บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.1K
2 นาที
3 พฤษภาคม 2565
รายได้แค่ไหน? ถึงจะพอใช้ในยุคนี้
 

สิ่งที่น่ากลัวพอๆกับโควิดก็คือค่าครองชีพที่สูงสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิม หลายคนตั้งคำถามจะเป็นโควิดก่อนหรือจะอดตายก่อน ยิ่งยุคนี้เงินทองก็หายาก จึงมีคนตั้งคำถามว่า รายได้แค่ไหน ถึงจะพอใช้ในยุคนี้ ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าเป็นเรื่องที่พูดยากเพราะมาตรฐานความเป็นอยู่และความคาดหวังของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่างถ้ามีเงิน 1 ล้านบาทสำหรับบางคนอาจเป็นก้อนใหญ่มากแต่สำหรับบางคนอาจเห็นเป็นเงินก้อนเล็กนิดเดียว ใช้ได้ไม่นานก็หมด ดังนั้นหากจะสนทนากันในหัวข้อนี้ก็ขอใช้ภาพรวมในเกณฑ์เฉลี่ยมาเป็นบรรทัดฐานเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดมากขึ้น
 
เงินเดือนเฉลี่ยคนทำงานส่วนใหญ่ พอใช้ในยุคนี้หรือไม่?
 

เราขออ้างอิงจากข้อมูลของบรรดามนุษย์เงินเดือนเป็นหลัก ซึ่งระบุว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยอยู่ประมาณ 19,430 บาท (ขอย้ำว่าเป็นเงินเดือนเฉลี่ย ซึ่งบางคนอาจมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็ได้) แต่ค่าครองชีพโดยเฉพาะการอยู่ในกรุงเทพฯเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 27,485 บาท

จะเห็นว่าตัวเลขค่าครองชีพนี้สูงกว่าเงินเดือน ซึ่งเป็นค่าครองชีพที่คิดรวมจากค่าน้ำมันรถ , ค่าเดินทาง , ค่าเช่า(กรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้าน) หรือบางคนมีค่างวดในการผ่อนชำระทั้งรถยนต์ , บ้าน รวมถึงบัตรเครดิตต่างๆ หากตัดค่าครองชีพใหญ่ๆ ออกไปก็ยังเหลือค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่าประกันชีวิต ต่างๆ รวมๆแล้วต่อคนก็ยังมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท

ยิ่งตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบหลายอย่างปรับราคาเพิ่มขึ้นค่าครองชีพก็ยิ่งสูงมากขึ้นด้วย คำถามว่าเงินเดือนจากค่าเฉลี่ยนี้พอใช้หรือไม่ คำตอบคือส่วนใหญ่ไม่พอใช้ บางคนเดือนชนเดือน ที่จะเหลือกินเหลือเก็บนั้นเป็นเรื่องยาก สำหรับบางคนอาจมีรายได้เสริมจากช่องทางอื่นก็ทำให้แต่ละเดือนอาจมีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายที่คล่องตัวมากขึ้นได้
 
แล้วต้องมีเงินแค่ไหน ถึงจะพอกับค่าใช้จ่ายในยุคนี้?
 

เคยมีการคำนวณตัวเลขของเงินสำหรับคนวัยเกษียณ (คิดจากอายุ 60) ใช้เวลาในการเก็บออมตั้งแต่เริ่มทำงาน (คิดจากอายุ 30) ระบุว่าคนวัยเกษียณควรจะมีเงินอย่างน้อย 6 ล้านบาทสำหรับช่วงบั้นปลายชีวิต แต่คำถามคือแล้วถ้าเป็นตอนนี้ ตอนที่ยังไม่เกษียณจะต้องมีเงินแค่ไหนจึงจะเรียกว่าพอใช้ไม่ขัดสน เรื่องนี้มีสูตรคำนวณได้แก่ สูตรเงินออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนเริ่มงาน)
 
ตัวอย่างเช่นเริ่มทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 เงินเดือน 15,000 ตอนนี้อายุ 32 เงินเดือน 30,000 เงินเก็บที่ควรมีในตอนนี้ได้แก่ 2 x (32 – 22) x (30,000 + 15,000) = 900,000 บาท ซึ่งตัวเลขสุดท้ายนี้จะเป็นเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับอายุในการทำงาน ฐานเงินเดือนของแต่ละคนเป็นหลัก แต่ไม่จำเป็นว่าตัวเลขสุดท้ายที่คำนวณได้จะต้องอยู่ในแบบของเงินสดเสมอไปอาจหมายถึงสินทรัพย์อื่นๆ ที่เป็นของเราได้ด้วย เช่น สลากออมสิน , กองทุนรวม , บ้านและที่ดิน เป็นต้น
 
ซึ่งการคำนวณดังกล่าวนี้ทำให้เราพอมองเห็นตัวเลขคร่าวๆ ให้เรารู้ว่าตอนนี้ที่เราทำงานอยู่ กับเงินเก็บที่เรามี หรือเราควรมี ควรจะเป็นเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าหลายคนพอได้คำนวณออกมาตัวเลขที่เห็นกับเงินเก็บที่แท้จริงอาจสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในความจริงปัจจัยรายจ่ายของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็มีอีกสูตรในการเก็บเงินที่น่าสนใจด้วย
 
40-30-10-10-5-5 สูตรนี้สำหรับการเก็บเงิน
 

คือการจัดสรรค่าใช้จ่ายออกเป็น 5 กลุ่มและกำหนดจำนวนเงินที่จะใช้ในแต่ละกลุ่ม เช่น ค่าอาหาร และค่าเสื้อผ้า 30% , ค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่อาศัย 40% , ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง 5% , ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ 5% , ค่าเดินทาง 10% , เก็บออม 10%
 
ถ้าคิดจากสูตรนี้คนที่มีเงินเดือน 15,000 จะใช้จ่ายค่าเสื้อผ้าได้ไม่เกินเดือนละ 4,500 บาท , จ่ายค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์และของใช้ต่างๆ ไม่เกินเดือนละ 6,000 บาท ,จ่ายค่ารถค่าเดินทางได้เดือนละไม่เกิน 1,500 บาท เป็นต้น และแน่นอนว่าหลายคนต้องแย้งว่าเรื่องนี้ทำไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นสูตรนี้จึงเป็นแค่แนวทางให้ได้ลองนำไปใช้ หรือลองนำไปปฏิบัติดูเท่านั้น

 
สิ่งสำคัญสำหรับการมีเงินพอใช้ในยุคนี้อยู่ที่การบริหารจัดการของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ บางคนมีเงินเดือน 15,000 แต่มีรายได้เพิ่มจากทางอื่นรวมรายได้ต่อเดือนอาจถึง 20,000 -30,000 บาท หรือบางคนแต่งงานมีรายได้รวมกัน ตัวเลขเหล่านี้ก็ควรนำมาปรับใช้ในแต่ละครัวเรือน ที่สำคัญควรมีการแบ่งส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินเก็บ เงินออมเผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
531
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด