บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.7K
3 นาที
9 สิงหาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ยาฟาวิพิราเวียร์


ปัจจุบันชื่อของยาฟาวิพิราเวียร์กลายเป็นยาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี โดย ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นชื่อสามัญของยากลุ่ม Avigan ของบริษัท Fujifilm Toyama Chemical ที่ได้รับการอนุมัติใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในญี่ปุ่น ยาตัวนี้เคยถูกนำมาใช้กับการรักษาไข้หวัดใหญ่ อีโบล่า และโรคติดต่อจากไวรัสอื่นๆ มาก่อนหน้าที่จะใช้เป็นยาต้านCOVID 19 และถึงตอนนี้ประเทศไทยก็ได้สิทธิในการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ใช้เอง หลายคนแม้จะรู้จักและได้ยินชื่อของยานี้แต่ www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่ามีอีกหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก
 
1.ทำความรู้จักยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) 
 
ภาพจาก https://citly.me/CGVtK

ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ปัจจุบันยาฟาวิพิราเวียร์ถือเป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ตามแนวทางการดูแลรักษา COVID-19 โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากยานี้มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณไวรัสได้ดี และจากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศไทย พบว่าการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะรุนแรงของ COVID-19
 
2.หลักการทำงานของยาฟาวิพิราเวียร์
 
ยาฟาวิพิราเวียร์จะออกฤทธิ์ 2 แบบ คือ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์ คือ เข้าไปยับยั้งเอนไซม์ RNA-dependent RNA polymerase,RdRP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีในไวรัสเท่านั้น เมื่อยาเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นสาร Active Form) ให้ไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสจนหมด หรือเหลือปริมาณน้อยจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้อีก
 
3.ผู้ป่วยแบบไหนที่ควรใช้ยาฟาวิพิราเวียร์

แพทย์จะพิจารณาเริ่มยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ ที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน รวมถึงในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
 
4.การรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์
 
ภาพจาก https://citly.me/Oj91Y

ยาฟาวิพิราเวียร์อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ขนาดยาที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 9 เม็ดทุก 12 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือครั้งละ 4 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมงในวันที่เหลือ ผู้ที่น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ขนาดยาจะสูงขึ้น โดยในวันแรกจะรับประทานครั้งละ 12 เม็ดทุก 12 ชั่วโมง และลดเหลือครั้งละ 5 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมงในวันที่เหลือ สำหรับผู้ป่วยเด็กจะต้องมีการคำนวณขนาดยาตามน้ำหนักตัว ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามวันและเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ระยะเวลาในการรักษาอยู่ที่ 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย 
 
5.ทำไมยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ควรใช้กับผู้ป่วย COVID ทุกคน

ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส ในกลุ่มที่มีอาการ ซึ่งขึ้นกับการตอบสนองของร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน ข้อดีของยาฟาวิพิราเวียร์ คือ ยานี้ดูดซึมง่าย แบ่งหรือบดเม็ดยา และให้ทางท่อหลอดอาหารได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ต้องปรับขนาดยา แต่เนื่องจากไวรัสปรับตัวเร็ว มีหลายสายพันธุ์ที่เริ่มดื้อยา ถ้าใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ฟุ่มเฟือย โดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ไม่มียารักษาผู้ป่วย COVID ที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นได้ยาฟาวิพิราเวียร์จึงไม่ควรจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยทุกคน จะจ่ายสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
 
6.ผลข้างเคียงจากการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์


ภาพจาก https://citly.me/5ykxf

ข้อดีของยาฟาวิพิราเวียร์ คือดูดซึมง่าย แต่ก็มีผลข้างเคียงที่ควรระวังไว้เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการ หากรับประทานยาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก และอาจมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือกผิดปกติ เมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด นอกจากนี้ยังมีผลต่อการทำงานของตับ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร หรือยาที่มีผลต่อตับ และควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
 
7.ความต้องการใช้ยาฟาวิพาราเวียร์ สูงขึ้นกว่า 20 เท่า

คำนวณว่าการติดเชื้อรายใหม่ที่เฉลี่ย 20,000 คน/วันจะต้องใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ประมาณ 30 ล้านเม็ดต่อเดือน ซึ่งตัวเลขการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาใช้เฉลี่ยวันละ 40,000-50,000 เม็ด และหากตัวเลขผู้ติดเชื้อยังสูงต่อเนื่องอาจต้องใช้เฉลี่ยถึงวันละ 1 ล้านเม็ด ถือว่าสูงขึ้นกว่า 20 เท่าในช่วงเวลา 3 เดือน โดยยาฟาวิพิราเวียร์ต่อผู้ป่วย 1 คนที่ตรวจพบเชื้อ ต้องใช้ยาชนิดนี้ 50-70 เม็ดต่อคน และความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่อขณะนี้มีแนวทางการรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ที่โรงพยาบาลที่รับดูแลผู้ป่วยต้องเป็นผู้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้คนไข้ตามการประเมินของแพทย์
 
8.กำลังการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศอยู่ที่ 160 ล้านเม็ดต่อเดือน
 
หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องยาฟาวิพิราเวียร์ คือ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยนำเข้าเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน อภ. ได้สิทธิบัตรในการนำมาวิจัยพัฒนา และผลิตเอง โดยขึ้นทะเบียนกับ อย. เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา โดยมีกำลังการผลิตในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.5 ล้านเม็ด อย่างไรก็ตาม อภ. ได้ระบุว่าจะเพิ่มปริมาณการผลิตด้วยการเปิดสายการผลิตที่ 5 โรงงานผลิตยาขององค์การเภสัชกรรมเองที่คลอง 10 อีกแห่ง จะทำให้ผลิตได้เดือนละไม่น้อยกว่า 160 ล้านเม็ดต่อเดือน
 
9.พัฒนายาน้ำเชื่อม ฟาวิพิราเวียร์ ช่วยผู้ป่วยเด็ก-สูงอายุ
 

ภาพจาก https://citly.me/LlpWG

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนายา ฟาวิพิราเวียร์ สูตรน้ำเชื่อม ตำรับแรก ใช้สำหรับ ผู้ป่วยโควิด ในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือกลืนยาเม็ดลำบาก โดยตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์นี้ปราศจากน้ำตาล มีการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตัวยาสำคัญ ตลอดจนมีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาตามมาตรฐานสากล ลักษณะเป็นยาน้ำใส สีส้ม รสราสเบอรี่ มี 2 ขนาด คือ ขนาด 800 มิลลิกรัมใน 60 มิลลิลิตร และ ขนาด 1,800 มิลลิกรัมใน 135 มิลลิลิตร
 
10.ระวังเจอ “ฟาวิพิราเวียร์” ปลอม
 
องค์การอาหารและยาออกมาเตือนว่าการซื้อยาฟาวิพิราเวียร์มารับประทานเอง อาจเสี่ยงต่อการเจอยาปลอมที่ไม่มีสรรพคุณในการรักษา หรือการใช้ฟาวิพิราเวียร์โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เพราะ ยาฟาวิพิราเวียร์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียงและผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์
 
การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์คือวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการป่วยและลดอัตราการเสียชีวิตในระดับหนึ่งแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ COVID ซึ่งเราเชื่อว่าขณะนี้ทุกคนต่างก็ยกการ์ดตัวเองให้สูง เพราะทุกคนก็มีครอบครัว มีคนที่รัก ซึ่งโรคนี้ถือว่าติดต่อได้ง่าย การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ดูจะเป็นทางออกที่ดี แต่ก็ไม่รู้ทำไมว่าการฉีดวัคซีนในตอนนี้ถึงได้หายากเย็นและเข้าถึงประชาชนได้ยากเหลือเกิน
 
สามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
  
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด