บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.7K
3 นาที
1 พฤศจิกายน 2564
“ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” ดีต่อธุรกิจแค่ไหน! ใครได้ประโยชน์มากที่สุด
 

Buy Now Pay Later (BNPL) หรือ ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง เป็นโมเดลธุรกิจของการให้บริการทางการเงิน ที่กำลังเป็นที่นิยมในบรรดาแพลตฟอร์มต่าง ๆ www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าโมเดลนี้เป็นกระแสที่สอดคล้องกับการจับจ่ายของคนยุคใหม่ ลักษณะอาจจะคล้ายกับการจ่ายผ่านบัตรเครดิตแต่มีรายละเอียดที่แตกต่างและที่สำคัญได้ประโยชน์ทั้งเจ้าของธุรกิจและลูกค้า ลองมาดูว่า Buy Now Pay Later นี้ดีแค่ไหน และใครได้ประโยชน์จากวิธีนี้มากที่สุด
 
ทำความรู้จักวิธี “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (Buy Now Pay Later)

ภาพจาก bit.ly/2ZHjQcq

Buy Now Pay Later (BNPL) หรือซื้อก่อนจ่ายทีหลัง คือ บริการการเงินที่จุดขาย โดยจะอนุมัติให้ลูกค้าได้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการก่อน และหลังจากนั้นค่อยผ่อนชำระค่าสินค้าและบริการ หลักการเบื้องต้นของ BNPL จะเริ่มต้นตั้งแต่ลูกค้าได้ทำการซื้อของหรือบริการจากร้านค้าปลีกที่เข้าร่วมบริการ จากนั้นเลือกตัวเลือก BNPL ที่โหมดการชำระเงิน ภายหลังจากที่ระบบตรวจสอบประวัติลูกค้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะอนุมัติให้ทำธุรกรรมดังกล่าว

โดยอาจต้องชำระเงินเบื้องต้นอย่างน้อย 25% จากยอดซื้อทั้งหมด แล้วรอชำระเงินส่วนที่เหลือจนกว่าจะครบกำหนดไว้ ในการชำระเงินรูปแบบนี้ ลูกค้ามีตัวเลือกที่ยืดหยุ่น สามารถเลือกแบ่งชำระเงินได้เป็นงวด ๆ เช่น ทุก ๆ 2 สัปดาห์ หรือ ทุก ๆ เดือน และสามารถชำระเงินสดผ่านธนาคาร หักจากบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตได้อัตโนมัติ

มองผิวเผินอาจไม่ต่างจากการซื้อของด้วยบัตรเครดิตรแต่จุดเด่นของ BNPL คือ BNPL ไม่มีการเก็บดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมรายปีเพิ่มเติม ต่างจากบัตรเครดิตที่เมื่อลูกค้ามีกำหนดชำระเงินทุกเดือนสิ่งที่ตามมาคือยอดสินเชื่อคงค้าง ยิ่งระยะเวลาผ่อนชำระนานมากเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มจากเงินต้นมากขึ้นในทุก ๆ งวด ซึ่งส่งผลให้เกิดหนี้ได้โดยไม่จำเป็น
 
กระแสของการตลาด “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง”
 
ภาพจาก https://on.mktw.net/3w1rmdT

ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now, Pay Later : BNPL) กำลังเป็นเทรนด์การจับจ่ายซื้อของบนโลกออนไลน์ ข้อมูลจาก Worldpay ผู้ให้บริการ E-Payment เผยว่า มูลค่าธุรกรรมที่เกิดจาก BNPL ในปี 2020 สูงถึง 97,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.1% จากธุรกรรมการเงินทั้งหมด และอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็น 4.2% ภายในปี 2024 และข้อดีที่น่าสนใจยิ่งกว่าเพราะคนที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถซื้อหรือผ่อนชำระได้เหมือนกัน และแม้แต่คนที่ถือบัตรเครดิตอยู่แล้วก็กำลังหันมาชำระเงินด้วยวิธีนี้ โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้วิธีการขายแบบนี้ฮอตฮิตขึ้นมาได้แก่
  1. คนหันมาช็อปออนไลน์มากขึ้น อันเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดในช่วงที่ผ่านมา
  2. ปัญหาเรื่องรายได้ที่ลดลง ทำให้การใช้จ่ายแต่ละครั้งต้องคิดให้ดี สินค้าราคาแพงมักจะเป็นตัวเลือกที่ถูกตัดออกก่อน แต่วิธีแบบ BNPL เข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เพราะแทนที่จะต้องจ่ายเงินทันทีผู้ซื้อสามารถเลื่อนการชำระเงินไปวันหลังได้ โดยตัวเลือกยอดนิยมจะจ่ายใน 30 วัน หรือแบ่งง่ายเป็นงวดๆ โดยที่ปลอดดอกเบี้ย 
  3. เป็นบริการที่ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเครดิต โดยผู้ใช้งานไม่ต้องมีการขอหลักประกันเหมือนกับการขอสินเชื่อ แก้ปัญหาข้อจำกัดทางการเงินของลูกค้าให้สะดวกยิ่งขึ้น
การเปิดตัว การตลาดแบบ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now, Pay Later) ในประเทศไทย
 
ภาพจาก bit.ly/3Ey5oSO

การตลาดแบบ ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now, Pay Later) มีจุดเริ่มต้นจาก Afterpay ในปี 2558 หลังจากนั้นก็มีบริการเดียวกันจาก Klarna ขึ้นในยุโรป และ Affirm เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และเทรนด์นี้ได้สู่ประเทศไทย โดยแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shoppee ที่เพิ่งเปิดตัว SPayLater ในช่วงกลางปี 2564 หรือมาร์เก็ตเพลสอย่าง LerdBuy ที่กำลังทำการตลาดอย่างหนักโดยชู BNPL เป็นจุดขาย โดยสถิติชี้ชัดว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Millennials และ Gen Z) นิยมใช้บริการนี้กว่า 80%

โดยที่สินค้ายอดนิยมที่ผู้บริโภคซื้อโดยใช้บริการ BNPL ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ รวมไปถึงสินเค้าเพื่อความบันเทิงดิจิทัลอื่นๆ อย่าง ภาพยนตร์ เกม หรือเพลง และในอีกไม่นานเราจะเห็นบริการชำระเงิน BNPL ในธุรกิจท่องเที่ยว และแม้กระทั่งการดูแลสุขภาพด้วย
 
ประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้รับจาก ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now, Pay Later)

โดยทั่วไปแล้ว แพลตฟอร์มที่ให้บริการ BNPL จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้าสูงถึง 8-10 เปอร์เซ็นต์ต่อการสั่งซื้อ ซึ่งมากกว่าที่บริษัทบัตรเครดิต แต่เมื่อลองคำนวณดูแล้วอาจมีประโยชน์หลายประการ ได้แก่
 
1.ธุรกิจได้รับเงินสดเต็มจำนวนทันที
 
ภาพจาก bit.ly/3w3fjMV

เมื่อลูกค้าใช้บริการ BNPL แพลตฟอร์มจะเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าเต็มจำนวนให้กับร้านค้า และรับภาระในการติดตามการชำระเงินหรือการผ่อนชำระจากลูกค้า
 
2.เพิ่มโอกาสในการขายของธุรกิจมากขึ้น
 
การต้องใช้เงินก้อนใหญ่ในการซื้อของอาจเป็นเหตุผลให้คนยุคนี้ตัดสินใจไม่ซื้อ เท่ากับปิดโอกาสในการขาย แต่ BNPL จะช่วยให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจแบบนั้นเพราะภาระที่ต้องจ่ายนั้นเบาลงจนจ่ายได้ หรือบางครั้งลูกค้ายังไม่แน่ใจว่าจะซื้อสินค้านั้นเป็นครั้งแรกดีหรือไม่ ถ้าได้ของมาลองก่อนที่จะต้องจริงก็ช่วยให้ตัดสินใจซื้อมาลองได้ง่ายขึ้น
 
3.โอกาสในการซื้อซ้ำเพิ่มมากขึ้น 
 
ภาพจาก bit.ly/3bsO058

จากข้อมูล พบว่านักช็อปที่มีประสบการณ์ใช้บริการ BNPL 15-20 ครั้งต่อปี จะเข้าแอปพลิเคชันเพื่อเลือกดูสินค้า 10-15 ครั้งต่อเดือน และมีข้อมูลว่าร้านค้าที่มีบริการ BNPL จะมีอัตราการซื้อซ้ำที่ 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่าสูงมาก
 
4.โอกาสในการขยายฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
 
วิธีใช้จ่ายแบบนี้สามารถดึงดูดลูกค้าที่อาจจะไม่คิดซื้อสินค้าของแบรนด์มาก่อนอาจจะเพราะสินค้ามีราคาสูง เมื่อร้านค้าเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการ BNPL ทำให้สามารถเข้าถึงผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าใหม่ได้อีกจำนวนมาก
 
5.โอกาสขายสินค้าราคาสูงเป็นไปได้มากขึ้น
 
ภาพจาก bit.ly/3brAmzx

สมัยนี้สินค้าราคาสูงคนจะไม่กล้าจ่าย เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายอย่าง แต่ BNPL เน้นไปที่การแบ่งชำระตั้งแต่ 2เดือนไปจนถึง 1 ปี ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าราคาสูงได้ง่าย บริการนี้มักได้รับความนิยมสูงสุดในสินค้าที่มีราคาสูงเพิ่มโอกาสของธุรกิจในการขายสินค้าราคาสูงได้มากขึ้นเช่นกัน
 
ตัวอย่างของธุรกิจหลายแห่งในโลกที่ใช้วิธี BNPL ในการเข้าถึงลูกค้าและเพิ่มยอดขายเช่น Mastercard ได้เปิดบริการผ่อนชำระ BNPL ที่มีชื่อว่า “Mastercard Installments” หรือห้างค้าปลีกอย่าง Macy’s ในสหรัฐอเมริกาด้ใช้กลยุทธ์ Partnership สร้างความร่วมมือกับ Klarna แพลตฟอร์ม BNPL เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้า เช่นเดียวกับ Affirm อีกหนึ่งแพลตฟอร์ม BNPL ก็ได้จับคู่ไปกับร้านค้าอื่น ๆ เช่น Shopify, Gucci, Bonobos, The RealReal และ Pelonton 
 
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือกลยุทธ์การตลาดในโลกของธุรกิจสมัยใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน วิธีการตลาดแบบเดิมๆ การเข้าถึงลูกค้าแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลดีอีกต่อไป โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดโควิดพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงการเรียนรู้และก้าวตามเทคโนโลยีการตลาดสมัยใหม่มีผลอย่างมากต่อการอยู่รอดสำหรับคนทำธุรกิจ
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด