกทาส, บ้านทรายทอง, ลูกเจ้าพระยา, ค่าของคน, อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง, น้ำเซาะทราย และครูจันทร์แรม โดยภาพยนตร์เรื่องเกวียนหัก เป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของครูชาลี อินทรวิจิตร ส่วนรางวัลละครโทรทัศน์ได้แก่ รางวัลเมขลา จากเรื่องทหารเสือพระเจ้าตาก, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลกิตติคุณ สังข์เงิน จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 อีกด้วย
 
7.ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง


ภาพจาก https://citly.me/0b1VX

ครูชาลี เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปีพุทธศักราช 2536 มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สดุดีมหาราชา, แสนแสบ, ท่าฉลอม, สาวนครชัยศรี, ทุ่งรวงทอง, มนต์รักดอกคำใต้, แม่กลอง, เรือนแพ, จำเลยรัก ฯลฯ 
 
8.ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

นอกจากการได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ซึ่งถือเป็นบุคคลเดียวของประเทศที่ได้รับเกียรติ 2 ด้าน คือด้านประพันธ์คำร้องและกำกับภาพยนตร์ ยังมีรางวัลอันทรงเกียรติที่น่าภูมิใจที่สุดคือการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จากในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้ครูชาลี ปลาบปลื้มอย่างมาก
 
9.ผลงานของครูชาลี โดนละเมิดลิขสิทธิ์
 
ครูชาลี อินทรวิจิตร เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานอีกคนหนึ่ง ที่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ละเมิดสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากมีบริษัทห้องอัดแผ่นเสียง ได้ละเมิดลิขสิทธิ์นำผลงานเพลงจากมาสเตอร์เทปที่ครั้งหนึ่งครูชาลีเคยไปเช่าบริการห้องอัด นำมาบันทึกแผ่นจัดจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่ลิขสิทธิ์ผลงานการประพันธ์เพลงของครูชาลี อินทรวิจิตร อยู่ในความดูแลของบริษัท คมฆ์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
 
10.สุเทพ วงษ์กำแหงคือคนที่ร้องเพลงของครูชาลี มากที่สุด

ครั้งหนึ่งครูชาลีเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ส่วนใหญ่เพลงที่แต่ง สุเทพ วงศ์กำแหง จะร้องมากสุด แต่ตอนหลังกลายเป็นชรินทร์ นันทนาคร คือชีวิตเขาฝากไว้ที่ผม เขาบอกว่าไม่ให้ลืมเขาอะไรแบบนี้ ถ้าเกิดผมแต่งเพลงเขาอยากจะร้องทุกเพลง”
 
แนวทางการประพันธ์เพลงของครูชาลี จะเขียนตามอารมณ์ที่อ่อนไหว จึงทำให้บทเพลงของครูชาลีมีความเป็นธรรมชาติเหมือนกับการถ่ายทอดความคิดของคนๆหนึ่งไปเล่าสู่อีกคนหนึ่ง จึงทำให้บทเพลงของครูชาลีติดอยู่ในใจตของผู้ฟังตลอดมา นอกจากนี้ครูชาลียังเป็นคนสนุกเฮฮา มีเพื่อนและคนรู้จักเยอะ มักมีคนมารับและพาไปกินข้าว หรือพาไปร้องเพลงเสมอๆ

โดยในแต่ละเดือนจะสังสรรค์กันกับพวกผู้กำกับฯ และดารารุ่นเก่า ๆ อย่างโขมพัสตร์ อรรถยา และแจ๊สสยาม ซึ่งการจากไปของครูชาลี ในครั้งนี้ถือเป็นการปิดตำนานครูเพลงที่ฝากผลงานไว้อย่างมากมายและเชื่อว่าบทเพลงของครูชาลี จะอยู่ในความทรงจำของคนไทยไปอีกนาน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
439
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด