บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
6.1K
2 นาที
19 กุมภาพันธ์ 2557
รู้เขารู้เรา....ก่อนเข้าสู่ AEC ตอน ฟอร์มดีและห่วงโซ่ธุรกิจ..กำหนดชะตาธุรกิจได้

ในตอนที่แล้วได้เปิดประเด็นปัญหาของคนไทยในฐานะประชากรอาเซียน ว่าค่อนข้างอ่อนด้อยกว่าประชากรอาเซียนของอีก 9 ประเทศเขาตรงเรื่องศักยภาพการใช้ภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง แถมด้วยยังไม่สนใจภาษาของประเทศเพื่อนบ้านอย่างภาษา บาฮาซา หรือมาเลย์ ที่ใช้พูดกันอยู่ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย  บรูไน และตอนใต้ของประเทศไทย
 
นี่ยังไม่นับรวมภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาพม่า ที่คนของเขาเข้ามาทำงานในประเทศไทยอยู่มากมายฟังและพูดภาษาไทยรู้เรื่องเป็นอย่างดี  และยังมีภาษาเวียตนามที่เศรษฐกิจรวมถึงการพัฒนาประเทศของเขาจี้หลังไทยมาแบบหายใจรดต้นคอ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วคนไทยจะแข่งขันกับเขาในตลาดแรงงาน และตลาดการค้าที่เปิดเสรีต่อกันได้แค่ไหน  และเราต้องเร่งใช้เวลาที่เหลืออีก 3 ปีนี้  ฝึกฝนคนของเราให้มีความสามารถเฉพาะตนในการพูดภาษาอังกฤษ  ภาษาของคู่เจรจาการค้าและภาษาอื่นๆในอาเซียน   ให้พูดกับเขาได้รู้เรื่องไปแล้ว

ครั้งนี้จะขอยกเรื่อง “ ห่วงโซ่ธุรกิจ” มาเป็นหัวข้อที่ SMEs ไทยพึงต้องเตรียมตัวศึกษาหาข้อมูลไว้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้ไม่พลาดพลั้งในการดำเนินธุรกิจหากจะมุ่งตลาดนอกประเทศไม่ว่าจะเรื่องส่งออกสินค้า  หรือย้ายฐานการผลิตสินค้าไปอยู่ในประเทศที่ต้นทุนค่าแรงถูกกว่า  มีวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมได้มากกว่า ฯลฯ
 
เนื่องด้วยไม่ว่าในหลักการของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน หรือ AEC จะดูสวยหรูว่าต่อไปนี้เราทั้ง 10 ประเทศจะรวมตัวกันเสมือนดังแผ่นดินเดียว  เป็นฐานการผลิตสินค้าให้กันและกันและจับมือกันค้าขายเป็นตลาดเดียวกันอย่างไรก็ตาม  แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ  ความเป็นรัฐประเทศของแต่ละประเทศนั้นยังคงอยู่   ดังนั้นผลประโยชน์ของประเทศตนย่อมสำคัญกว่า  

เมื่อเป็นเช่นนี้มาตรการกีดกันสินค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีศุลกากร [ Non Tariff  Barrier : NTB ] ที่แต่ละประเทศคู่ค้า  จะสรรหาวิธีการนำออกมาใช้หรือหาเหตุเป็นข้ออ้างไม่ให้สินค้าของประเทศอื่น  เข้าสู่ตลาดในประเทศของตนได้โดยสะดวก ย่อมมีแน่นอน  เช่น   วิธีการง่ายๆแค่เรื่อง   ทำให้รถขนสินค้าเสียเวลารอผ่านด่านบริเวณพรมแดนนานเป็นพิเศษสินค้าถึงมือลูกค้าช้ากว่ากำหนด  หรือกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องมาตรฐานสินค้าที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดประเทศอาเซียนที่ขณะนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขอนามัยและคุณภาพสินค้า

และที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง “ ข้อตกลงถิ่นกำเนิดสินค้า” ที่ชี้ชัดลงตรงเรื่องของสัดส่วนของต้นทุนการผลิตสินค้าที่กำหนดไว้ว่า  สินค้านั้นต้องมีต้นทุนผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศของตนเอง 40 %  ใช้ต้นทุนจากประเทศอาเซียนอื่น  60 %  เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานเดียว ที่ทำหน้าที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน  เรียกว่า ฟอร์ม ดี นี้ได้
 
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ นี้  (Preferential Certificate of Origin) คือเอกสารสำคัญที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจข้ามชาติ  โดยทำให้ผู้ซื้อสามารถมีสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนๆไขของแต่ละความตกลง ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 02-547-4753, 02-547

เรื่องของข้อตกลง “ ถิ่นกำเนิดสินค้า ” นี้สัมพันธ์อย่างยิ่งกับเรื่อง “ ห่วงโซ่ธุรกิจ” เพราะถิ่นกำเนิดสินค้า จะกำหนดว่าสินค้าชนิดนั้นใช้วัตถุดิบและแรงงานของประเทศตนมีมูลค่าที่เกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตเป็นสัดส่วนอย่างน้อย  40  เปอร์เซ็นต์ไหม ใช้วัตถุดิบและแรงงานของประเทศกลุ่มอาเซี่ยนกี่เปอร์เซ็นต์   นำเข้ามาจากประเทศนอกอาเซี่ยนกี่เปอร์เซ็นต์  

เนื่องด้วยการที่ผู้ประกอบการส่งออกจะได้รับสิทธิได้รับหนังสือรับรองฟอร์ม ดี  เพื่อไปใช้แนบใบ invoice ให้ลูกค้าของตน  สำหรับลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0% นั้น มีเงื่อนไขชัดเจนว่า ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าตามพิกัดสินค้าใด  จะนำสินค้าเข้าไปขายในประเทศอาเซียนอื่น  ต้องมีสัดส่วนเป็นการให้ประโยชน์เฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันนี้เท่านั้น 
 
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว  ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก  ต้องรู้ละเอียดว่าในห่วงโซ่ธุรกิจของตน  ควรใช้วัตถุดิบต้นน้ำ  กลางน้ำ  ปลายน้ำ  รวมถึงแรงงานและพลังงานจากแหล่งไหน จึงจะทำให้สินค้าของตนมีองค์ประกอบครบ จนได้รับสิทธิได้ใบฟอร์มดี จากกรมการค้าต่างประเทศ  

อีกทั้งต้องพยายามสืบค้น สะสม ข้อมูล มาตรการกีดกันทางการค้าที่ เป็น NTB ของประเทศที่เรามุ่งหวังจะส่งสินค้าเข้าไปขายว่ามีอะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน [ Supply Chain ] ของเราเอง อันจะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุดทางด้านการยกเว้นภาษี ค้าขายสะดวกราบรื่น ปลอดพ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  [ Non  Tariff  Barrier : NTB ] ที่ประเทศคู่ค้าของตนนำมาใช้
 
เรื่องเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องดิ้นรนขวนขวายหาความรู้ปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความทันสมัย  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการสืบค้น  และเก็บข้อมูลห่วงโซ่ธุรกิจของตน   ตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบว่ามีที่ไหนผลิตบ้าง ต้นทุนราคาเป็นอย่างไร  กระบวนการผลิตวัตถุดิบเป็นอย่างไร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ใช้แรงงานเด็กหรือกดขี่ค่าแรงงานเด็กสตรีและคนชราหรือไม่  ให้โอกาสกับแรงงานพิการหรือไม่ 
 
มาถึงขั้นตอนการนำวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า

จุดนี้สัมพันธ์กับเรื่องของข้อตกลง “ ถิ่นกำเนิดสินค้า ” เพราะสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันในอาเซียนนั้น ถูกกำหนดว่าต้องมีมูลค่าเกิดขึ้นในประเทศผู้ผลิตเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือนำเข้าจากประเทศอาเซียน
 
อื่นด้วยกัน เนื่องด้วยการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าหรือการลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ เป็นการให้ประโยชน์เฉพาะประเทศในกลุ่มนี้เท่านั้น 
 
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ต้องรู้ละเอียดว่าในห่วงโซ่ธุรกิจของตน  ควรใช้วัตถุดิบต้นน้ำ  กลางน้ำ  ปลายน้ำ  รวมถึงพลังงานจากแหล่งไหน อีกทั้งต้องพยายามสืบค้น สะสม ข้อมูล มาตรการกีดกันทางการค้าที่ เป็น NTB  ของประเทศที่เรามุ่งหวังจะส่งสินค้าเข้าไปขายว่ามีอะไรบ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน [ Supply Chain ] ของเราเอง อันจะช่วยให้เราได้ประโยชน์สูงสุด   ค้าขายสะดวกราบรื่น  ปลอดพ้นจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  [ Non  Tariff  Barrier : NTB ] ที่ประเทศคู่ค้าของตนนำมาใช้

อ้างอิงจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด