บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
284
2 นาที
5 สิงหาคม 2567
Sticky Prices ราคาหนืด แต่สร้างกำไรมหาศาล
 

ปัญหาของแพง ค่าแรงถูก ยังอยู่คู่สังคมไทยทุกยุคสมัย ยิ่งต้นปี 2567 ที่ผ่านมาสินค้าหลายอย่างจำเป็นต้องปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เช่น ยาคูลท์ที่ปรับราคาขึ้น 1 บาท (ในรอบ 11ปี) หรือ น้ำมันพืชปาล์มยี่ห้อดังจากขวดละ 60 บาท ขยับเป็น 75 บาท เป็นต้น
 
และอย่าคิดจะแก้ปัญหาของแพงด้วยการขึ้นค่าแรง ซึ่งบางทีสมการนี้ไม่สอดคล้องเพราะกลายเป็นยิ่งขึ้นค่าแรงของก็จะยิ่งแพงมากขึ้น อย่างเช่นในตอนนี้ที่ภาครัฐเตรียมกำหนดขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2567 ก็คาดว่าภาคเอกชนเองก็เตรียมปรับขึ้นราคาสินค้า 10-15% เช่นกัน
 
แต่บางทีปัญหาก็ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นเนื่องจากการขยับ “ขึ้นราคา” ก็ส่งผลต่อ “ยอดขาย” อันเนื่องจากรายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่สอดคล้อง จึงเป็นที่มาบีบบังคับให้ผู้ประกอบการบางราย รู้ทั้งรู้ว่าต้นทุนมาแพง แต่ตัวเองก็ขายแพงไม่ได้ ในเชิงเศรษฐศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Sticky Prices”

 
Sticky Prices แปลตรงตัวก็คือ ราคาหนืด คือการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับเพิ่มหรือลดราคาสินค้าและบริการ ให้เป็นไปตามราคาวัตถุดิบ หรือปริมาณความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะสั้นได้ แต่ในวิกฤติก็ย่อมมีโอกาสในขณะที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนเพิ่ม เสี่ยงต่อการขาดทุน หรือได้กำไรน้อยลง แต่สิ่งที่จะได้กลับมาคือ “ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ”
 
ยกตัวอย่างถ้าสินค้ายังคงราคาเดิมในขณะที่คู่แข่งพาเหรดกันขึ้นราคาหมด ลูกค้าต้องเลือกซื้อสินค้าของเราเนื่องจากราคาถูกสุด ในมุมลูกค้าอาจได้ประโยชน์แต่แน่นอนว่าผลกระทบจะตกอยู่ที่ผู้ประกอบการ หรือบางทีการ “ขึ้นราคา ก่อน-หลัง” ก็เป็นอีกกลยุทธ์การตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้
 
 
ยกตัวอย่างถ้าเราปรับราคาขึ้นทันที แล้วร้านคู่แข่งยังไม่ได้ขึ้นราคา เราจะเสียเปรียบในเรื่องราคาเปรียบเทียบทันทีซึ่งบางครั้งการอั้นไม่ขึ้นราคาในทันทีก็เพื่อให้ร้านค้าของตัวเองยังไม่เสียเปรียบในเรื่องราคาขาย ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค กลายเป็นว่า ใครขึ้นราคาก่อน จะเสียเปรียบคู่แข่งทันที
 
อย่างไรก็ดีถ้าต้นทุนยังแพงต่อเนื่อง การไม่ขึ้นสินค้าอาจกลายเป็นหายนะของธุรกิจได้ในอนาคต วิธีการแก้ปัญหา Sticky Prices โดยที่ไม่ทำให้ลูกค้าหนีหายมีอยู่หลายแนวทาง ซึ่งต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเราแพง แล้วค่อยไปแก้ปัญหาที่จุดนั้น เช่น
 
1.สาเหตุต้นทุนสูง มาจากซัพพลายเออร์ 
 

การเปลี่ยนซัพพลายเออร์หรือมองหาแหล่งค้าส่งวัตถุดิบจากผู้ผลิตต้นทางและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางก็อาจทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบต่ำลงได้
 
2.สาเหตุต้นทุนสูงมาจากการจัดการวัตถุดิบ 
 

แก้ไขระบบจัดการวัตถุดิบภายในธุรกิจให้ดีขึ้น ซึ่ง Menu Costs ที่หมายถึงต้นทุนโดยรวมของแต่ละธุรกิจ จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของกระบวนการผลิต ถ้าหากไปบริหารจัดการส่วนนี้ให้ดีๆ อาจทำให้ต้นทุนลดลงได้
 
3.เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ามากขึ้น
 

การเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า จะลดความรู้สึกไม่พอใจของลูกค้าลงได้ ยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้านี้ต่อให้ขึ้นราคาก็ยังจำเป็นต้องใช้ หรือเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับราคา ซึ่งกลยุทธ์นี้มีหลายอย่างที่นำมาผนวกใช้ได้เช่นกิจกรรมการตลาด การจัดโปรโมชัน เป็นต้น
 
ปัญหาของแพงแต่รายได้ไม่พอใช้จ่าย ตอนนี้กลายเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต้องตระหนัก ถ้าดูจากข้อมูลพบว่าการแก้ปัญหารายได้ไม่พอจ่าย จะเลือกกู้ยืมเงินในระบบ 30.9% หาอาชีพเสริม 17% ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง 16.6% กู้ยืมเงินนอกระบบ 15.7% นั่นก็ยิ่งตอกย้ำภาพรวมของภาระ “หนี้” ที่มากขึ้น ตรงนี้มีผลโดยตรงต่อปริมาณการจับจ่าย ดังนั้นธุรกิจไม่ว่าจะร้านค้า ร้านอาหาร ต้องคำนวณต้นทุนและบริหารจัดการร้านให้มีประสิทธิภาพ เพราะถ้าขายแพงไปคนก็ไม่มีกำลังซื้อ แต่ถ้าขายถูกไปผู้ประกอบการก็ทุนหายกำไรหดเช่นกัน
 

 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
แค่ใส่ใจ ใช้ให้เป็น Data-Driven Marketing อาวุธล..
2,359
ผู้กำกับ งานหด...สู่ครีเอเตอร์ TikTok ปั้นคอนเทน..
2,184
เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น! ทุบธุรกิจไทย เจ๊งแล้ว เจ๊..
1,251
จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven
921
ร้านอาหารไทย หมดแรง กำลังซื้อหด ต้นทุนสูง ปิดตัว..
904
พลิกโฉม! 5 เทคนิค ทำธุรกิจแนวญี่ปุ่น ไม่เคยบอกใคร
849
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด