บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.3K
3 นาที
27 กันยายน 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! สควิดเกม เล่นลุ้นตาย (Squid Game)
 

หนังเกาหลีในประเทศไทยได้รับความนิยมสูงมาก คนดูส่วนหนึ่งติดใจพระเอกที่ทั้งหล่อทั้งสวย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งหนังเกาหลีมีพลอตเรื่องที่น่าสนใจ โดยล่าสุดเป็นหนังเกาหลีที่ชื่อว่า Squid Game หนังแนวเอาชีวิตรอด แม้พลอตเรื่องจะไม่ได้แปลกใหม่ แต่การนำเสนอของผู้กำกับ “ฮวังดงฮยอก” สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ

หลายคนมองว่า Squid Game มันคือการจิกกัดสังคมเกาหลีที่สะท้อนให้เห็นด้านมืดในความเป็นจริงของวิถีชีวิตที่แท้จริงมีความเครียด ความกดดัน ความไม่เท่าเทียมกันต่างๆ โดยหนังเรื่อง Squid Game แม้จะมีจำนวนเพียง 9 ตอนแต่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่ามีหลายอย่างที่เป็นแง่คิดน่าสนใจและเชื่อว่าอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับ Squid Game เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เคยรู้มาก่อน
 
1.ที่มาของชื่อ “Squid Game”

แรงบันดาลใจของ Squid Game มาจากผู้กำกับ “ฮวังดงฮยอก” ดึงเอาเกมที่เคยเล่นในวัยเด็ก อย่าง AEIOU , ดีดลูกแก้ว , ตักจีชีกี หรือแม้แต่ Squid Game มาถ่ายทอดในอีกแง่มุม โดยสอดแทรกเรื่องราวชีวิตของผู้เล่นแต่ละคนลงไป ซึ่งบรรดานักแสดงในเรื่องต่างเล่นได้น่าประทับใจ มีพลอตเรื่องที่เชื่อมโยงให้เข้าใจว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงต้องมาร่วมเล่น Squid Game เค้าโครงเรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่สีสันของเกมที่เด็กๆเคยเล่นในสมัยก่อน แต่มันคือการดึงให้คนดูร่วมลุ้นว่าทำไมถึงต้องเล่นเกมนี้ , แล้วจุดจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
 
2.เค้าโครงเรื่องโดยย่อ “Squid Game”
 
ภาพจาก Netflix

เค้าโครงเรื่องของ Squid Game คือการนำคน 456 คนมาร่วมแข่งขันเกมเอาชีวิตรอด ซึ่งชีวิตของแต่ละคนมีมูลค่า 100 ล้านวอน ดังนั้นเงินรางวัลในเกมนี้จึงสูงถึง 45,600 ล้านวอน (ประมาณ 1.27 พันล้านบาท) โดยกติกาในเกมคือเราร่วมเล่นเกมที่ทางผู้จัดกำหนดขึ้น จำนวน 5 เกม คนที่เหลือรอดคนสุดท้ายคือผู้ชนะและจะได้เงินรางวัลทั้งหมดไป แน่นอนว่าคนที่แพ้จะต้อง “ถูกกำจัด” หมายถึงจะต้องตาย ในเรื่องนี้เราจึงได้เห็นหลากหลายอารมณ์ของมนุษย์ในช่วงที่ต้องเอาตัวรอด ต้องชนะ ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองเอาชนะในเกมนั้นๆ และมีชีวิตรอดไปให้ได้
 
3.เริ่มเขียนบทตั้งแต่ปี 2008

ผู้กำกับเรื่องนี้ได้เริ่มเขียนบทดราฟต์แรกของ Squid Game เล่นลุ้นตาย ตั้งแต่ปี 2008 แต่ด้วยเนื้อหาของเรื่องที่หลายคนไม่คุ้นเคยอีกทั้งยังดูรุนแรงเกินไป ทำให้บทในเรื่องนี้ไม่ได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนัง และวางเก็บเอาไว้กว่า 13 ปี จนกระทั่งทาง Netflix ได้มองเห็นเสน่ห์ของหนังเรื่องนี้และอนุญาติให้ผู้กำกับสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างอิสระจนกลายเป็น Squid Game เล่นลุ้นตาย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
 
4.จุดแตกต่างของ Squid Game กับซีรีย์แนวเอาชีวิตรอดอื่นๆ 
 

ภาพจาก Netflix

Squid Game ไม่ใช่หนังแนวเอาชีวิตรอดเรื่องแรก ก่อนหน้านี้เราอาจเคยเห็นหนังของญี่ปุ่นอย่าง Battle Royale หรือในฝั่งยุโรปก็มีหนังแนวคล้ายๆกันอีกหลายเรื่องเช่น The Hunger Games แต่เสน่ห์ของ Squid Game ที่แตกต่างคือการเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ นำเสนอความจริงของชีวิตว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเอาตัวรอดได้ในยุคแห่งทุนนิยม ในเรื่องนี้ตอนแรกผู้เล่นหลายคนโหวตที่จะไม่เล่นเกมต่อ และเมื่อเกมยุติลงได้กลับไปใช้ชีวิตปกติกันอีกครั้ง ก็เหมือนกับไปสู่วังวนของชีวิตเดิม ๆ คือไม่มีเงิน เป็นหนี้ โดนตามทวงหนี้ จนทำให้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจกลับมาแข่ง ของ Squid Game อีกครั้งแม้จะรู้ว่าต้องวางเดิมพันด้วยชีวิตก็ตาม
 
5. Squid Game ซีรีย์ที่สะท้อนให้เห็นความหดหู่ของชีวิตยุคทุนนิยม

ในยุคที่เงินเป็นสิ่งสำคัญ Squid Game ได้สะท้อนให้เห็นเรื่องนี้ผ่านตัวละครในเรื่องเช่น ซองกีฮุนผู้ที่ชีวิตเดินทางมาถึงทางตัน ทั้งหนี้สิน การพนัน และครอบครัวที่เขาเหนี่ยวรั้งเอาไว้ไม่ได้ เขากำลังต้องการเงิน เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่จะส่งให้เขาหลุดพ้นจากทุกปัญหาและมีชีวิตอย่างคนอื่นๆ ได้สักที หรือโจซังอู รุ่นน้องที่เติบโตมาในละแวกเดียวกับกีฮุน เป็นเด็กหัวดีที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล แต่แล้วเขากลับเลือกทางเดินที่ผิดพลาด และต้องหาเงินมาชดใช้หนี้จำนวนมหาศาล เป็นต้น
 
6. “ทัลโกนา” ขนมสุดฮิตจากเรื่อง Squid Game
 

ในเกมที่ 2 ของ Squid Game ทางผู้จัดแข่งขันมีเกมให้เล่นคือ “การแกะน้ำตาล” ซี่งในเกาหลีเรียกว่า “ทัลโกนา” ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทรายขาวหรือแดงและเบกกิ้งโซดาเท่านั้น ในในช่วงยุค 90 ขนมทัลโกนาเป็นที่นิยมของเด็ก ๆ ชาวเกาหลีมาก โดยมักวางขายตามท้องถนน ทำแบบสด ๆ ร้อน ๆ ซึ่งผู้ขายบางรายจะท้าทายให้ลูกค้าแกะขนมให้ได้ตามรูปพิมพ์ หากใครทำได้ล่ะก็รับขนมฟรีไปเลย ในเรื่อง Squid Game ก็เช่นกันใครที่แกะขนมน้ำตาลได้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดก็จะเป็นผู้ผ่านเข้ารอบต่อไป
 
7.การเล่นตักจีชีกี 

ในช่วงแรกของ Squid Game เป็นตอนที่ตัวเอกของเรื่องได้ถูกชวนให้เข้าร่วมเล่นเกม โดยผู้ที่เข้ามาเชิญได้เสนอให้ตัวเอกของเรื่องเล่นเกมตักจีชีกี ซึ่งที่จริงแล้ว ตักจีชีกี เป็นการละเล่นของเด็กเกาหลีที่สืบทอดมาจากราชวงศ์โชซอน โดยตักจีเป็นของเล่นเกาหลีที่ทำมาจากการพับกระดาษสองแผ่นทับกัน โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบน ๆ และมีสีสัน

วิธีการเล่นก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ตักจีของตัวเองตบลงไปที่ตักจีของฝ่ายตรงข้าม ถ้าตักจีของอีกฝ่ายพลิกไปอีกด้านเราก็จะชนะ แต่ถ้าเราตบลงไปแล้วตักจีของอีกฝ่ายไม่พลิก อีกฝ่ายก็จะสามารถใช้ตักจีมาตบตักจีของเราได้ถ้ายังไม่พลิกอีกก็ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ ฝ่ายไหนที่ทำตักจีฝ่ายตรงข้ามพลิกได้ก่อนก็จะชนะ
 
8.วิธีเล่น Squid Game ของเด็กในเกาหลี

Squid Game ที่ได้เอามาเป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์นี้ แท้ที่จริงเป็นการเล่นของเด็กๆที่มีอยู่จริงในยุค 70-80 โดยการเล่นจะวาดรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ออกมารูปร่างคล้ายปลาหมึกลงบนพื้น แล้วแบ่งทีมรุก-ทีมรับ ผู้เล่นฝ่ายบุกจะต้องกระโดดด้วยขาข้างเดียวและพยายามหาทางบุกเข้าไปในตัวปลาหมึก ซึ่งหากไปถึงตัวปลาหมึกได้จะสามารถวิ่งได้ 2 ขาและแน่นอนว่าฝ่ายตั้งรับจะต้องพยายามไม่ให้ฝ่ายบุก ได้รุกเข้ามาในตัวปลาหมึกได้ จนเหลือผู้เล่นคนสุดท้ายที่เข้าไปอยู่ในส่วนหัวของปลาหมึกได้จะเป็นผู้ชนะ
 
9.ชีวิตแบบทุนนิยมที่สะท้อนมาจาก Squid Game

การดำเนินเรื่องใน Squid Game ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการเงินของตัวละครแต่ละคนนำมาสู่การแข่งขันที่อันตรายต้องแลกด้วยชีวิตเพื่อเป้าหมายคือเงินรางวัลมหาศาล เป็นการตีแผ่สังคมยุคทุนนิยมที่ชัดเจนโดยมีข้อมูลจากการสำรวจในปี 2016 มีชั่วโมงการทำงาน 2,069 ชั่วโมงต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการทำงานต่อปีราว 1,757 ชั่วโมง และที่แย่กว่านั้นคือผลสำรวจในปี 2015 โดย Macromill Embrain ระบุว่าจากการสำรวจคนเกาหลี 1,000 คน 76.6% บอกว่าต้องการย้ายไปอยู่ในประเทศที่ผ่อนคลายกว่านี้ และ 61.7% ตอบว่าต้องการออกไปจากสังคมการแข่งขันสูงของเกาหลีที่เป็นอยู่
 
10. Squid Game ภาค 2???


ภาพจาก Netflix

หลังจากจบภาคแรกไปเรียบร้อย แต่ดูเหมือนว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ค้างคาใจผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นการโปรยทิ้งท้ายของเรื่องที่ยังคงมีการจัดแข่ง Squid Game ขึ้นมาอีกครั้งแม้ในครั้ง แม้ว่าในภาคแรกจะได้มีการเปิดเผยแรงบันดาลใจของผู้ที่ก่อตั้ง Squid Game ขึ้นมาและผู้ก่อตั้งก็ได้เสียชีวิตแล้ว (ในเรื่อง) และทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องที่เข้าไปสืบคดีนี้ที่มีตอนหนึ่งถูกผู้ร้ายยิงตกหน้าผา แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะต้องเสียชีวิต ทำให้มีความเป็นไปได้ที่อาจจะกลับมาในภาค 2 หรือแม้แต่ตัวเอกของเรื่องที่ยังต้องการสืบหาความจริงของ Squid Game ก็ยังเป็นประเด็นน่าสนใจที่ทำให้เชื่อว่ามีโอกาสที่จะสร้างภาค 2 ขึ้นมาได้
 
สิ่งที่เราได้เห็นจาก Squid Game นอกจากความสนุก การติดตามเนื้อเรื่องอันเข้มข้น อยากดูบทสรุปของเรื่องว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้ว่าทุกวันนี้เราก็มีชีวิตเหมือน Squid Game แม้ว่าเราไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน ไม่ได้วางเดิมพันที่เล่นเกมแพ้แล้วต้องเสียชีวิต แต่สิ่งที่เราทุกคนต้องการก็คือ “เงิน” ซึ่งหมายถึงรางวัลแห่งชีวิต และคนส่วนใหญ่ก็ยินดีทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้ “มีเงิน” จึงไม่ต่างจาก Squid Gameในชีวิตจริงที่เราทุกคนเล่นกันอยู่ทุกวัน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด