บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
943
1 นาที
9 มีนาคม 2566
ธุรกิจร้านอาหาร รอดหรือร่วง ขาย 100 โดนหัก 32.1
 

การทำธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบันจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาแอปเดลิเวอรี่ต่างๆ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างมากกว่าการขายหน้าร้านอย่างเดียว แต่เจ้าของร้านอาหารต้องเข้าใจด้วยว่าการใช้บริการระบบดังกล่าว จะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า GP หรือ Gross Profit เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางร้านต้องเสียให้กับบริการส่งอาหาร 
 
 
ถ้าเทียบกับระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง ก็คือ ค่า Royalty Fee และ Marketing Fee นั่นเอง ที่เจ้าของแอปฯ หรือเจ้าของแฟรนไชส์จะช่วยเหลือสาขาให้คนรู้จักร้านและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น แต่ถ้าถามว่าธุรกิจร้านอาหาร จะอยู่รอดได้หรือไม่ เมื่อขาย 100 บาท แต่โดนหัก 32.1 บาท วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ 
 
โดยเฉลี่ยต้นทุนของค่า GP จะอยู่ที่ประมาณ 30-35% เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องสามารถควบคุมต้นทุนและกำหนดราคาเมนูอาหารแต่ละประเภทให้ได้กำไรที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องรู้จักวิธีการการคำนวณค่า GP ด้วย โดยปกติแอปเดลิเวอรี่จะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าไปด้วย 
 
วิธีการคำนวณค่า GP
 

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของแอปฯ ส่งอาหาร จะคำนวณจาก รายได้ที่ได้รับจากการสั่งอาหาร เช่น
  • รายการอาหารที่สั่ง 100 บาท หัก ค่า GP 30% = แอปฯ มีรายได้ 30 บาท
  • รายได้ 30 บาท จะหักอีก 7% = 2.1 บาท
  • ร้านอาหารจะมีต้นทุนใช้บริการจากรายการสั่งอาหารอยู่ที่ 32.1 บาท (30+2.1) 
ยกตัวอย่าง รายการอาหาร 100 เทียบเท่ากับค่าเปอร์เซ็นต์ คือ การสั่งแต่ละรายการอาหาร เจ้าของร้านสามารถคำนวณตามสูตร ดังนี้ ราคาอาหาร – 32.1% = รายได้จริง (100-32.1% = 67.9 บาท) โดนหัก 32.1 บาท 
 
อีกตัวอย่าง ราคาอาหาร 300 บาท หัก ค่า GP ที่รวม VAT 7% แล้ว ก็จะได้เป็น 300 – 32.1% = 203.7 บาท (โดนหัก 96.3 บาท) สมมติว่าเจ้าของร้านอาหารได้รับคำสั่งซื้ออาหารจากลูกค้าผ่านแอปฯ เป็นเมนูต้มยำไก่ ราคา 300 หักค่า GP 32.1% จะเหลือ 203.7 บาท เมื่อนำไปหักออกจากต้นทุนอาหารและอื่นๆ ประมาณ  100 บาท จะเหลือกำไร 103.7 บาท 
 
 
สรุป ธุรกิจร้านอาหารจะสามารถอยู่รอดได้ ถ้าหากขาย 100 แล้วโดนหัก 32.1% แต่เจ้าของร้านอาหารจะต้องรู้ในเรื่องของการคำนวณค่า GP ที่ส่วนใหญ่จะเก็บที่ 30-35% ที่สำคัญเจ้าของร้านอาหารจะต้องเข้าใจตัวเลขรายรับ-รายจ่าย รวมถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายคงที่ต่างๆ ภายในร้านอาหารของตัวเอง บางร้านมีค่าเช่า ไม่มีค่าเช่า ซึ่งแต่ละร้านอาหารจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่เหมือนกัน จึงอย่าไปเปรียบเทียบกับร้านอื่นๆ เพราะกำไรแต่ละร้านก็จะไม่เหมือนกันด้วยเช่นกัน
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
731
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
500
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
424
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด