บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
14K
2 นาที
10 พฤศจิกายน 2566
จุดคุ้มทุน (Break Even Point) VS ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ต่างกันอย่างไร?
 
 
ธุรกิจนี้จะคุ้มทุนเมื่อไหร่? แล้วต้องใช้เวลาแค่ไหนกว่าจะคืนทุน?  ทั้ง 2 เรื่องนี้สำคัญมากและใครคิดอยากลงทุนต้องอยากรู้มากที่สุด และบางคนที่ไม่เข้าใจก็มองว่าทั้งจุดคุ้มทุนและระยะเวลาคืนทุนนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ซึ่ง 2 คำนี้มีความหมายที่ต่างกันและวิธีการหาผลลัพธ์ก็แตกต่างกันด้วย เราจึงควรเข้าใจและศึกษาเพื่อนำไปใช้พัฒนาธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
 
การคำนวณหาจุดคุ้มทุน (Break Even Point)
 

จุดคุ้มทุน หมาย ถึง ระดับของยอดขายกิจการที่เท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกิจการ ซึ่งก็คือจุดที่กิจการไม่มีผลกำไรหรือขาดทุน (ตัวเลขมีค่าเท่ากับศูนย์) จุดคุ้มทุนจะสามารถหาได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการสามารถแยกได้ว่าค่าใช้ จ่ายของธุรกิจนั้นมีอะไรเป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรอย่างละเท่าไรบ้าง 
 
การหาจุดคุ้มทุนนั้นให้เริ่มต้นจากการหาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของธุรกิจ โดยค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
 
1.ค่าใช้จ่าย Fixed Cost คือค่าใช้จ่ายที่คงที่ ไม่แปรผันตามยอดขาย ต่อให้ขายมากขายน้อยหรือไม่ขายเลยก็ต้องเสีย ได้แก่ ค่าแรงพนักงาน(F/T) , ค่าเช่าพื้นที่(กรณีที่เป็นFix Rate) , ค่าเสื่อม เป็นต้น

2.ค่าใช้จ่าย Variable Cost คือค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามยอดขาย ได้แก่ ค่าแรงพนักงาน(P/T) , ค่าวัตถุดิบอาหารค่าน้ำ , ค่าไฟฟ้า , ค่าแก๊ส เป็นต้น (เป็นต้นทุนที่ผันแปรกับยอดขาย ถ้าขายได้มาก ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็มาก)
 
**สูตรคำนวณ Break Even Point (B.E.P.) ที่จะใช้ คือ  Fixed cost / (1-Variable cost)**
 
ลองดูตัวอย่างตามตาราง ดังนี้
 
Fixed Cost Variable Cost
ค่าเช่า 20,000 
ค่าแรง  30,000 
ค่าเช่าอุปกรณ์และอื่นๆ 10,000 
ค่าสาธารณูปโภค(ค่าน้ำ , ค่าไฟ ,ค่าแก๊ส , วัตถุดิบ ฯลฯ) 30%
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 10%
รวม Fixed Cost = 60,000 บาท รวม Variable Cost = 40 %
  สูตรคำนวณ B.E.P. =  Fixed cost / (1 - Variable cost)
B.E.P. = 60,000

 

/  (1 – 0.40)
= 60,000 / 0.6
= 100,000 บาท
 
 
 
จากตารางนี้หมายถึงว่าร้านนี้จะต้องขายให้ได้ 100,000 บาท  จึงจะถึงจุดคุ้มทุน Break Even Point ซึ่งเป็นตัวเลขที่ร้านยังไม่มีกำไรเพียงแค่เสมอตัวไม่ต้องควักทุนหมุนเงินมาเติม แต่ถ้าต้องการกำไรก็ต้องทำให้ยอดขายของร้านสูงกว่า 100,000 บาท โดยหากต้องการให้มีจุดคุ้มทุนที่ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรก็สามารถทำได้โดย เพิ่มราคาขาย หรือลดต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ลง หรือส่งเสริมการตลาดเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น 
 
สูตรการคำนวณระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
 

ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) คือ ระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เราลงทุนเปิดร้านหรือทำธุรกิจ จนถึงวันที่เราได้ผลตอบแทน หรือได้กำไรคืนเท่ากับเงินที่ลงทุนไปตอนแรก  ซึ่งหากเป็นการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ก็อาจต้องรวมค่าแรกเข้าเป็นอีกต้นทุนที่นำไปคิดรวมด้วย
 
**สูตรคำนวณระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
 
Payback Period = เงินทุนที่ลงทุนทั้งหมด/ผลประโยชน์สุทธิที่ได้รับในแต่ละเดือน 
 
งบลงทุน งบกำไร-ขาดทุน (หลังเปิดร้าน)หากมียอดขาย 100,000
ลงทุนทำร้าน 100,000 
ค่าแรกเข้า(แฟรนไชส์ซี) 50,000
ต้นทุนการขาย(วัตถุดิบ) 50,000 
ต้นทุนคงที่ 15,000
ต้นทุนผันแปร 6,000
รวม 150,000 บาท กำไรแท้จริง 100,000 - (50,000+15,000+6,000)=29,000
    
Payback Period 

 
= 150,000/29,000
= 5.2 เดือน
 
 
 
สำหรับตัวเลขระยะเวลาคืนทุนยิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ซึ่งในตัวอย่างที่ยกมานี้หมายความว่าหากร้านนี้มีกำไรสุทธิ 29,000 ต่อเดือนและลงทุนขั้นต้นไป 150,000 จะมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 5.2 เดือนโดยประมาณ ซึ่งในระยะเวลาที่เลยจากนี้ไปร้านจึงจะเริ่มมีกำไร
 
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) อย่าลืมว่าคำศัพท์ทั้ง 2 คำนี้แม้จะคล้ายกันแต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือในการ วิเคราะห์ในกรณีที่ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจึงควรเรียนรู้เพื่อจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการของธุรกิจได้อย่างถูก ต้องและเหมาะสมต่อไป
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,721
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,329
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
525
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
524
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
469
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
436
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด