บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
299
2 นาที
5 มิถุนายน 2567
ทำร้านให้รวย แกะสูตรบอม Bill of Material ให้ไว!
 

ต้นทุนคือตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะบรรดาแฟรนไชส์อาหารควรมีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบประมาณ 35 – 40% ยิ่งตอนนี้ราคาวัตถุดิบพุ่งสูงทั้งเนื้อสัตว์ , ไข่ , ผักสด ฯลฯ หากร้านไหนควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ดีมีโอกาสทุนหายกำไรหด บางร้านขายดีแต่ทำไมถึงเจ๊ง เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะการบริหารจัดการในเรื่องนี้ไม่มีประสิทธิภาพ
 
คำถามคือจะให้บริหารจัดการยังไง มีวิธีไหนที่ช่วยควบคุมได้บ้าง?
 

เทคนิคที่แฟรนไชส์อาหาร - เครื่องดื่มควรรู้คือ “BOM” (Bill of Material) ซึ่งสูตร BOM ที่ว่านี้ในอุตสาหกรรมการผลิต เขารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมันคือรายการวัสดุ, สูตรการผลิต หรือ โครงสร้างสินค้า (Product Structure) ที่ใช้แสดงข้อมูล ส่วนประกอบ, จำนวนวัสดุที่ใช้ ลำดับการผลิตคร่าวๆ ครอบคลุมจนปริมาณที่ใช้ผลิต และระยะเวลาการผลิต ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า 1 รายการ
 
แต่เมื่อเอามาใช้ในธุรกิจร้านอาหาร – เครื่องดื่มจะหมายถึงการบันทึกสูตรอาหาร-เครื่องดื่มแต่ละเมนู รายการวัตถุดิบที่ใช้แต่ละเมนู ว่าใช้อะไรเท่าไหร่ กี่กรัม กี่ช้อน กี่ชิ้น กี่ตัว กี่ฟอง ฯลฯ แล้วกำหนดบันทึกลงในเครื่อง POS ซึ่งจะมีประโยชน์เช่น
  • สามารถตรวจสอบการใช้วัตถุดิบได้แม่นยำขึ้น
  • ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานวัตถุดิบได้ง่ายขึ้น
  • ทำให้รู้ต้นเหตุของปัญหา นำไปสู่การหาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
  • ควบคุมเรื่องต้นทุนได้อย่างเป็นระบบช่วยเจ้าของกิจการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • ควบคุมในเรื่องรสชาติและมาตรฐานสินค้าให้เหมือนกันได้
ถ้ายังมองไม่เห็นภาพว่า BOM” (Bill of Material) จะช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร 
 
ยกตัวอย่างของร้านอาหารตามสั่ง ถ้าลูกค้าสั่งข้าวผัดกระเพรา 1 จาน โดยปกติทั่วไปถ้าไม่มีสูตร BOM อยากใส่วัตถุดิบอะไรเท่าไหร่ก็ตามใจ นอกจากควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ได้ รสชาติบางทีก็ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก แต่ถ้ามีสูตร BOM เข้ามาร่วมด้วยจะทำให้รู้ทันทีว่า ข้าว กระเพรา1 จาน จะต้องใช้ข้าวเท่าไหร่ , หมูเท่าไหร่ , ซอสปรุงเท่าไหร่ ,กระเพราเท่าไหร่ ,พริก กระเทียมเท่าไหร่ และเครื่อง POS ก็จะตัดรายการวัตถุดิบในสต็อกให้โดยอัตโนมัติ 
 
เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมากๆ เพราะการมีสูตร BOM จะช่วยให้หาค่าความแตกต่างการใช้วัตถุดิบระหว่างขายจริง กับใช้จริงเพราะ แต่ละเมนูการใช้วัตถุดิบกับการขายออกไปจะสัมพันธ์กันถ้าตัดไปตัดมาแล้วรายการของในสต็อกไม่สัมพันธ์กับการขายออกก็จะทำให้เรารู้ว่ากำลังมีปัญหา
 
เช่น หมู 1 กิโลกรัม ทำผัดกระเพราะได้ 20 ออเดอร์ ถ้าเราขายผัดกระเพราะออกไป 20 ออเดอร์หมูในสต็อกก็จะต้องหมดไป 1 กิโลกรัม แต่ถ้าวันนั้นขายออกไป 20 ออเดอร์นับสต็อกเสร็จหมูหายไป 2 กิโล
 
 
หรือขายไป 30 ออเดอร์แต่นับสต็อกหมูใช้ไปแค่กิโลเดียวแสดงว่ามีปัญหาผิดพลาดทำให้เราได้รู้และหาสาเหตุและหาวิธีแก้ไขเช่น อาจเกิดจากไม่ทำตามสูตร ใช้มากไป น้อยไปหรือ ตอนรับวัตถุดิบเข้าไม่ได้ตรวจสอบจำนวน หรือ เกิดการทุจริต เป็นต้นซึ่งก็จะมีผลต่อการจัดการต้นทุนโดยตรง
 
ส่วนใหญ่สูตร BOM นี้จะใช้ในร้านอาหารขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นร้านขนาดกลาง – เล็ก มักมองข้ามอาจเพราะวิธีการค่อนข้างยุ่งยากเพราะต้องคีย์ข้อมูลวัตถุดิบลงในระบบ POS เริ่มตั้งแต่รับวัตถุดิบอะไรเข้ามาบ้าง แล้วต้องมาแยกเป็นหน่วยย่อย เช่น น้ำปลา 1 ลัง แยกเป็นกี่ขวด จากน้ำปลาแต่ละขวดแยกเป็นกี่กรัม และใช้ในแต่ละเมนูเท่าไหร่ ซึ่งในความเป็นจริง สูตร BOM มักนำไปใช้กับต้นทุนวัตถุดิบสำคัญๆ พวกน้ำปลา น้ำตาล เกลือ พวกนี้ไม่ค่อยใส่ลงในสูตรเท่าไหร่นัก เพราะละเอียดและยิบย่อยเกินไป 
 
แม้สูตร BOM อาจดูยุ่งยากแต่ถ้าช่วยให้ธุรกิจเป็นระบบและมีคุณภาพก็นับว่าคุ้มค่าที่จะทำ สิ่งเล็กๆที่หลายคนมองข้ามอาจเป็นปัญหาแบบน้ำซึมบ่อทรายที่หากไม่รับการแก้ไข จากรูเล็กจะกลายเป็นรูใหญ่ มีผลต่อยอดขาย มีผลต่อกำไรได้เช่นกัน
 
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
710
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
628
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
497
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
412
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด