บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.1K
2 นาที
5 พฤษภาคม 2565
ก่อนออกจากงาน ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ถึงเป็นเถ้าแก่เปิดร้านได้
 

หลายคนที่กำลังทำงานประจำ หรือกลุ่มคนมนุษย์เงินเดือน ถ้ามีความคิดอยากลาออกจากงานเพื่อมาเปิดร้านหรือทำธุรกิจของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ถึงจะออกมาทำธุรกิจของตัวเองได้และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง วันนี้ www.ThaifranchiseCenter.com จะวิเคราะห์และหาข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ
 
มนุษย์เงินเดือนหลายคนคิดอยากจะเปิดร้านอาหารหรือร้านขายอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่าจะใช้เงินลงทุนเปิดร้านเท่าไหร่ จะเลือกเปิดร้านแบบสร้างขึ้นมาเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งทั้งสองรูปแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ก่อนอื่นต้องนึกถึงเรื่องเงินที่จะนำมาทุน และการวางแผนธุรกิจเสียก่อน
 
อยากเปิดร้านเอง
 

ถ้าใครอยากเปิดร้านเอง สมมติว่าเป็นร้านอาหารเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก ไม่มีค่าเช่า น่าจะใช้เงินลงทุนหลักหมื่นบาท ไม่เกินแสนบาท ถ้าเป็นพื้นที่เช่าต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการก่อสร้าง การตกแต่งร้าน รวมถึงค่าเช่าพื้นที่มาเกี่ยวข้องด้วย
 
สำหรับเงินลงทุนเปิดร้านอาหารมีหลักการคำนวณค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100% โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 
  1. ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านหรือตกแต่งอาคาร โต๊ะเก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ 
  2. เงินทุนสำหรับซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้ภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นตู้แช่ต่างๆ หม้อ จาน ถ้วย ช้อน  เตา แก้ว เครื่องครัว และอื่นๆ ซึ่งต้องดูว่าจะเปิดร้านอาหารประเภทอะไร อะไรไม่จำเป็นไม่ต้องซื้อ
  3. เงินทุนหมุนเวียนภายในร้าน เงินในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อวัตถุดิบในการทำอาหาร เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ 
มาถึงตรงนี้ให้มนุษย์เงินเดือนที่อยากเปิดร้านอาหารของตัวเอง ก็ลองนึกภาพดูว่าร้านอาหารในฝันที่วาดไว้จะใช้เงินทุนมากน้อยขนาดไหน สมมติว่าคำนวณค่าใช้จ่ายแล้วว่าต้องใช้เงิน 60,000 บาทสำหรับเปิดร้านอาหารเล็กๆ ดังนั้น ก่อนออกจากงานประจำ คุณก็ต้องมีเงินเก็บมากกว่า 60,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างรอการเปิดร้านด้วย 
 
 
 
โดยเงินลงทุนในการเปิดร้านอาหาร 60,000 บาท จะแบ่งออกเป็นค่าออกแบบและตกแต่งร้านประมาณ 15,000 บาท, ค่าซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวและอาหารประมาณ 15,000 บาท และค่าใช้จ่ายในร้าน ค่าวัตถุดิบ ประมาณ 30,000 บาท 
 
นั่นคือกรณีเปิดร้านอาหารแบบไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ถ้าเป็นร้านอาหารแบบนั่งทานในร้านรูปแบบ Restaurant อาจจะต้องใช้เงินลงทุนหลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งคนที่มีเงินเดือนสูงก็อาจจะใช้เวลาเก็บเงินเปิดร้านอาหารน้อยกว่าคนเงินเดือนต่ำๆ 
 
อยากซื้อแฟรนไชส์
 

หากคุณเลือกเปิดร้านหรือทำธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ จะทำให้คุณรู้ว่าจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะเปิดร้านได้ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์จะมีการคำนวณเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกมาให้เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์, ค่าออกแบบและตกแต่งร้าน, ค่าอุปกรณ์, ค่าวัตถุดิบ, เงินทุนหมุนเวียน และอื่นๆ 
 
สำหรับเงินลงทุนซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จะมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ค้าปลีก งานพิมพ์ อสังหาฯ เป็นต้น 
 
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดร้านด้วยการซื้อแฟรนไชส์ คุณจะต้อง Check list ก่อนว่า วิธีการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด ต้องทำอย่างไรกันบ้าง 
 
1.ถามใจตัวเองก่อนว่าชอบอะไร
 

คุณต้องคุยกับตัวเองกันก่อนว่า อยากเริ่มต้นทำธุรกิจจริงๆ หรือเปล่า และคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ด้วยว่า คุณต้องการทำงานเวลาไหน คุณมีความสามารถพิเศษด้านใด หรือ ทำอะไรแล้วมีความสุข (ชอบทำอาหาร ชอบทาน ชอบอยู่กับสัตว์เลี้ยง) ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอให้ผ่านช่วงเริ่มต้นไปให้ได้ ควรเผื่อเอาไว้หลายเดือนหน่อย ห้ามโลกสวยเด็ดขาด
 
2.สำรวจเงินในกระเป๋าว่ามีเท่าไหร่
 
สำรวจจิตใจกันไปแล้ว คราวนี้คงต้องกลับมาสำรวจกระปุกออมสิน หรือสมุดบัญชีกันต่อเลยว่า ตอนนี้มีเงินทุนเท่าไหร่ หากยังมีไปพอก็อย่าพึ่งถอดใจ คุณมาคิดกันต่อว่าขาดอีกเท่าไหร่ ต้องเก็บกี่เดือน ตั้งเป้าแล้วพุ่งชนเข้าไปเลย หรือจะเลือกหาข้อมูลกู้ยืมจากธนาคารที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่หลายๆ ธนาคาร เพื่อใช้เริ่มธุรกิจก็สามารถทำได้
 
3.ประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ
 

โดยการเริ่มต้นมองในภาพรวมของประเภทธุรกิจนั้นก่อน ว่าตลาดของธุรกิจนั้นมีลูกค้ามากหรือน้อย ใครเป็นคนซื้อ และใครเป็นคนใช้จริง ธุรกิจมาตามกระแสหรือไม่ เช่น คุณอาจจะชอบสอนเด็กๆ วาดรูปอยากเปิดโรงเรียนสอนพิเศษ แต่ต้องคำนึงถึงคนที่ตัดสินใจ และจ่ายเงินคือผู้ปกครอง และกลุ่มผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกเรียนวาดรูปมีจำนวนเท่าไหร่ 
 
4.มองหาส่วนที่เป็นจุดอ่อนของธุรกิจนั้น
 
มาถึงตรงนี้คาดว่าตัวเลือกก็น่าจะเหลือน้อยลง แล้วมาลองถามตัวเองอีกทีว่า ลึกๆ ในใจคุณเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจที่เลือกจะสามารถเจริญเติบโตไปในทุกสภาพเศรษฐกิจได้ไหม ในบางอุตสาหกรรมนั้นสามารถที่จะเติบโตไปได้ในทุกๆ สภาพเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจร้านตัดผม หรือ ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ
 
5.ค้นหารายชื่อและข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์
 

เมื่อคุณรู้ประเภทของธุรกิจที่ต้องการ และมีโอกาสเติบโตแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการค้นคว้าหาข้อมูลแฟรนไชส์ เพราะในยุคข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะหารายชื่อ ข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่สนใจได้ไม่ยาก โดยเฉพาะจากเว็บไซต์แฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถืออย่าง www.ThaiFranchiseCenter.com มีธุรกิจแฟรนไชส์ให้เลือกหลากหลาย 
 
#ค้นหาแฟรนไชส์ตามเงินลงทุน https://bit.ly/3Fgdr8m
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด