บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
492
2 นาที
25 มีนาคม 2567
แฉ! จริงมั้ย? เจ้าของ Platform รวย เจ้าของร้านเจ๊ง
 

เป็นประเด็นดราม่าให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง กรณีแอปฯ เดลิเวอรี่ กับ ร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารโอดถูกเอาเปรียบ โดนหักยิบ ทั้งค่าคอม ค่าบริการเสริม จนแทบไม่เหลือยอดขาย ถ้าวันไหนไม่ขาดทุน ก็แค่เสมอตัว 
 
ถ้าถามว่า หากร้านอาหารขายผ่านแอปฯ ขาดทุน แล้วฝั่งแอปฯ รวยจริงหรือไม่ มาดูกัน 

เจ้าของแพลตฟอร์ม รวยจริงมั๊ย?
 

ผู้ให้บริการแอปฯ แต่ละค่าย ไม่ว่าจะสีเขียว สีม่อง สีชมพู สีเหลือง และอื่นๆ จะมีต้นทุนการดำเนินงานหลายอย่าง ทำให้ต้องเก็บค่า GP จากร้านอาหาร 30-35% แต่ละค่ายจะเก็บไม่เท่ากัน แม้ทางร้านอาหารจะมองว่าสูง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยังไม่มีผู้ให้บริการแอปฯ ค่ายไหนได้กำไร มีแค่ Grab เจ้าเดียวเท่านั้นที่พึ่งจะทำกำไรได้  
 
มาดูรายได้ปี 2565 ของผู้ให้บริการแอปฯ ค่ายหลัก 
  • Grab มีรายได้ 15,197.4 ล้านบาท กำไร 576 ล้านบาท
  • LINE MAN มีรายได้ 7,802.8 ล้านบาท ขาดทุน 2,730 ล้านบาท
  • Food panda มีรายได้ 3,628.1 ล้านบาท ขาดทุน 3,255 ล้านบาท
  • Robinhood มีรายได้ 538.2 ล้านบาท ขาดทุน 1,986 ล้าบาท 
สำหรับช่องทางการหารายได้ของผู้ให้บริการแอปฯ คือ เก็บค่า GP และ ส่วนแบ่งค่าส่งกับคนขับเดลิเวอรี่ แต่แอปฯ บางเจ้า ก็ไม่ได้เก็บค่าส่งตามอัตราจริง เพราะเป็นการแข่งขันทางการตลาด ต้องการดึงดูดลูกค้ามาใช้บริการผ่านแอปฯ ของตัวเอง จึงคิดค่าส่งถูกไว้ก่อน แต่แอปฯ จำเป็นต้องแบกภาระต้นทุนเอาไว้ 
 

 
โดยต้นทุนค่าใช้จ่ายหลักๆ ของแอปฯ แต่ละค่าย อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่คร่าวๆ จะมีค่าใช้จ่าย คือ   
  • ค่าโปรโมชั่นส่วดลดให้ลูกค้าราวๆ 10 บาท
  • ค่าโปรโมท ค่าบริการช่องทางจ่ายเงินออนไลน์
  • ต้นทุนคนขับ 1 เที่ยว ประมาณ 65-70 บาท
  • ค่าสิทธิประโยชน์คนขับ
  • ค่าเทคโนโลยี แพลตฟอร์ม
  • ค่าพนักงาน
ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีลูกค้าสั่งอาหาร 1 ออเดอร์ ราคาขึ้นหน้าจอ 100 บาท ผู้ให้บริการแอปฯ ได้ค่า GP จากร้านอาหาร 32% อยู่ที่ 32 บาท 
 
ถ้าส่งอาหารระยะทาง 5-6 กิโลเมตร ผู้ให้บริการแอปฯ จะได้ค่าส่งราวๆ 20 บาทจากลูกค้าที่สั่งอาหาร ทำให้ผู้ให้บริการแอปฯ มีรายได้ทันที 52 บาท จากการสั่งอาหาร 1 ออเดอร์
 
แต่รายได้ 52 บาท ยังไม่ได้นำไปหักต้นทุนต่างๆ จากข้างต้น ได้แก่ ค่าโปรโมชั่นส่วนลด 10 บาท + ค่าคนขับ 70 บาท + อื่นๆ 5 บาท/ออเดอร์ = 85 บาท
 
สรุปรายได้ของแอปฯ 52-85 = -33 นั่นแปลว่าผู้ให้บริการแอปฯ ขาดทุน 33 บาท 
 
เจ้าของร้านอาหาร เจ๊งจริงมั๊ย?
 

ปัญหาของเจ้าของบรรดาร้านอาหารส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน หลังจากเปิดใช้บริการผ่านแอปฯ คือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม  
  • โดนหักค่าบริการเสริม ค่าคลิก ครั้งละ 5 บาท 
  • ค่าบริการรายเดือน
  • รายได้ลด ยอดขายอาหารตก
  • แอปฯ เก็บค่าบริการโปรโมทร้านแพง ร้านเล็กๆ อยู่ไม่ได้ 
  • แอปฯ บล็อคร้านไม่ให้ลูกค้ามองเห็น หาว่าไม่ทำโปรกับแอปฯ โดยตรง ทั้งสดลด โปรโมทรายเดือน
  • หัก GP 30-35% จำเป็นต้องขึ้นราคาอาหาร กระทบลูกค้า 
  • ร้านค้าให้ลูกค้าหน้าร้านต่อคิวออเดอร์จากแอปฯ ทำให้ลูกค้าไม่เข้าไปนั่งกินในร้าน
  • ตั้งราคาอาหารเท่าราคาผ่านแอปฯ ทำให้ลูกค้าหาย 
วิธีการทำกำไรของร้านอาหาร คือ เพิ่มราคาอาหารในแอปฯ จะได้มีกำไรหลังโดนหักค่า GP แต่ปัญหาคือแอปฯ บางค่าย ไม่ให้ขึ้นราคาอาหารจากปกติที่หน้าร้าน  ถ้าร้านอาหารเพิ่มราคาไม่ได้ หลายๆ ร้านจำเป็นต้องขายราคาเดิม แต่ลดปริมาณอาหาร ลดต้นทุนลง เลือกวัตถุดิบราคาถูก ถ้าเจ้าของร้านอาหารเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง จะกระทบต่อลูกค้าทันที จ่ายอาหารแพงขึ้น หรือได้อาหารปริมาณน้อย คุณภาพลดลง
 
เจ้าของร้านอาหารบางราย เลือกไม่จ่ายค่า GP ทำให้เสียโอกาสในการขาย ร้านจะไม่ได้รับการโปรโมท ไม่ได้เข้าร่วมโปรโมชั่นส่งฟรี หรือค่าส่งถูกๆ ไม่ได้เป็นร้านแนะนำในแอปฯ อีกทั้งค่าส่งอาหารถูกคิดตามระยะทางที่ตกลงกับคนขับก็ได้ 
 
มีร้านอาหาหลายรายที่ใช้บริการแอปฯ ขายอาหารหน้าร้านราคาแพงเท่ากับในแอปฯ ลูกค้าที่เคยไปนั่งกินในร้านเป็นประจำ ก็ไม่อยากกลับไปนั่งกินอีก เพราะราคาแพง โดนร้านเอาเปรียบ 

ทางออกร้านอาหาร 
 

เจ้าของร้านอาหารที่เจอปัญหาแบบนี้ จำเป็นต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา บริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบให้ดี อย่ายึดติดกับแอปฯ เดิม เลือกใช้แอปฯ อื่นที่ดีกว่า บางค่ายเก็บค่า GP ถูก หรือไม่เก็บเลย  
 
จัดทำเมนูอาหารใหม่ๆ น่าสนใจและมีกำไร ลูกค้าสัมผัสได้ กินแล้วรู้ได้ว่ามันดีจริง อร่อยจริง สะอาดจริง คุ้มค่าจริงๆ ที่ลูกค้าจะจ่าย ควรตั้งราคาบวกเพื่อให้เหลือกำไรเท่ากับหน้าร้าน ไม่ใช่ปรับราคาจนน่าเกลียดเพื่อเอากำไรอย่างเดียว
 
ร้านอาหารที่เจ๊ง อาจไม่ใช่มาจากใช้บริการผ่านแอปฯ ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารจำพวก ดังต่อไปนี้ 
  • เปิด-ปิดร้าน ผิดเวลา ไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  
  • หยุดบ่อย เปิดขายบ้าง ไม่เปิดขายบ้าง ทำให้ลูกค้าหายไป 
  • ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไม่แยกเงินส่วนตัววออกร้าน
  • บริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้านไม่เป็น ต้นทุนสูง เหลือกำไรน้อย 
  • ขายถูก-ขายแพง ขายถูกก็ไม่มีกำไร ขายแพงลูกค้าไม่ซื้อ
  • ติดหนี้นอกระบบ ส่วนใหญ่จะจ่ายให้เจ้าหนี้เป็นรายวัน ทำให้รายได้ไม่เหลือ 
  • รสชาติไม่อร่อย สูตรไม่คงที่ อร่อยเป็นบางวัน 
  • เปิดร้านไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่นั้นๆ
  • ร้านเข้าถึงได้ยาก ไม่มีที่จอดรถ
  • สภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่าย ทำอาหารกินที่บ้าน
การใช้บริการผ่านแอปฯ จะช่วยร้านอาหารเพิ่มช่องทางการขาย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างมากขึ้น แม้จะจ่ายค่า GP ให้แอปฯ 30-35% แต่ถ้าเจ้าของร้านอาหารรู้จักบริหารจัดการต้นทุนไม่ให้สูง ทำอาหารรสชาติอร่อย สะอาด บรรยากาศดี บริการดีเยี่ยม ราคาคุ้มค่า ร้านอยู่ในทำเลดี คนเห็นได้ง่าย ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เชื่อว่าร้านอาหารของคุณไม่เจ๊งแน่นอน  
 
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3PxlhRs

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
781
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
705
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
639
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
516
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
431
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด