บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
373
2 นาที
1 เมษายน 2567
สร้างยอดขายขั้นเทพ กลยุทธ์ทำเงิน! เพื่อให้ลูกค้าไม่มีจ่ายเจ้าอื่น
 

ทำไมธุรกิจแบรนด์ดังๆ เขาถึงขายดี?
 
ลองไปดูตัวอย่างเช่น สตาร์บัคส์ ในเครือของไทยเบฟที่บริหารงานโดยบริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ รีเทล จำกัด รายได้ปี 2565 มากกว่า 800 ล้านบาท
 
หรือร้านชื่อดังอย่าง Cafe Amazon ในเครือของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR  ยอดขาย ปี 2566 จำนวนกว่า 371 ล้านแก้ว สร้างรายได้ประมาณ 15,325 ล้านบาท รวมถึง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven มีรายได้ในปี 2566 ประมาณ 399,558 ล้านบาท
 
 
จะฟันธงว่าบริษัทเหล่านี้มีสเกลที่ใหญ่ มีอำนาจในการต่อรองสูง หรือมีโครงสร้างทางธุรกิจที่ครบวงจร แต่นั่นก็เป็นแค่ภาพหนึ่งในเรื่องของการบริหารจัดการ เหนือสิ่งอื่นใดคือ “การตลาด” ที่ทำอย่างไรถึง “ดึงเงินออกจากกระเป๋า” ลูกค้าได้ นี่คือสิ่งชี้วัดและเป็นเทคนิคสำคัญที่ควรเรียนรู้เพื่อนำมาปรับใช้แม้ว่าธุรกิจของเราจะยังไม่ใหญ่เท่าก็ตาม
 
มีสถิติที่น่าสนใจระบุว่า 
 
80% ของลูกค้าคาดหวังให้แบรนด์นำเสนอสินค้า และ บริการแบบเฉพาะเจาะจง หรือตรงใจกับความต้องการของลูกค้า 90% ของผู้บริโภคมักตัดสินใจดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม หากเห็นโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของตนเอง 
 
นั่นหมายความว่า “สินค้าใดก็ตามที่ถูกใจหรือเป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการ  คนเรามักตัดสินใจซื้อในทันที”
 
และถ้าให้ไปวิเคราะห์เจาะลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด พบว่าเทคนิคที่แบรนด์ดังส่วนใหญ่มักนำมาใช้ได้แก่
 
1. Omnichannel
 

เป็นการตลาดแบบผสานทุกช่องทางที่ธุรกิจมี เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงธุรกิจได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการเชื่อมโยงเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างรอบด้าน ลูกค้าสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าได้จากทั้งทางมือถือและหน้าจอคอม รวมถึงหน้าร้าน อุดทุกช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างธุรกิจและลูกค้า ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัดลองดูตัวอย่างเช่น
  • Starbucks ที่มีการใช้แอพพลิชั่น Starbuck rewards app เพื่อสร้างประสบการณ์สุดประทับใจให้ลูกค้าแบบ Personalized และยังช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษ
  • Disney ที่พัฒนาระบบให้ง่ายต่อการใช้งานตั้งแต่เริ่มจองตั๋ว จองโรงแรม จนถึงการพาครอบครัวกลับบ้านหลังจบทริป 
ซึ่ง Disney ผนวกทุกบริการให้ลูกค้าสามารถจัดการได้อย่างสะดวกง่ายดาย ลูกค้ารู้สึกไม่ยุ่งยากที่จะใช้บริการ
 
2.การขยายสาขาแบบ Line Extensions
 

เป็นการมุ่งพัฒนาสินค้าเดิม ของแบรนด์เดิม จุดขายหลักเดิม แต่พัฒนาสินค้าเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มรสใหม่ กลิ่นใหม่ ส่วนผสมใหม่ และบรรจุภัณฑ์ใหม่ มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นกระแสในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้มากขึ้นด้วย
 
3. Hyper-Personalization
 

เป็นการทำการตลาดรูปแบบหนึ่งเพื่อให้แบรนด์เข้าใจถึงความต้องการ พฤติกรรมการบริโภค ช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายนิยมใช้บนโลกออนไลน์ รวมถึงปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายต้องการแก้ไข ซึ่งก็เป็นกลยุทธ์ที่แม้แต่แบรนด์ระดับโลกก็นิยมใช้ ยกตัวอย่าง Sephora ที่จัดจำหน่ายทั้งผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง และบริการด้านความงาม ได้นำ Big Data มาต่อยอดในการวิเคราะห์หาผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหา และตอบโจทย์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
 
4. Brand Loyalty
 

นักการตลาดมักบอกเสมอว่า “การสร้างลูกค้าใหม่ 1 คน จะมีต้นทุนสูงกว่าการรักษาลูกค้าเก่า 1 คน” วิธีการที่ดีที่สุดคือสร้าง Brand Loyalty เพื่อให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ โดยแสดงให้เห็นผ่านการซื้อซ้ำและการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการที่ลูกค้าได้รับก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นหรือไว้ใจแบรนด์ ตลอดจนแนะนำให้ผู้อื่นมาซื้อหรือใช้บริการด้วย ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นจุดแข็งของแบรนด์ดังที่เน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม และต่อยอดเพิ่มลูกค้าใหม่ เป็นเหตุผลว่าทำไมแบรนด์ดังๆถึงมีลูกค้าต่อเนื่องไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
 
และที่เห็นชัดๆ คือบรรดาแบรนด์ดังในโลกธุรกิจส่วนใหญ่มักไม่ยอมให้ตัวเองตกกระแส ต้องรักษาฐานในการพูดถึงหรือพยายามขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ตลอดเวลา ดังนั้นกิจกรรมการตลาดพวกแคมเปญ หรือโปรโมชั่นต่างๆ จึงมีให้เห็นบ่อยมาก แม้แต่แบรนด์ระดับโลกก็ใช้การตลาดแคมเปญเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การขายเช่นกันอย่าง Just do it ของ Nike หรือ Belong Anywhere ของ Airbnb  , I’m lovin’ it ของ Mcdonald เป็นต้น
 
ในโลกของธุรกิจไม่ว่าจะเทคนิคไหน หรือการตลาดแบบใด ก็ไม่เท่ากับการรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดี สังเกตว่าทุกแบรนด์ดังจะซีเรียสกับเรื่องนี้มาก ยิ่งมีสาขามาก การบริหารจัดการยิ่งต้องมีประสิทธิภาพ และทุกแบรนด์จะให้ความสำคัญกับลูกค้าเสมอ ยุคนี้การแข่งขันทางธุรกิจสูงมาก ลูกค้ามีตัวเลือกเยอะ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย อะไรที่ดีคนมักพูดถึงได้ไว แต่อะไรที่ไม่ดีคนมักจะพูดถึงได้ไวยิ่งกว่า การสร้างแบรนด์ใดๆ เพื่อให้ยอดขายตามเป้าจึงไม่ใช่แค่จะเก่งในทางการตลาดอย่างเดียวแต่ต้องเก่งที่จะเข้าถึง และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ด้วย
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด